ปุ้มปุ้ย Save the Ocean “หญ้าทะเล” ฟื้นฟูระบบนิเวศทะเล
“หญ้าทะเล”เป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งมนุษย์ที่ได้รับประโยชน์โดยตรง เนื่องจากหญ้าทะเลช่วยดูดซับคาร์บอนได้ดีที่สุด แม้ว่าจะมีพื้นที่น้อยกว่าร้อยละ 0.2 ของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด แต่กักเก็บคาร์บอนไว้ได้ถึงร้อยละ 10 ต่อปี หรือเกือบ 50 เท่า
KEY
POINTS
- ปี2566 หญ้าคาทะเล ในพื้นที่จ.ตรังถูกทำลาย เนื่องจากการเปลี่ยนพื้นที่จากโคลนเป็นทราย ทรายธรรมชาติเคลื่อนที่ ทำใ
“หญ้าคาทะเล” เป็นแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลและสัตว์น้ำเศรษฐกิจ เปรียบเสมือนป่าใหญ่ที่จะต้นกล้าเล็กๆ อย่าง หญ้าใบมะกรูด หญ้าผมนางหญ้าเต่า หญ้าชะเงาใบมน หญ้าที่มีลักษณะอ่อนนิ่ม ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของ“พะยูน”
ปี 2564 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้สำรวจและติดตามสถานภาพแหล่งหญ้าทะเล พื้นที่หญ้าทะเลรวม 99,325 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 62 ของพื้นที่ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งหญ้าทะเลของประเทศ (160,628 ไร่) ครอบคลุม 17 จังหวัดชายฝั่งทะเล ภาพรวมพบว่าแหล่งหญ้าทะเล มีสถานภาพสมบูรณ์ดี – ดีมาก ร้อยละ 28 สถานภาพสมบูรณ์ปานกลาง ร้อยละ 52 และมีสถานภาพสมบูรณ์เล็กน้อย ร้อยละ 20 แหล่งหญ้าทะเลส่วนใหญ่มีขนาดผืนไม่ใหญ่มากนัก โดยสถานภาพของแหล่งหญ้าทะเลรายจังหวัด
“ปวิตา โตทับเที่ยง” ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่ากิจกรรมปลูกหญ้าทะเลและฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งตรังภายใต้โครงการ “ปุ้มปุ้ย Save the Ocean” ปีที่ 2 ณ หาดมดตะนอย อ.กันตัง จ.ตรัง เป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อให้ชุมชนมีรายได้ และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องใน โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เป็นอีกจุดเริ่มต้นในการสร้างเครือข่าย ดึงทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยกันเพื่อปลูกหญ้าทะเลให้รอด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
‘ปุ้มปุ้ย’ผนึกททท.โปรโมตเที่ยวเมืองตรัง ชวน Tiktoker ทำคลิปสั้นชิงรางวัล
‘ปุ้มปุ้ย’ ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ ฟื้นความยิ่งใหญ่ ผลักดันธุรกิจโต
ปลูกหญ้าทะเลด้วยเหง้าใช้ตะขอไบโอพอลิเมอร์
การปลูกหญ้าทะเลในโครงการ ปุ้มปุ้ย Save the Ocean ได้ตั้งเป้าให้ครบ 10,000 ต้น เริ่มดำเนินการมาเมื่อปี 2566 ร่วมกับชุมชนบ้านน้ำราบ และอีก 40 ชุมชนในการปลูกหญ้าทะเล จำนวน 3,000 ต้น และครั้งนี้จะปลูกอีก 3,500 ต้น ที่บริเวณชุมชนหาดมดตะนอย ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำตะขอไบโอพอลิเมอร์ที่ทำมาจากมันสำปะหลังและเปลือกหอย เพื่อใช้ตะขอกักให้หญ้าทะเลไม่ถูกพัดพาไปตามกระแสน้ำหรือเมื่อเกิดหน้ามรสุม และเหง้าหญ้าทะเล ดำเนินการโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ที่นำหญ้าทะเลที่ถูกพัดพามาพร้อมขยะตามชายฝั่งมาเพาะปลูก ก่อนจะนำไปปลูก
ดึงงานวิจัย นวัตกรรมฟื้นฟูหญ้าทะเล
การปลูกหญ้าทะเล ทำให้หญ้าใบมะกรูดที่พะยูนกินเพิ่มมากขึ้น เป็นห่วงโซ่อาหารของพะยูน สัตว์น้ำอื่นๆ รวมถึงชาวบ้าน เนื่องจากชาวบ้านในท้องถิ่นทำอาชีพประมง หรือการท่องเทึ่ยว รวมทั้งการสร้างตะขอไบโอพอลิเมอร์ที่ทำมาจากมันสำปะหลังและเปลืองหอย จะมีการนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาส่งเสริมให้ชาวบ้านสามารถผลิตตะขอจากเปลืองหอย หรือ Waste (ของเสีย) ในพื้นที่มาใช้ ถือเป็นการแปรรูปของเสียในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน จะเป็นช่วยลดขยะ สร้างแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้
“การฟื้นฟูหญ้าทะเล และการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถช่วยได้ อยากจะสร้างเครือข่ายให้ทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ชุมชน เอกชน นักวิชาการ เข้ามามีส่วนร่วมฟื้นฟูปลูกหญ้าทะเลให้อยู่รอด มีการศึกษาพื้นที่ การปลูกหญ้าทะเลให้รอด ต้องดูสภาพแวดล้อม กระแสน้ำ ตำแหน่งการวางตะขอ จำนวนที่ปลูก ชนิดหญ้า ต้องสร้างแนวร่วมจากทุกภาคส่วนเป็นพลังในการขับเคลื่อนร่วมกัน” ปวิตา กล่าว
หญ้าทะเลจ.ตรังเน่าตายกว่า9,000 ไร่
ผศ.พรเทพ วิรัชวงศ์ หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง กล่าวว่า หญ้าทะเล ในพื้นที่จังหวัดตรังมีสภาพเสื่อมโทรมและเน่าตายจำนวนมาก ตั้งแต่ปี 2563 พื้นที่เกาะลิบง จ.ตรัง มีการขุดลอกร่องน้ำที่อยู่ห่างจากแปลงหญ้าทะเลเพียง 65 เมตร พบว่าทรายเข้าไปกระทบกับแหล่งหญ้าทะเล ทำให้เกิดความเสียหายไป 50 % จากแปลงหญ้าทะเล 15,000 ไร่
ต่อมาในปี 2566 หญ้าคาทะเลถูกทำลาย เนื่องจากการเปลี่ยนพื้นที่จากโคลนเป็นทราย ทรายธรรมชาติเคลื่อนที่ ทำให้หญ้าทะเลเสื่อมโทรมไปกว่า 9,000 ไร่ โครงการปุ้มปุ้ย "Save the Ocean” จะมีระบบติดตามหญ้าทะเลว่าอยู่รอดมากน้อยขนาดไหน เพื่อเพิ่มจำนวนหญ้าทะเลให้แก่ท้องทะเลตรัง