'โลกร้อน' ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทำคนมี ‘ปัญหาสุขภาพจิต’ เพิ่มขึ้น

'โลกร้อน' ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทำคนมี ‘ปัญหาสุขภาพจิต’ เพิ่มขึ้น

“ภาวะโลกร้อน” และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ผู้คนเป็นโรควิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า โรคสมาธิสั้น PTSD โรคอัลไซเมอร์ และโรคเกี่ยวข้องกับเซลล์ประสาทสั่งการ เพิ่มมากขึ้น

ในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับ “ภาวะโลกร้อน” จนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกอย่างหนัก ดูเหมือนว่ามหันตภัยทางสิ่งแวดล้อมก็ส่งผลต่อระบบประสาทและสมองของมนุษย์ด้วยเช่นกัน ทั้งในด้านความจำ การสร้างอัตลักษณ์ ตลอดจนโครงสร้างของสมอง ซึ่งทำให้มนุษย์มี “ปัญหาสุขภาพจิต” มากยิ่งขึ้น

นับตั้งแต่ทศวรรษ 1940 นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในหนู ซึ่งพบว่า เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพัฒนาการของ “นิวโรพลาสติกซิตี” (นิวโรพลาสติกซิตี) ซึ่งเป็นความสามารถของสมองในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และยังพบการเชื่อมโยงประการระหว่างสภาพภูมิอากาศและสุขภาพจิต ตัวอย่างเช่นผู้คนมักจะมีอารมณ์ฉุนเฉียวในวันที่อากาศร้อนอบอ้าวมากกว่าปรกติ

 

“ภาวะโลกร้อน” ทำคนมี “ปัญหาสุขภาพจิต” เพิ่มขึ้น

นักวิจัยทำการศึกษาเด็กที่เกิดหรืออยู่ในช่วงตั้งครรภ์ระหว่างที่พายุซูเปอร์เฮอร์ริแคนแซนดี้โจมตีนิวยอร์กในปี 2555 พบว่า เด็กกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะมีสภาวะทางจิตเวชในปัจจุบัน เนื่องจากความเครียดก่อนคลอด โดยกลุ่มเด็กผู้ชายมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 60 เท่าที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) และเพิ่มขึ้น 20 เท่าในการมีผิดปกติทางพฤติกรรม

ในขณะที่เด็กผู้หญิงมีความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น 20 เท่าและภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 30 เท่า เมื่อเทียบกับเด็กผู้หญิงที่ไม่ได้เกิดในช่วงดังกล่าว นักวิจัยระบุว่าการค้นพบนี้ “น่าตกใจอย่างยิ่ง”

การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาและการทำงานของสมอง โดยรายงานจากมหาวิทยาลัยเวียนนาเมื่อปี 2023 กล่าวว่า นักวิจัยแสดงความกังวลเป็นพิเศษ เกี่ยวกับผลกระทบของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วและมลภาวะ ที่ส่งผลต่อความสามารถทางสติปัญญาและสุขภาพจิต

นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศที่ไม่ดีทั้งในอาคารและนอกอาคาร กับการเกิดปัญหาสุขภาพจิตและอาการทางจิตเวชแบบเฉพาะเจาะจง การศึกษาในวารสารจิตเวชศาสตร์อังกฤษ สรุปว่า มลภาวะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และโรคจิตเพิ่มมากขึ้น

ผลสำรวจจากสมาคมอังกฤษให้คำปรึกษาและจิตบำบัดแห่งอังกฤษพบว่า 73% ของผู้ตอบแบบสำรวจอายุ 16-24 ปี กล่าวว่าวิกฤติสภาพภูมิอากาศส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของพวกเขา

“สุขภาพจิตของเราเชื่อมโยงกับทุกสิ่งรอบตัว จนเหมือนเราอยู่ในข่าวตลอดเวลา” เด็กคนหนึ่งให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว The Guardian พร้อมเสริมว่าเขาเริ่มกินยารักษาอาการซึมเศร้า

 

“ภาวะโรคร้อน” เปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ในร่างกาย

หลักฐานความเกี่ยวโยงของภาวะโลกร้อนและปัญหาสุขภาพจิตมีมาจากหลากหลายสาขา นักจิตวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมพบว่าอุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นทำให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวไปจนถึงคำพูดแสดงความเกลียดชังทางออนไลน์

ขณะที่ นักประสาทวิทยาด้านความรู้ความเข้าใจได้จัดอันดับเส้นทางการเดินทางที่มีความร้อนจัดและมีก๊าซคาร์บอนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจและสมรรถนะในการขับขี่ลดลง เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถหาเส้นทางลัดที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาการตัดใจผิดพลาดจะมีความสามารถในการขับขี่ลดลง

ส่วนนักชีววิทยาพบว่า พาหะนำโรคทางสมอง เช่น เห็บและยุง มีระยะที่สามารถเอื้ออาศัยยาวนานกว่าเดิมเมื่อโลกร้อนขึ้

นักประสาทวิทยาชี้ให้ว่าความร้อนจัดสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมได้ ตัวอย่างเช่น ในปี 2015 นักวิจัยชาวเกาหลีพบว่า ความเครียดจากความร้อนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในฮิบโปแคมปัสของหนู สมองส่วนจัดเก็บความทรงจำ นอกจากนี้ความร้อนจัดยังลดการสื่อสารของเส้นประสาทในปลาม้าลาย สิ่งมีชีวิตต้นแบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการศึกษาการทำงานของสมอง 

นักวิจัยชาวฟินแลนด์ตั้งข้อสังเกตในปี 2560 ว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นดูเหมือนจะกดการทำงานของเซโรโทนินได้ และโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ก่ออาชญากรรมรุนแรงด้วย สำหรับคนเหล่านี้ ระดับโปรตีนขนส่งเซโรโทนินในเลือดซึ่งสัมพันธ์กับอุณหภูมิภายนอกอย่างมาก โดยอาจจะคิดเป็น 40% ของเหตุความรุนแรงและอาชญากรรมในประเทศ

ในมนุษย์ การเชื่อมต่อการทำงานระหว่างพื้นที่สมองจะปรากฏแบบสุ่มมากขึ้นที่อุณหภูมิสูงขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความร้อนลดระดับการทำงานของสมอง ทำให้ก้าวร้าวยิ่งขึ้น นักวิจัยชาวฟินแลนด์ตั้งข้อสังเกตในปี 2560 ว่าอุณหภูมิสูงดูเหมือนจะกดการทำงานของเซโรโทนินได้ และยิ่งในกลุ่มคนที่ก่ออาชญากรรมรุนแรงด้วย สำหรับคนเหล่านี้ ระดับโปรตีนขนส่งเซโรโทนินในเลือดซึ่งสัมพันธ์กับอุณหภูมิภายนอกอย่างมาก อาจเป็นสาเหตุเกือบ 40% ของความผันผวนในอัตราอาชญากรรมรุนแรงของประเทศอีกด้วย

นักวิจัยยังคงต้องทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตและสภาพอากาศอีกมาก ในตอนนี้เริ่มมีการก่อตั้งภาควิชาระบาดวิทยาโรคระบบประสาททางภูมิอากาศ (climatological neuroepidemiology) เพื่อทำความเข้าใจด้วยการผสมผสานระหว่างการศึกษาด้านประสาทวิทยาศาสตร์เข้ากับสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้เข้าใจและจัดการกับผลกระทบเหล่านี้ได้ดีขึ้น


ที่มา: Neuroscience NewsThe GuardianThe Week