มกอช. เล็งเข้าร่วม APFRAS หน่วยงานกฎระเบียบอาหารเอเชีย-แปซิฟิก

มกอช. เล็งเข้าร่วม APFRAS  หน่วยงานกฎระเบียบอาหารเอเชีย-แปซิฟิก

มกอช. ร่วมสังเกตการณ์ประชุม “APFRAS 2024” ณ กรุงโซล เตรียมพิจารณาเข้าร่วมเป็นสมาชิก พร้อมถกหน่วยงาน Singapore Food Agency ด้านกฎระเบียบอาหารที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเซลล์ และจัดทำแนวทางกลางประเมินความปลอดภัยภายใต้ Codex รับการเติบโตภาคอุตสาหกรรมโปรตีนทางเลือก

นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า มกอช. โดยคณะผู้แทนกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่มหน่วยงานกฎระเบียบอาหารเอเชีย-แปซิฟิก 2024 Asia - Pacific Food Regulatory Authority Summit 2024 : APFRAS 2024) โดยมีนายฮัน ด็อก ซู นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเกาหลี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา

มกอช. เล็งเข้าร่วม APFRAS  หน่วยงานกฎระเบียบอาหารเอเชีย-แปซิฟิก

ซึ่ง APFRAS เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบอาหาร ที่ก่อตั้งในปี 2566 เพื่อร่วมเป็นผู้นำในการกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบกำกับดูแลด้านความปลอดภัยอาหารที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายด้านอาหาร เพื่อปกป้องผู้บริโภคและสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน

 

APFRAS มีสาธารณรัฐเกาหลีเป็นแกนนำ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนิเซีย รวมถึงมีหน่วยงานนานาชาติซึ่งเป็นผู้สังเกตการณ์ถาวร ได้แก่ องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) สำหรับประเทศไทย ชิลี และมาเลเซีย ได้รับเชิญเข้าร่วมในฐานะประเทศผู้สังเกตการณ์ในการประชุม

การประชุมครั้งนี้ ผู้นำของแต่ละประเทศและองค์กรที่เข้าร่วม ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และความคิดเห็นต่อสถานการณ์และแนวโน้มของกฎระเบียบอาหารในปัจจุบัน ที่มีความท้าทายทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การมุ่งสู่ความยั่งยืน การใช้เทคโนโลยีดิจิตัล และกระบวนการผลิตใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น

มกอช. เล็งเข้าร่วม APFRAS  หน่วยงานกฎระเบียบอาหารเอเชีย-แปซิฟิก

นอกจากนี้ กระทรวงความปลอดภัยอาหารและยาสาธารณรัฐเกาหลีและผู้แทนภาคอุตสาหกรรมได้นำเสนอการใช้เทคโนโลยีดิจิตัลและ AI เพื่อควบคุมความปลอดภัยอาหาร อาทิ การตรวจทางไกล (Remote inspection) การใช้เทคโนโลยีควบคุมจุดวิกฤติในกระบวนการผลิตอาหาร (Smart HACCP) การคัดกรองสินค้านำเข้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (SAFE-i24) การใช้ QR code เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมและตรวจสอบการเรียกคืนอาหาร (Food QR) เป็นต้น

มกอช. เล็งเข้าร่วม APFRAS  หน่วยงานกฎระเบียบอาหารเอเชีย-แปซิฟิก

โดยในห้วงการประชุมดังกล่าว ประเทศไทยได้ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับ นางสาวแทน ลี คิม อธิบดีหน่วยงาน Singapore Food Agency เกี่ยวกับกฎระเบียบของอาหารที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเซลล์ (Cell-based food) รวมถึงโอกาสและความเป็นไปได้ในการจัดทำแนวทางกลางสำหรับการประเมินความปลอดภัยภายใต้ Codex รองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมโปรตีนทางเลือกในอนาคต ที่ต้องอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยของสุขภาพผู้บริโภคเป็นสำคัญ

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการหารือเกี่ยวกับผลการดำเนินการของ APFRAS ในปีที่ผ่านมา และแผนการดำเนินงานต่อไป โดยภารกิจสำคัญในช่วงแรก APFRAS มีแผนจะเปิดตัวฐานข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอาหาร (APFRAS Food Regulation Database)ให้ภาคอุตสาหกรรมและประชาชนที่สนใจได้ใช้อย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2567 เพื่ออำนวยสะดวกทางการค้า

มกอช. เล็งเข้าร่วม APFRAS  หน่วยงานกฎระเบียบอาหารเอเชีย-แปซิฟิก

นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานของคณะทำงาน 3 คณะภายใต้ APFRAS ได้แก่ คณะทำงานด้านกฎระเบียบอาหาร ได้จัดทำรายงานการศึกษาสภาวะแวดล้อมของกฎระเบียบอาหาร (Food Regulatory Environment Analysis) ประจำปี 2566 ซึ่งรวบรวมผลการศึกษาเกี่ยวกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ อาทิ ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) หลักสุขภาพหนึ่งเดียง (One-Health Approach) คณะทำงานด้านดิจิตอล ที่ได้จัดสัมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้เชิงลึกในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อความปลอดภัยอาหารร่วมกัน และคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีใหม่

ได้มีการจัดการประชุมโต๊ะกลมและสัมมนา ด้านอาหารที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเซล (Cell-based food) การใช้ภาชนะจากวัตถุดิบรีไซเคิล และการประเมินความเสี่ยงภาชนะและอุปกรณ์อาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีแผน จะขยายขอบเขตไปยังกลุ่มโปรตีนทางเลือกจากแมลง

ปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกรอบความร่วมมือดังกล่าว ซึ่ง มกอช. จะหารือร่วมกับ อย. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ การเข้าร่วมเป็นสมาชิก APFRAS เป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยในร่วมทำงานเชิงรุก กำหนดนโยบายและแนวทางการพัฒนาระบบการกำกับดูแลความปลอดภัยอาหารที่ยืดหยุ่นและทันสมัยที่สอดรับกับบริบทการเกษตรของไทย

ตลอดจนสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการส่งออก รวมถึงผลักดันประเด็นด้านการเกษตรและอาหารที่สำคัญของไทยผ่านความร่วมมือกับคู่ค้า อย่างไรก็ดี APFRAS มีกำหนดจัดปีละ 1 ครั้ง การประชุมครั้งถัดไปจะจัดขึ้นในปี 2568 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี”