‘ซีพี-เมจิ’ เพิ่มคุณค่าชีวิต สร้างความยั่งยืนต้นน้ำ-ปลายน้ำ
“เพิ่มคุณค่าชีวิต” หรือ “Enriching Life” สร้างความยั่งยืนต้นน้ำ-ปลายน้ำ ครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2030 และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2050
KEY
POINTS
- ซีพี-เมจิ ชูกุญแจสำคัญความสำเร็จยอดขายทะลุหมื่นล้านในปี 2565 ดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน เติบโตร่วมกับทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ
- มุ่งมั่นดูแลตั้งแต่ “ผู้บริโภค” ด้านผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์และปลอดภัย ตลอดจน “ผู้มีส่วนได้เสีย” พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน และเยาวชน รวมถึง “คู่ค้า” และ "การพัฒนาเกษตรกร"
- มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2030 และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2050
บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด ดำเนินธุรกิจมากว่า 35 ปี นอกจากในประเทศไทยแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายกว่า 6 ประเทศ ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และฮ่องกง อีกทั้งยังครองอันดับ 1 ตลาดนมพาสเจอร์ไรส์ในสิงคโปร์ ฮ่องกง และยังเป็นแบรนด์ที่ทำยอดขายทะลุ 1 หมื่นล้านบาท ในปี 2565 และ ปี 2566 มียอดขายกว่า 1.22 หมื่นล้านบาท
ความสำเร็จดังกล่าวไม่เพียงแค่มองด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่กุญแจสำคัญ คือจะต้องดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน เติบโตร่วมกับทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่ต้นน้ำไม่ว่าจะเป็น เครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมกว่า 50 ศูนย์ทั่วประเทศ ที่ส่งน้ำนมดิบกว่า 580-600 ตันในแต่ละวันเข้าสู่โรงงาน ไปจนถึงปลายน้ำคือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณประโยชน์ มีคุณค่า ส่งถึงมือผู้บริโภค และการดูแลรับผิดชอบสิ่งแวดล้อม อาทิ การเก็บกลับบรรจุภัณฑ์มารีไซเคิล
ทั้งหมด สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของบริษัท ที่อยู่ภายใต้แนวคิด “เพิ่มคุณค่าชีวิต” หรือ “Enriching Life” 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ (Business) พัฒนาส่งเสริมร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจทั้งเกษตรกรและลูกค้า ด้านสังคม (People) การคิดค้นนวัตกรรมที่มีประโยชน์ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย รวมถึงดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงานและชุมชน และ ด้านสิ่งแวดล้อม (Planet) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2030 และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2050 สอดคล้องกับเป้าหมายภายใต้ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- Green Technology ยกระดับอุตสาหกรรมน้ำตาล สู่ธุรกิจสีเขียวเพื่อความยั่งยืน
- INNOVATION TOURISM ยกระดับ‘ธุรกิจโรงแรม’สู่ความยั่งยืน
- PRO Model เก็บกลับบรรจุภัณฑ์ ผลักดัน EPR สร้างความยั่งยืนตั้งแต่ต้นทาง
ทั้งหมด สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของบริษัท ที่อยู่ภายใต้แนวคิด “เพิ่มคุณค่าชีวิต” หรือ “Enriching Life” 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ (Business) พัฒนาส่งเสริมร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจทั้งเกษตรกรและลูกค้า ด้านสังคม (People) การคิดค้นนวัตกรรมที่มีประโยชน์ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย รวมถึงดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงานและชุมชน และ ด้านสิ่งแวดล้อม (Planet) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2030 และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2050 สอดคล้องกับเป้าหมายภายใต้ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF
ซีพี-เมจิ ปรับเป้าหมายตั้งแต่ปี 2019 สู่แนวทางความยั่งยืน โดยมีการวางกลยุทธ์ที่ชัดเจน และกำหนดขึ้นมาเป็น 1 ใน 4 เรื่องของ ซีพี-เมจิ ที่สื่อสารให้กับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ถัดจาก 2 เรื่องแรก คือ Vision และ Mission
“เรื่องของ Sustainability หรือความยั่งยืน นิยามถึงเจตนารมย์ของบริษัทในการทำธุรกิจ เราใช้คำว่า เพิ่มคุณค่าชีวิต และกลยุทธ์สุดท้ายที่เป็นอีกหนึ่งห้องหัวใจของเรา คือเรื่องวัฒนธรรมองค์กร หลัก “VOOCA” ได้แก่ การสร้างคุณค่า Value Creation การมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ Ownership การประสานความเป็นหนึ่งเดียวกันของทีม One team การคิดสร้างสรรค์ไม่หยุดนิ่ง Creativity และการมีความฉับไวต่อการเปลี่ยนแปลง คือ Agility วันนี้เราเริ่มนับหนึ่งในเชิงการวัดผล แต่ก็ไม่ใช่ว่าเรามีเรื่องที่ทำเป็นศูนย์” สลิลรัตน์ เล่าย้อนเส้นทางก่อนนำพาองค์กรขนาด 1,500 คน เริ่มนับหนึ่งก้าวสู่ ESG"
ยกระดับคุณภาพชีวิต ดูแลสิ่งแวดล้อม
แนวทางที่จะทำให้บริษัทอยู่ได้อย่างยั่งยืนและมั่นคงตามเป้าหมาย ESG “สลิลรัตน์” กล่าวว่า สำหรับ “E” (Environment) นอกจากการดำเนินการภายในที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30% ลดการใช้น้ำ 25% ลดการเกิดขยะฝังกลบ 25% จากกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย SBTi ซึ่งเป็นเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว
ซีพี-เมจิ ยังเดินหน้าเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านโครงการ “ซีพี-เมจิ รักษ์ป่า รักษ์น้ำ” ภายใต้ MOU กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ปลูกป่า 1,000 ไร่ ภายในปี 2573 ปลูกต้นไม้ 2 แสนต้น ในพื้นที่จ.สระบุรีและใกล้เคียง เน้นการฟื้นฟูและรักษาผืนป่า ควบคู่กับการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนรอบข้าง และพนักงานในองค์กร
รวมถึงการลดขยะ ที่เป็นหนึ่งกิจกรรมหลักที่จะเกิดขึ้น โดยมีเป้าหมาย คือ 100% ของบรรจุภัณฑ์สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) นำมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือสามารถย่อยสลายได้ (Compostable) โดยในปี 2566 บริษัทฯ ริเริ่มโครงการนำร่อง “ซีพี-เมจิ รีไซขุ่น” เพื่อรณรงค์การแยกขยะพลาสติกประเภทขวดขุ่น (HDPE) โดยให้ผู้บริโภคนำแกลลอนนมที่ใช้แล้ว รวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ผลิตเป็นถังขยะ ส่งมอบให้ชุมชน จ.สระบุรี และมีแผนต่อยอดจากกลุ่มผู้บริโภค มาสู่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจกาแฟในปี 2567 นี้
สังคมยั่งยืน ธุรกิจยั่งยืน
สำหรับ “S” (Social) ซีพี-เมจิ มุ่งมั่นดูแลตั้งแต่ “ผู้บริโภค” ด้านผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์และปลอดภัย ตลอดจน “ผู้มีส่วนได้เสีย” พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน และเยาวชนจากหลายโรงเรียนรอบโรงงาน จ.สระบุรี โดยทำโครงการด้านโภชนาการ มีการวางแผนโภชนาการและการออกกำลังกายที่เหมาะสม สนับสนุนผลิตภัณฑ์นม และมีการติดตามพัฒนาการ ผ่านการเก็บข้อมูลดัชนีมวลกายของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
รวมถึง “คู่ค้า” ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น CP-Meiji Speed Latte Art Championship การแข่งขันกาแฟด้านลวดลายและรสชาติที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และ CP-Meiji Barista Camp ค่ายพัฒนาบาริสต้าแบบเข้มข้น สร้าง Team Avenger หรือ ทีมบาริสต้าตัวแทนไทยลงแข่ง สร้างชื่อเสียงในเวทีระดับนานาชาติ
ในขณะเดียวกัน “การพัฒนาเกษตรกร” ซีพี-เมจิ มุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำนมดิบและสวัสดิภาพสัตว์ โดยเป้าหมาย 100% ของฟาร์มโคนมที่ส่งนมให้ซีพี-เมจิ ต้องผ่านมาตรฐานคุณภาพระดับ Gold Standard และสร้างความมั่นใจกับเกษตรกรในด้านการรับซื้อ
รับผิดชอบต่อการประกอบธุรกิจ
สุดท้าย “G” (Governance) เป็นบทบาทและหน้าที่ขององค์กรที่ต้องรับผิดชอบต่อการประกอบธุรกิจ การเข้าใจเรื่องการบริหาร และจัดการความเสี่ยง และการลงทุนวางระบบตรวจสอบย้อนกลับ รวมถึงมีส่วนในการขับเคลื่อนเป้าหมายที่เติบโตขึ้นของอุตสาหกรรมในภาพรวม ผู้บริหารซีพี-เมจิ ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า “Governance เป็นสิ่งที่ควรจะอยู่ในจิตวิญญาณของผู้ประกอบการ”
“ทั้งหมดเป็นภาพของ ESG ที่ ซีพี-เมจิ กำลังมุ่งเป้าไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2030 มีการลงทุนในระบบ เพื่อให้ตรวจสอบย้อนกลับได้ ใน Scope 1 การจัดการด้านพลังงานที่ต้องดำเนินการ Scope 2 ทรัพยากรที่ใช้ต้องรับผิดชอบ ทั้ง 2 Scope เราต้องทำให้ดี เพื่อเดินหน้าสู่ระยะถัดไป คือ Scope 3 ในส่วนของห่วงโซ่อุปทานได้ตามเป้าหมาย”
ท้ายนี้ “สลิลรัตน์” กล่าวว่า ซีพี-เมจิ ปรับทิศทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจตั้งแต่ 5-6 ปีที่ผ่านมา และเน้นย้ำความตั้งใจในการสร้างความเข้าใจให้กับทุกคน ว่าทุกหยดของนมที่ส่งถึงมือผู้บริโภคนั้นมีคุณค่า และเมื่ออุตสาหกรรมเติบโต การรับซื้อน้ำนมดิบก็จะทำได้ต่อเนื่อง เกษตรกรต้นน้ำ ก็จะมีความมั่นคงทางอาชีพ ในทางกลับกันทั้งเกษตรกรและพนักงาน ก็จะได้เห็นและเข้าใจว่าสิ่งที่พวกเขากำลังทำ ก็เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับคนไทยทุกคนผ่านผลิตภัณฑ์ที่ดี ทั้งหมดจึงเป็นระบบนิเวศ และเป็นผู้ขับเคลื่อน โรดแมป ESG ของซีพี-เมจิ อย่างเป็นรูปธรรมควบคู่กับการเติบโตของบริษัท
นมทุกหยดคือ‘ความตั้งใจ’
การเติบโตของ “ซีพี-เมจิ” ในปี 2566 ซีพี-เมจิ มีมูลค่ายอดขายสุทธิอยู่ที่ประมาณ 12,200 ล้านบาท ซึ่งเติบโตจากปี 2565 ถึงกว่า 12% และตั้งเป้าการเติบโตปี 2567 นี้ที่ประมาณ 5% หรือ 12,700 ล้านบาท
เมื่อดูอัตราการบริโภคนมพาสเจอร์ไรส์ในประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 เพิ่มขึ้น 9.7% ในเชิงปริมาณ และ 11.8% ในเชิงมูลค่า เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2566 ขณะที่อัตราการเติบโตของซีพี-เมจิ อยู่ที่ 17.7% ในเชิงมูลค่า ถือว่ามีอัตราการเติบโตสูงกว่าตลาด
ทั้งนี้ หากเป็นคอกาแฟ หรือ สังเกตตามคาเฟ่ต่างๆ จะพบว่า ไม่น้อยที่ใช้นมพาสเจอร์ไรส์ ของ ซีพี-เมจิ “สลิลรัตน์” เผยว่า สูตรนมแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกัน ซีพี-เมจิ มีสูตรเฉพาะ เป็นเรื่องของการวิจัยและพัฒนา โดยคำนึงถึงรสชาติของกาแฟ การสตรีมนม หรือทำโฟมนม ทำอย่างไรให้รสชาติดี รวมถึง สัดส่วนไขมัน โปรตีน เมื่ออยู่ในกาแฟจะช่วยส่งเสริมรสชาติ ทั้งหมดเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่เราตั้งใจเช่นเดียวกับ ผลิตภัณฑ์ ซีพี-เมจิ เรย์ (Meiji RAY) เกิดจากการทำโครงการเกี่ยวกับกาแฟ และได้พูดคุยกับบาริสต้าถึง Pain Point ช่องว่างที่นมในตลาดยังไม่ตอบโจทย์ และเราก็เข้าไปทดสอบเพื่อหาตัวที่ตอบโจทย์เขามากที่สุด ทำให้กาแฟอร่อยขึ้น
“นี่คือความยั่งยืนในบริบทลูกค้า เขาต้องเติบโต และหน้าที่ของเรา คือ การทำผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ และส่งเสริมบาริสต้าให้เก่งขึ้น เพิ่มองค์ความรู้ พัฒนายกระดับ คิดค้นเมนูที่อร่อยขึ้น ธุรกิจเติบโตขึ้น เราก็จะเติบโตไปด้วยกัน คือสิ่งที่ไม่ได้บังเอิญ แต่เรื่องเหล่านี้ได้มีการเข้าไปสอนในคลาสบาริสต้าว่าวิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องกับกาแฟ และมีผลิตภัณฑ์หลายทางให้เขาเลือก” สลิลรัตน์ กล่าว