ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เพื่อความยั่งยืนในอนาคต

ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เพื่อความยั่งยืนในอนาคต

การเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักมีความท้าท้ายในการเปลี่ยนผ่านในแต่ละภูมิภาคอยู่เสมอ การร่วมมือกันอาจเป็นคำตอบไปสู่ความยั่งยืนได้

แอนเดรียส มอลเทเซน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน ประจำภูมิภาคเอเชีย เอบีบี (abb) กล่าวว่า ความต้องการใช้พลังงานแต่ละประเทศไม่เหมือนกันและแต่ละประเทศก็มีวิวัฒนาการที่แตกต่างกันออกไปซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเปลี่ยนผ่าน อย่าง ญี่ปุ่นประชากรของญี่ปุ่นกำลังลดลงดังนั้นการใช้พลังงานก็ค่อยๆลดลงด้วยเช่นกัน แต่ในทางกลับกันประเทศที่มีประชากรเยอะมาก แห่งหนึ่งในเอเชียคืออินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยนั้นภายในปี 2050 คาดว่าความต้องการและพลังงาจะเพิ่มขึ้นถึง 300 เท่า

ในขณะที่มาเลเซียจะเห็นว่าภายในปี 2050 มาเลเซียเองก็มีความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 60% เพราะว่าถ้ามีประชากรเพิ่มขึ้นความต้องการพลังงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย "ถ้าที่ไหนที่มีประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นมี GDP ที่เพิ่มสูงขึ้นสิ่งที่ตามมา การใช้พลังงานและการคมนาคมขนส่งมากขึ้น " ถ้าควบคุมการเดินทางที่ไม่ใช่พลังงานมากอย่างเช่นปัจจุบันมีคนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นก็อาจจะทำให้การใช้พลังงานลดลงได้บ้าง

ซึ่งเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตจะเห็นได้ว่าเขามีการใช้ไฟที่มากขึ้นอย่างน้อยเลยแค่ในอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วการใช้ไฟก็จะค่อยๆเพิ่มสูงขึ้นเมื่อธุรกิจเติบโต ดังนั้นการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นหรือใช้พลังงานใหม่ๆขึ้นมา จะเลือกใช้พลังงานที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ต่ำที่สุดหรือเท่ากับศูนย์หรือที่เรียกว่า Net Zero ให้ได้ 

พลังงานทดแทนกำลังเป็นที่น่าจับตาทั่วโลก

ทั่วทั้งโลกพยายามที่จะหันมาใช้พลังงานทดแทนให้ได้มากที่สุด และในปีที่แล้วได้ช่วยเพิ่มจำนวนการใช้พลังงานทดแทนในโลกใบนี้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นสัญญาณที่ดีว่ามีความก้าวหน้า แต่ถ้าหากลองดูจากเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้แล้วและยังล่าช้ากว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 

 

ในส่วนของประเทศไทยด้วยความที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร อาจจะมีข้อจำกัดบางอย่างในข้อในเรื่องของพลังงาน ยกตัวอย่างเช่นพลังงานลม ที่บอกเรื่องพลังงานลมเพราะว่า ถ้าหากมองโลกของเราซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ทางฝั่งนั้นจะมีลมนอกชายฝั่งเยอะกว่าประเทศที่อยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตร ดังนั้นถามว่าประเทศไทยถ้าจะใช้พลังงานทดแทนสิ่งที่จะเป็นพลังงานที่เหมาะกับไทยคือพลังงานแสงอาทิตย์

แต่พลังงานแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆตามระยะเวลา ซึ่งตอนนี้สามารถที่จะทำให้ประสิทธิภาพของการใช้แผงโซล่าเซลล์เพิ่มขึ้นได้ 20-28% อีกพลังงานหนึ่งที่เรียกได้ว่าไม่เสียในฐานะสูงในตลาดประเทศไทยคือพลังงานน้ำแม้ว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีการพัฒนาด้านนี้ไม่มากเท่าไหร่ก็ตาม เพราะว่าการที่ใช้พลังงานดำนั้นได้นั้นคนจะรู้สึกว่าต้องมีสถานีพลังงานน้ำขนาดใหญ่ ที่ยังมีศักยภาพในการได้ใช้สถานีพลังงานน้ำขนาดเล็กที่มีอยู่ได้ 

ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เพื่อความยั่งยืนในอนาคต

การเชื่อมกริดระหว่างประเทศเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน

การจะใช้พลังทดแทนต้องเข้าใจคือเรื่องของกริด ตอนนี้ประเทศไทยยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่มีเสถียรภาพมากขนาดนั้นในการที่จะรับมือและจัดการกับพลังงานทดแทนที่เข้าสู่ระบบและมีกระแสที่ไม่มีเสถียรภาพมากขนาดนั้น

 

ดังนั้น "ในตอนนี้ถ้าพูดถึงระยะสั้นอาจจะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ซะทีเดียวในการที่จะใช้พลังทดแทนแทนที่พลังงานที่ใช้กันอยู่เพราะตัวโครงสร้างพื้นฐานยังไม่มีเสถียรภาพมากเพียงพอ" แต่ว่าสิ่งที่สามารถทำได้เลยคือการเปลี่ยนการใช้พลังงานจากถ่านหินมาใช้พลังงานจากก๊าซเพราะว่าการใช้พลังงานจากก๊าซมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำกว่าถ่านหินถ้าเทียบต่อกิโลวัตต์

ดังนั้นจึงเรียกช่วงนี้ว่าเป็นช่วงทรานซิชั่น พีเรียด หรือช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ่านโดยมีเป้าหมายระยะในปี 2050 และยังไม่ถึงตรงนั้นแต่ระยะระหว่างทางสามารถค่อยๆเปลี่ยนผ่านสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นได้ 

การร่วมมือคือทางออกที่มีประสิทธิภาพ

หัวใจสำคัญมากคือการที่ทั้งโลกร่วมมือร่วมใจกัน สามารถทำได้ด้วยการที่ทุกคนทำงานร่วมกันไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งในประเทศหรือระหว่างประเทศ ดังนั้นจะต้องมาแก้ไขปัญหาที่เล็กซึ่งเป็นปัญหาสามเหลี่ยม แบ่งเป็น

1.ทำอย่างไรถึงจะให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานได้อันนี้คือเรื่องแรกที่ให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานได้

2.ทำอย่างไรจะทำให้ยั่งยืนพนักงานที่ส่งให้กับมนุษย์ทุกคนใช้จะต้องเริ่มจาก ขึ้นแรกคือปล่อยคาร์บอนต่ำและ ขั้นที่ 2 คือปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

3.จะต้องอยู่ในราคาที่เหมาะสมจับต้องได้ ที่เรียกว่าไทยเร็วมากคือเป็นปัญหาสามเหลี่ยมเพราะในแต่ละด้านแต่ละส่วนที่คนสามารถใช้ได้ทั่วถึง การที่ว่าจะต้องยั่งยืนและมีราคาที่เหมาะสมเป็นด้านที่ผลักดันกันเองในแต่ละส่วน 

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่นประเทศอินโดนีเซียเขามีประชากรเยอะมากๆ ในด้านแรกคือการเข้าถึงไฟฟ้า ก็ยังมีประชากรอีกเป็นจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงไฟฟ้า ดังนั้นหากมาดูสามเหลี่ยมอันนี้สิ่งแรกที่เขาจะให้ความสำคัญคือทำอย่างไรจะทำให้ทุกคนมีไฟฟ้าใช้ก่อน ยังไม่นึกถึงเรื่องของความยั่งยืนหรือเรื่องของการปล่อยคาร์บอน

ต้องการแค่ว่า มีราคาไฟฟ้าที่เหมาะสม ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เพราะเขาเองเป็นเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาดังนั้นเรื่องความยั่งยืนจึงเป็นสิ่งที่เขาอาจจะมองเป็นปัจจัยท้ายๆ ขณะที่ประเทศนอร์เวย์มีความแตกต่างกันออกไป นอร์เวย์เป็นประเทศที่ทุกคนสามารถเข้าถึงไฟฟ้ากันหมดแล้ว มีพลังงานทดแทนที่เหลือเฟือมาก ดังนั้นสิ่งที่ให้ความสำคัญคือเรื่องของความยั่งยืน สามารถที่จะมุ่งมั่นไปถึงเน็ตซีโร่ได้อย่างที่ไม่มีปัญหา

ประสิทธิภาพของการใช้พลังงานเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

ดังนั้น abb เองเชื่อว่ากุญแจสำคัญที่จะประสบความสำเร็จได้คือการที่ทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกันนี้ ต้องทำงานร่วมกันจากหลากหลายภาคส่วน หลากหลายอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษาเอง รัฐบาลเอง รวมถึงพวกเราทุกคน ล้วนมีผลกระทบที่จะทำให้เห็นว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงานนี้จะเปลี่ยนผ่านได้รวดเร็วมากน้อยแค่ไหน 

แล้ววิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการที่จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์คือการที่ทุกคนจะต้องร่วมกันลดปริมาณการใช้พลังงานอันนี้คือสิ่งที่ทุกคนทำได้ 

ทั้งนี้การจะใช้พลังงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอย่าง abb ที่รู้ถึงเรื่องนี้ดีว่าเราอยากทำให้เรื่องการใช้พลังงานประสิทธิภาพสูงขึ้น  จึงได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ยกตัวอย่างเช่น อย่างแรกเลยพวกอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ อย่างมอเตอร์สามารถลดการใช้พลังงานลงได้ถึง 40 ถึง 50% เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีรุ่นก่อนหน้า

สามารถลดการใช้พลังงานลงได้จากการที่เรียนรู้ถึงวิธีการใหม่ๆในการควบคุมอุปกรณ์ของคือการใช้ Data และระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วย คำว่า Data มักจะเรียกมันว่าเป็นดิจิตอล Solution ยกตัวอย่างเช่นประเทศไทยเองก็มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือ อีวี ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างที่เห็นได้ตามท้องถนน

ลองเทียบกับเมื่อ 10 ปีก่อนรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันก็มีการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น การที่เห็นว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไม่ใช่แค่พัฒนาแบตเตอรี่ที่ใหญ่ขึ้นที่มีคุณภาพดีขึ้นเท่านั้นแต่สิ่งที่เขาทำถัดไปเลยคือการที่เขาพัฒนาตัวมอเตอร์ที่ใช้พลังงานลดลงและมอเตอร์ที่มีระบบการควบคุมที่ดีขึ้นหรือที่เรียกว่า Energy management คือการบริหารจัดการพลังงานในตัวเอง 

ทั้งหมดนี้คือการเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงาน ที่มีประสิทธิภาพที่สามารถเป็นแนวทางขับเคลื่อนไปสู่ Net zero ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน