เปิดแผนรับสภาพอากาศเปลี่ยน ได้เวลาเดินหน้าเกษตรกรมืออาชีพ

เปิดแผนรับสภาพอากาศเปลี่ยน ได้เวลาเดินหน้าเกษตรกรมืออาชีพ

ความผันผวนของสภาพอากาศ สร้างผลกระทบกับทุกภาคส่วน และที่เห็นชัดคือภาคการเกษตร ผลผลิตเสียหายทั้งจากแล้งและน้ำท่วม ซ้ำเติมด้วยกฎเกณฑ์ทางการค้าที่เข้มงวด กรมส่งเสริมการเกษตรจึงต้องปรับแผนผลักดันเกษตรกรให้รับมือการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ให้ได้

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รวดเร็วเป็นปัจจัยหลักให้โลกอุณภูมิร้อนขึ้น และส่งผลกระทบในหลายด้าน โดยเฉพาะ ประเทศไทย ติด 1 ใน 8 ของโลก ที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด ด้วยภูมิประเทศที่มีพื้นที่ชายฝั่งที่ยาว ระบบนิเวศที่เปราะบาง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม ทรัพยากรน้ำ และการท่องเที่ยว  เปิดแผนรับสภาพอากาศเปลี่ยน ได้เวลาเดินหน้าเกษตรกรมืออาชีพ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดพายุฤดูร้อน น้ำท่วม คลื่นความร้อน และภัยแล้งบ่อยครั้ง อนาคตอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ผลิตภาพทางการเกษตรและพื้นที่เพาะปลูกลดลง กลายเป็นโอกาสใหม่ของภาคการผลิตและส่งออก ในขณะที่การแข่งขันเพื่อเข้าสู่ยุคคาร์บอนต่ำเริ่มทวีความสำคัญยิ่งขึ้นต่อการรักษาโครงสร้างการผลิตที่มีอยู่

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า แนวทางการพัฒนาสู่ยุคคาร์บอนต่ำ เพื่อรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ประเทศไทยเติบโต และพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน พร้อมกับเป็นการประกันว่าทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่จะยังคงอยู่จนถึงคนรุ่นต่อไป การปรับตัวเพื่อรับมือกับความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ในระยะยาว และต้องมีการวางแผนเพื่อจัดการและเตรียมการรับมือ จึง จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อการเปลี่ยนผ่านไปยุคคาร์บอนต่ำที่จะสามารถช่วยประเทศไทย ลดต้นทุนที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศลงได้อย่างมาก โดยยังคงรักษาความสามารถในการแข่งขันเอาไว้

 

เปิดแผนรับสภาพอากาศเปลี่ยน ได้เวลาเดินหน้าเกษตรกรมืออาชีพ

สำหรับแนวทางการดำเนินงาน เพื่อเตรียมรับมือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง กระทรวงเกษตร และสหกรณ์วางเป้าหมายไว้ 2 ด้าน การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ การ ลดผลกระทบหรือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งวิธีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน ภาคการเกษตร  คือการปรับวิธีการผลิตการเกษตรให้เหมาะสม เช่น การปรับวิธีการด้วยเทคโนโลยี 4 ป. +1 IPM โดยการปรับหน้าดิน ให้น้ำเปียกสลับแห้ง ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน แปรสภาพฟางและตอซัง

 

รวมถึงการใช้วิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน และการลดการเผาในพื้นที่เกษตร ซึ่งแต่ละกิจกรรมการผลิตสินค้าเกษตร จะมีการปลดปล่อยก๊าซออกมาแตกต่างกัน ทั้งชนิดและปริมาณ เช่น กิจกรรมการปลูกข้าวจะมีการปล่อยก๊าซมีเทนมากที่สุด รวมถึงก๊าซไนตรัสออกไซด์จากกิจกรรมการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในภาคเกษตร

กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินงานสนับสนุนการลดผลกระทบหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการจัดตั้งศูนย์ประมวลและวิเคราะห์สถานการณ์ ภัยพิบัติ (ด้านเศรษฐกิจ ด้านโรคแมลงศัตรูพืช และด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก) ระดับส่วนกลาง เพื่อดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวทางแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2566 - 2570 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสอดคล้องตามเป้าหมายที่ประเทศกำหนด

เปิดแผนรับสภาพอากาศเปลี่ยน ได้เวลาเดินหน้าเกษตรกรมืออาชีพ

รวมทั้งดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น โดยการรณรงค์ให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีการเผาแปลงเพาะปลูกไปใช้วิธีอื่น เช่น การไถกลบตอซัง หรือใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากการทำการเกษตรให้สร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบถึงหากไม่ดำเนินการจะทำให้ถูกตัดสิทธิการได้รับความช่วยเหลือชดเชยต่างๆ จากภาครัฐสำหรับเกษตรกรที่ไม่ให้ความร่วมมือต่อไป ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียด และข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้น

เปิดแผนรับสภาพอากาศเปลี่ยน ได้เวลาเดินหน้าเกษตรกรมืออาชีพ

นายพีรพันธ์ กล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำแผนปฏิบัติการ ด้านการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.2566-2570 มีการวางเป้าหมาย เพื่อให้ประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero Carbon Emission) ซึ่งมีประเด็นการพัฒนาที่กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมเป็นหน่วยงานดำเนินการ เช่น ส่งเสริมการทำประกันภัยผลผลิตทางการเกษตร

โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วางเป้าหมายการขับเคลื่อนนโยบายประกันภัยพืชผลทางการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร แบบรายงานข้อมูลความเสียหายจริงของเกษตรกร และข้อมูลผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัลที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ตลอดจนดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้รวดเร็ว และถูกต้อง

โดยดำเนินการในพืช 2 ชนิด คือ ข้าวนาปี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของเกษตรกร ดำเนินการผ่านโครงการ 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง โครงการ 1 อำเภอ 1 แปลงเกษตรอัจฉริยะ เพื่อการประหยัดทรัพยากรและลดการสูญเสีย (Food Loss) เป็นต้น ส่งเสริมการผลิตพืชผลทางการเกษตรในพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ ประเภทของดินและความเพียงพอของน้ำ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีหมุนเวียน ดำเนินนโยบายขับเคลื่อนส่งเสริมการจัดการดิน

เปิดแผนรับสภาพอากาศเปลี่ยน ได้เวลาเดินหน้าเกษตรกรมืออาชีพ

นายพีรพันธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำแผนปฏิบัติการ ด้านการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.2566-2570 มีการวางเป้าหมาย เพื่อให้ประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero Carbon Emission)

ซึ่งมีประเด็นการพัฒนาที่กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมเป็นหน่วยงานดำเนินการ เช่น ส่งเสริมการทำประกันภัยผลผลิตทางการเกษตร โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วางเป้าหมายการขับเคลื่อนนโยบายประกันภัยพืชผลทางการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร แบบรายงานข้อมูลความเสียหายจริงของเกษตรกร และข้อมูลผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัลที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร

ตลอดจนดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้รวดเร็ว และถูกต้อง โดยดำเนินการในพืช 2 ชนิด คือ ข้าวนาปี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของเกษตรกร ดำเนินการผ่านโครงการ 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง โครงการ 1 อำเภอ 1 แปลงเกษตรอัจฉริยะ เพื่อการประหยัดทรัพยากรและลดการสูญเสีย (Food Loss) เป็นต้น

ส่งเสริมการผลิตพืชผลทางการเกษตรในพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ ประเภทของดินและความเพียงพอของน้ำ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีหมุนเวียน ดำเนินนโยบายขับเคลื่อนส่งเสริมการจัดการดิน 

เพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และเพิ่มการตรึงและดูดใช้ธาตุอาหารโดยเฉพาะไนโตรเจน ส่งเสริมและสนับสนุนการลดการเผาเพื่อเก็บเกี่ยวและจัดการแปลงด้วยการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้ดำเนินการศึกษา ทดสอบ เทคโนโลยีและรูปแบบการปรับตัวของเกษตรกร เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การไม่เผาในพื้นที่การเกษตร อาทิ

 

การทดสอบเทคโนโลยี และรูปแบบการนำแนวทาง 3R Model มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร และการทดสอบระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าข้าวโพดอาหารสัตว์เพื่ออากาศสะอาดร่วมกับภาคเอกชนผู้รับซื้อ รวมถึงการจัดตั้งชุดปฏิบัติการเฝ้าระวังการเผาในพื้นที่การเกษตรระดับอำเภอและระดับตำบล ดำเนินการแล้ว 4,857 ชุด ออกปฏิบัติการกว่า 8,289 ครั้ง

นับเป็นโอกาสและความท้าทายที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายใต้หลักการ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ โดยส่งเสริมพัฒนาทักษะเกษตรกรให้สามารถใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรมูลค่าสูงและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตร ด้วยการทำเกษตรที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (Climate Smart Agriculture) ถือเป็นหนึ่งใน 7 ประเด็นภารกิจท้าทายของกรมส่งเสริมการเกษตร มุ่งพัฒนาเกษตรกรให้สามารถใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ด้านพืช เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีหมุนเวียน จะช่วยให้ประเทศไทยรวมทั้งภาคเกษตร สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement 2015)

ซึ่งประเทศไทยจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 30 – 40 ภายในปี 2573 และพร้อมบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาควิชาการ เพื่อขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อไป