เปิดความพร้อม ‘กทม.’ น้ำไม่ท่วม ยืนยันรับสถานการณ์ได้

เปิดความพร้อม ‘กทม.’ น้ำไม่ท่วม ยืนยันรับสถานการณ์ได้

“ไทย”รับมือสถานการณ์น้ำเปลี่ยนจากฝนที่ตกหนัก ยันระบบชลประทานเอาอยู่ จับตาน้ำจากร่องและพายุไต้ฝุ่นยางิ ซ้ำลานีญาเพิ่มฝน 5-10% ในช่วงปลาย ก.ย. - ธ.ค.

ชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ทีมกรุ๊ป ได้ให้ข้อมูลกับ ‘กรุงเทพธุรกิจ’ ว่า สถานการณ์น้ำในภาคเหนือมีปริมาณมากในแม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน แต่ปริมาณน้ำในจังหวัดเชียงรายที่ไหลลงแม่น้ำโขงสามารถระบายได้ช้าเนื่องจากน้ำในแม่น้ำโขงอยู่ในระดับที่สูง ในมณฑลยูนนานในประเทศจีนและประเทศลาวมีฝนตกมากทำให้แม่น้ำโขงมีระดับสูง ในจังหวัดพะเยาตอนเหนือน้ำไหลลงแม่น้ำโขง ทำให้น้ำท่วมแถวอำเภอเทิงถึงอำเภอปากน้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนมากเป็นพื้นที่ทุ่งนาความเสียหายอยู่ในระดับที่ต่ำ

ทั้งนี้ บริเวณขอบแม่น้ำโขงมีความน่าเป็นห่วง เพราะจะมีฝนตกวันที่ 7-10 ก.ย. ตั้งแต่ จังหวัดเชียงราย พะเยาตอนบน น่านตอนบนเลย หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ทำให้น้ำเพิ่มขึ้นตามลำน้ำสาขา ทำให้น้ำระบายไหลลงช้ามาก  
 

พายุไต้ฝุ่นยางิ

พายุไต้ฝุ่นยางิ หรือ (Yagi=แพะญี่ปุ่น) ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ใกล้ฟิลลิปินส์ เป็นพายุลูกที่ 11 ของปีนี้ คาดว่าจะเคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ เป็นใต้ฝุ่นระดับ 4 ดึงความชื่นจากทะเล จะทำให้ฝนตกหนักมาก ที่ฟิลิปินส์ ไหหลำ เวียดนาม มลฑลยูนาน และกวางสีของจีน ทำให้เกิดฝนตกหนักเป็นอย่างมาก 

วันที่ 1 - 3 ก.ย. ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 และ 3 (แรงสูงสุด=5) ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากที่ภาคเหนือของฟิลิปปินส์ แล้วเปลี่ยนทิศเคลื่อนที่ไปทางตะวันตก
วันที่ 5 - 6 ก.ย. ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 เคลื่อนที่อยู่ในทะเลจีนใต้ 
วันที่  7 - ก.ย. เคลื่อนที่ขึ้นฝั่งทำให้ฝนตกหนักมากที่ไหหลำ 
วันที่ 10 - 11 ก.ย. เคลื่อนที่ขึ้นฝั่งที่ชายแดนเวียดนาม-จีน ทำให้ฝนตกหนักในตอนบนของเวียดนาม และตอนล่างสุดของมณฑลกวางสี และในพื้นที่ด้านตะวันออกของยูนาน
       
จะมีผลต่อไทยทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคอิสานตอนบน และรวมถึง มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร อุบลราชธานีและศรีสะเกษ และภาคตะวันออก ได้แก่ระยอง จันทบุรี ตราด และ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง ซึ่งกรมชลประทานเตรียมการรับไว้แล้ว 10 - 11 ก.ย.นี้

ความจุน้ำที่สามารถกักเก็บได้

กรมชลประทาน มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและเขื่อนทุกขนาดทั่วประเทศ แต่แหล่งการกักเก็บน้ำตามแม่น้ำสาขาสำคัญมีดังนี้ 

1. แม่น้ำปิง เขื่อนภูมิพลสามารถจุได้หมดมีที่ว่าง 5 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือครึ่งอ่างของความจุ
2. แม่น้ำวัง มีอ่างขนาดใหญ่กิ่งลมสามารถรับน้ำได้ แต่ระดับน้ำในกิ่งลมถึงอำเภอเมืองลำปางนั้นมีระดับที่สูง ตั้งแต่ใต้เขื่อนลงมามีน้ำเต็มตลิ่งทั้งหมด 
3. แม่น้ำยม ไม่มีเขื่อนใหญ่ น้ำจากจังหวัดพะเยาที่ไหลลมาที่จังหวัดแพร่ยังมีปริมาณน้ำที่สุงอยู่ 
4. แม่น้ำน่าน มีเขื่อนสิริกิติ์มีที่ว่างพอกักเก็บน้ำไปจนถึงเดือน ต.ค. 

การจัดการรับมวลน้ำ

มวลน้ำที่ท่วมจังหวัดแพร่ และไหลงมาในจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก  และพิจิตรระดับน้ำเต็มตลิ่งแต่สามารถรับน้ำได้เพราะมีการระบายน้ำไปยังระบบชลประทานในจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ลงมาในทุ่งเจ้าพระยาลงและระบายน้ำลงสู่อ่าวไทยแล้วและกรมชลประทานในจังหวัดชัยนาท ได้ปล่อยน้ำเข้าระบบชลประทานไปถึงจังหวัดสุพรรณบุรีฝั่ง และฝั่งตะวันออกปล่อยน้ำเข้าระบบชลประทานไปถึงจังหวัดลพบุรี

ซึ่งช่วยเก็บกักน้ำไว้น้ำบางพื้นที่ทำให้ระดับน้ำต่ำสุดคือ 4 เมตรซึ่งพร้อมที่จะรับน้ำจากจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และมวลน้ำจากจังหวัดนครสวรรค์สามารถกักเก็บได้ ซึ่งใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการระบายน้ำลงอ่าวไทยผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา 

มวลน้ำที่ท่วมจังหวัดน่าน ถูกจัดเก็บในเขื่อนสิริกิติ์การกักเก็บเก็บน้ำอยู่ที่ 65% สามารถรับน้ำได้อีก 2 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับผลกระทบจากพายุต่างๆได้ จนถึงเดือน พ.ย.จึงจะเต็ม แล้ว จึงค่อยๆปล่อยระบายลงมาแบบควบคุมได้ลงสู่อ่าวไทยต่อไป ทำให้สามารถมั่นใจว่าน้ำไม่เข้ามาท่วมกรุงเทพฯอย่างแน่นอน 

ในส่วนของพื้นที่นอกคันกั้นน้ำในพื้นที่ ที่มีน้ำท่วมจะมีน้ำท่วมเพราะนอกเหนือการควบคุมจากกรมชลประทาน เพราะมีน้ำจากร่องฝน ตกตลอดเดือน ก.ย. - กลางเดือน ต.ค. ในพื้นที่จังหวัด ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง กรุงเทพฯและภาคอีสาน ต้องจับ พายุที่กำลังก่อตัว

สถานการณ์ลานีญาในปัจจุบัน

ลานีญา จะเข้าไทยปลายเดือน ก.ย. - ธ.ค. ความแรงนั้นคาดการณ์ไว้อยู่ในระดับ 1.5 - 2  แต่ในปัจจุบันอ่อนกำลังเหลือแค่ระดับ 1 มีผลกระทบทำให้ฝนตกในประเทศไทยมากขึ้นประมาณ 5-10% ซึ่งจะควบคุมได้

ทั้งนี้ต้องติดตามร่องฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยาทุกวัน เพื่อตรวจสอบพายุที่จะเกิดขึ้นในช่วงหน้าฝนที่จะทำให้ปริมาณน้ำมากกว่าปกติซึ่งก่อตัวขึ้นข้างประเทศฟิลิปปินส์ในอีก 10 วัน โดยคาดการณ์ว่าภาคอีสานจะได้รับผลกระทบหนักสุด

นอกจากนี้ ภาครัฐจำเป็นต้องเตรียมการรับมือปริมาณน้ำฝนที่จะเกิดขึ้นจากการถอดบทเรียนจากปีที่ผ่านมา ที่ปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยมีการลอกคลองหรือการกำจัดขยะและวัชพืชในแม่น้ำและท่อระบายน้ำ

รวมถึงการบำรุงรักษาบานประตูระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มากที่สุดและปรับปรุงคลองรัฐโพธิ์ให้พร้อมรับน้ำช่วงหน้าฝนเพื่อปกกันน้ำท่วมในอนาคต ไม่เพียงแค่ กรุงเทพฯ เพี่ยงอย่างเดียวเท่านั้นแต่จังหวัดอื่นที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมต้องเตรียมการรับมืออย่างทันถ่วงที่จะทำให้การบริหารการจัดการน้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น