“ไก่น้อง” KFC ไม่ทิ้งให้ใครต้องหิว Food Bankแก้วิกฤตขยะอาหาร
“ขยะอาหาร” เป็นปัญหาใหญ่ของโลก ที่ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)เผยแพร่รายงานดัชนีขยะอาหารระบุ ปี 2565 ทั่วโลกมี“ขยะอาหาร” (Food Waste)สูงถึง 1,050 เมตริกตัน
KEY
POINTS
- การส่งต่อไก่น้องให้แก่ผู้ที่ต้องการเป็นความตั้งใจของKFC ที่ต้องการให้ทุกคนได้รับความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร ดูแลสังคม และลดปัญหาขยะอาหาร
- ปัจจุบันทาง KFC ได้ช่วยผู้คนไปกว่า 2 ล้านมื้ออาหารและมี 200 สาขาทั่วประเทศที่ร่วมส่งต่อไก่น้อง
- บทบาทธุรกิจร้านอาหาร ไม่ใช่เพียงการขายอาหารที่มีคุณภาพ คุณค่าทางโภชนาการแก่ผู้บริโภคเท่านั้น แต่ต้องรับผิดชอบทั้งเรื่องของผู้คน สิ่งแวดล้อม และสังคมร่วมด้วย
“ขยะอาหาร” เป็นปัญหาใหญ่ของโลก ที่ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)เผยแพร่รายงานดัชนีขยะอาหารระบุ ปี 2565 ทั่วโลกมี“ขยะอาหาร” (Food Waste)สูงถึง 1,050 เมตริกตัน
โดยนักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากครัวเรือน ร้านอาหาร และร้านค้าปลีกในแต่ละประเทศทั่วโลก ทำให้พบว่าในแต่ละปีผู้คนสร้าง“ขยะอาหาร”คนละประมาณ 79 กิโลกรัม เท่ากับว่ามีอาหารอย่างน้อย 1,000 ล้านจานถูกทิ้งในแต่ละวันซึ่งเป็นการประเมินขั้นต่ำ ในความเป็นจริงตัวเลขอาจจะมากกว่านี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
คนไทยมีปัญหาเข้าถึงอาหาร3.8 ล้านคน
“วิกฤตขยะอาหาร”ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางอาหารของประชาชนกลุ่มเปราะบาง ซึ่งการตอบสนองต่อปัญหานี้นอกเหนือจากการกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาขยะอาหารแล้ว การลดการสูญเสียอาหารตั้งแต่ต้นทางเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญในการลดวิกฤตปัญหาขยะอาหาร
ขยะอาหาร 60% มาจากการบริโภคในครัวเรือน อีก 28% มาจากร้านอาหารหรือผู้ให้บริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม ส่วน 12% ที่เหลือมาจากร้านค้าปลีกอีกทั้งตัวเลขนี้ยังไม่รวมขยะอาหารอีก 13% ที่เน่าเสียหรือสูญเสียไประหว่างขั้นตอนการเก็บเกี่ยว หรือการผลิต
ขณะที่ข้อมูลที่ได้มีการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีอาหารส่วนเกินมากถึงเกือบ 4 ล้านตันต่อปี ในขณะที่มีการรายงานตัวเลขของประชากรของประเทศที่มีรายได้น้อยและมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาการเข้าถึงอาหารอยู่ถึง 3.8 ล้านคน
ส่งต่อให้น้อง ลดขยะอาหาร
“KFC Thailand” ซึ่งมีทั้งหมด 1,110 สาขาทั่วประเทศไทย และมีปริมาณอาหารส่วนเกินที่มีคุณภาพสามารถนำไปส่งต่อให้แก่น้องๆ และผู้ที่อยู่ในกลุ่มเปราะบางของสังคม ผ่านโครงการ “Harvest & Colonel’s Kitchen” อีกหนึ่งแนวทางในการช่วยลดเรื่องของอาหารส่วนเกินให้กับองค์กรการกุศลที่ต้องการความช่วยเหลือ
“แจนเน็ต รุ้งสิทธิกุล”Senior Marketing Manager KFC Thailandเล่าว่าKFC ประเทศไทย ได้ดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนปี 2566-2568โดยตั้งเป้าบรรลุพันธกิจขับเคลื่อนใน 3 ด้านสำคัญได้แก่ ผู้คน (People)โลก (Planet)และ อาหาร (Food) โดยKFCได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการส่งเสริมให้ทุกคนเข้าถึงอาหารได้อย่างเท่าเทียมกัน และดูแลสังคมให้ได้รับอาหารที่มีคุณภาพ เพราะหัวใจในการทำธุรกิจของ KFC คือ คน โลก และคุณภาพอาหาร
“ธุรกิจร้านอาหาร ต้องยอมรับว่ามีอาหารส่วนเกินในแต่ละวันจำนวนมาก ซึ่งอาหารส่วนเกินดังกล่าว เป็นอาหารที่สามารถนำไปรับประทาน หรือประกอบอาหารต่อได้มีประโยชน์ต่อผู้อื่น ตอบโจทย์ความต้องการด้านอาหาร ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากเรื่องของขยะอาหาร โดยโครงการHarvest & Colonel’s Kitchenเป็นความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อย่างSOS Thailand(มูลนิธิรักษ์อาหาร) หรือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการส่งต่อไก่ในแต่ละวันไปให้แก่ผู้ที่ต้องการ ซึ่งขณะนี้ได้ช่วยผู้คนไปกว่า 2 ล้านมื้ออาหารและมี 200 สาขาทั่วประเทศที่ร่วมส่งต่อไก่น้อง”แจนเน็ตกล่าว
ทุกคนเข้าถึงอาหารอย่างเท่าเทียม
นอกจากนั้น KFC ได้ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)แก้ปัญหาเด็กไทยหลุดออกจากระบบการศึกษา ผ่าน KFC Bucket Searchเพื่อเสาะหา และพัฒนาศักยภาพน้องๆ อย่างเต็มที่ก่อนกลับคืนสู่สังคม ให้ น้องๆ ไม่เพียงสามารถพึ่งพาตัวเองได้ แต่ยังสามารถเป็นที่พึ่งให้กับผู้อื่นและช่วยขับเคลื่อนสังคมต่อไป เพราะผู้พันแซนเดอร์สเชื่อว่าทุกศักยภาพมีคุณค่าเสมอ และเด็กทุกคนล้วนมีศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัด และกำลังรอให้ “โอกาส”ได้ค้นพบ
รวมถึงได้มีการทำครัวให้แก่สถานสงเคราะห์และหน่วยงานชุมชนต่างๆ ประมาณ 10 แห่งทั่วประเทศ เพื่อนำไก่น้องไปทำอาหารได้ถูกสุขลักษณะ จัดเก็บอย่างถูกวิธีโครงการต่างๆ จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากพนักงานในแต่ละสาขา และหน่วยงาน อย่าง SOS ที่ดำเนินการมาแล้ว5ปีกระจายความช่วยเหลือได้15 จังหวัด ทั่วประเทศ
แจนเน็ต กล่าวว่า การส่งต่อไก่น้อง ให้แก่ผู้ที่ต้องการเป็นความตั้งใจของKFC ที่ต้องการให้ทุกคนได้รับความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร ดูแลสังคม และลดปัญหาขยะอาหาร ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่ใช่เพียงประเทศใดประเทศหนึ่งได้รับผลกระทบ แต่ทุกประเทศทั่วโลกต่างประสบปัญหาดังกล่าว ขณะเดียวกัน มีผู้ขาดแคลนอาหารทั้งในไทยและต่างประเทศ ฉะนั้น การนำอาหารส่วนเกินมาปรุงใหม่ให้กลายเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และSOS เข้ามาช่วยในการขนส่งไก่น้องให้ถึงมือผู้บริโภคได้ทั่วทุกที่เป็นการขยายธนาคารอาหารให้เกิดขึ้นจริงอีกด้วย
ธุรกิจอาหารต้องรับผิดชอบต่อสังคม
“ธุรกิจร้านอาหารต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะเรื่องของการทำให้พนักงานอยากเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อไก่น้อง อาหารส่วนเกินให้แก่มูลนิธิ SOS หรือผู้ที่ต้องการเพราะพนักงานจะต้องเป็นคนจัดเตรียม ควบคุมคุณภาพของอาหารก่อนส่งต่ออาหารส่วนเกินที่ยังบริโภคได้ ให้กับผู้คน-โรงเรียน-ชมชุมชนที่ขาดแคลนต้องการอาหารต่อไป”แจนเน็ตกล่าว
แม้ KFC จะไม่ได้เข้าร่วมดำเนินการธนาคารอาหารโดยตรง แต่หลายๆโครงการที่ได้ทำร่วมกับทาง SOS ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนธนาคารอาหารให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งการที่ธุรกิจร้านอาหาร ร่วมส่งเสริมธนาคารอาหาร นอกจากช่วยลดปัญหาขยะอาหารแล้ว ยังเป้นช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนๆ หนึ่งได้
แจนเน็ตกล่าวทิ้งท้ายว่าบทบาทของธุรกิจร้านอาหาร ไม่ใช่เพียงการขายอาหารที่มีคุณภาพ คุณค่าทางโภชนาการแก่ผู้บริโภคเท่านั้น แต่ต้องรับผิดชอบทั้งเรื่องของผู้คน สิ่งแวดล้อม และสังคมร่วมด้วย การส่งต่ออาหารส่วนเกินไม่ว่าจะมากหรือน้อย สามารถช่วยเหลือผู้ขาดแคลนอาหารได้มาก และลดจำนวนอาหารที่จะต้องทิ้งในแต่ละวัน