ดีพร้อม ชูต้นแบบ ผู้ประกอบการ เพิ่มมูลค่าของเหลือ-ลดโลกร้อน
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ในการเพิ่มมูลค่าขยะเพื่อขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะล้นเมือง และสร้างรายได้กระจายไปยังเศรษฐกิจฐานรากผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model
KEY
POINTS
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ชูต้นแบบ ผู้ประกอบการดีพร้อม (DIPROM Success Case) ปั้นผลิตภัณฑ์กระเป้าจากป้ายไวนิลเหลือทิ้ง แก้ปัญหาขยะล้นเมืองขอนแก่น พร้อมนำเสนอไอเดียการเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้ง
- แดรี่โฮม” (Dairy Home)ผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์นมออร์แกนิกเจ้าแรกของไทย โดยให้ความสำคัญกับวิถีเกษตรอินทรีย์และการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ดีพร้อม ได้รวบรวมแนวคิดสำหรับการเพิ่มมูลค่าจากของเสียในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนองค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรมยั่งยืนจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อให้ผู้ประกอบการ และประชาชนที่สนใจนำไปต่อยอดธุรกิจ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ในการเพิ่มมูลค่าขยะเพื่อขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะล้นเมือง และสร้างรายได้กระจายไปยังเศรษฐกิจฐานรากผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยหนึ่งในผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการพัฒนาเป็น ผู้ประกอบการดีพร้อม (DIPROM Success Case) คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุ่งเศรษฐี จังหวัดขอนแก่น
นายณัฐวุฒิ ศรีอาจ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุ่งเศรษฐี เปิดเผยว่า ได้รับการส่งเสริมโดยดีพร้อม ในการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการเพิ่มมูลค่าจากสิ่งของเหลือทิ้ง และองค์ความรู้ในการประกอบธุรกิจให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุ่งเศรษฐี เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองขอนแก่น พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน สาเหตุจากประชาชนกรพื้นที่ที่หนาแน่น ประกอบกับการจัดกิจกรรมในพื้นที่ ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม หรือ ป้ายไวนิล ที่เหลือทิ้งเป็นขยะสะสมภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
'ดีพร้อม' เร่งจับคู่ธุรกิจ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ นำผู้ประกอบการไทยสู่เวทีโลก
'ดีพร้อม' ดัน 'ซอฟต์พาวเวอร์' แฟชั่นไทย ปั้น 3 แบรนด์ดังเติบโตระดับโลก
แดรี่โฮม ธุรกิจยั่งยืนเพื่อโลกที่ยังยืน
นายณัฐวุฒิ กล่าวเพิ่มเติมว่า นำขยะจากป้ายไวนิลมาเพิ่มมูลค่าผ่านกระบวนการออกแบบร่วมกับกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทอผ้า สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ กระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้า และเฟอร์นิเจอร์ สร้างรายได้ในกับคนในชุมชน และนำเศษผ้าที่เหลือจากการบวนการผลิตในข้างต้น มาถักทอเป็น “ผ้าทอมือ BCG” พร้อมสอดแทรกวัฒนธรรมพื้นถิ่นผ่านภูมิปัญญาการทอผ้าแบบ “จก” ถ่ายทอดอัตลักษณ์ลงบนผืนผ้าเพื่อต่อยอดเป็นวัตถุดิบให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสินค้าแฟชั่นนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 หรือประมาณ 50,000 บาทต่อเดือน
“แดรี่โฮม” (Dairy Home) เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างธุรกิจที่มุ่งมั่นในการผลิตนมแบบออร์แกนิกที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์นมออร์แกนิกเจ้าแรกของไทย โดยให้ความสำคัญกับวิถีเกษตรอินทรีย์และการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสร้างสุขภาพที่ดีให้กับผู้บริโภคได้อย่างยั่งยืน แม้เป็นธุรกิจน้ำนมขนาดเล็ก แต่ก็ยังสามารถยืนหยัดอยู่ท่ามกลางเจ้าตลาดรายใหญ่ได้อย่างเต็มภาคภูมิ
หนึ่งในตัวแปรที่ส่งผลต่อคุณภาพของน้ำนมคือ สุขภาวะทางอารมณ์ของแม่โค หรือ Happy Cow ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเกษตรกรมีความสุข แดรี่โฮมจึงสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรเครือข่าย ผ่านการรับซื้อผลผลิตทั้งหมด เพื่อบรรลุ 3 เป้าหมายสำคัญคือ 1. ให้เกษตรกรมีรายได้อย่างยั่งยืน และมีระบบฟาร์มออร์แกนิกที่มั่นคง 2. ผลิตน้ำนมที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค3. แปรรูปโดยใช้ระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
ไม่มี “ของเสีย” ถ้าเห็นประโยชน์
“ พฤฒิ เกิดชื่นชู ”ผู้ก่อตั้ง “แดรี่โฮม”กล่าวว่าความยั่งยืนของแดรี่โฮม หมายถึง ความมั่นคงด้านพลังงาน วัตถุดิบ และช่องทางจำหน่าย โดยโรงงานใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์ในช่วงกลางวัน และไฟฟ้าในช่วงที่ไม่มีแดด รวมถึงใช้น้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ในการพาสเจอไรส์นมมากว่า 10 ปี โดยอยู่ระหว่างการวางแผนติดตั้งแบตเตอรี่และโซลาร์เซลล์เพิ่มในอีก 1-2 ปี เพื่อให้สามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่
อีกสิ่งสำคัญที่โรงงานจะยั่งยืนได้ คือต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมโดยรอบ โดยจะไม่มีการปล่อยน้ำเสียสู่แหล่งน้ำภายนอก โดยทำการบำบัดแล้วนำมาใช้ปลูกหญ้าเพื่อใช้เลี้ยงโคนมในฟาร์มขนาดเล็กซึ่งอยู่ในพื้นที่ของแดรี่โฮม การจัดการเช่นนี้ทำให้ได้น้ำนมโคเพิ่มเติม เกิดมูลค่าเพิ่มอีกทางหนึ่ง
“น้ำนมส่วนเกินในแต่ละวันมีประมาณ 50-60 ลิตร จะถูกเก็บรวบรวมและบำบัดอย่างเหมาะสม ก่อนนำไปใช้เป็นอาหารเพาะเลี้ยงสาหร่าย จากนั้นนำสาหร่ายไปเลี้ยงไรน้ำสีน้ำตาลสำหรับเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในพื้นที่ฟาร์มของเรากว่า 2 ไร่ ทำให้เราสามารถบริหารจัดการของเสียได้ 100% นี่คือ ความยั่งยืนในแบบของเรา”
ธุรกิจยั่งยืน = โลกยั่งยืน
เขากล่าว่าความยั่งยืน คือ ความยั่งยืนของตัวเราและธุรกิจ ผ่านการบริหารจัดการแหล่งวัตถุดิบคุณภาพ การสร้างระบบโรงงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งไม่ใช่ค่าใช้จ่าย แต่เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนกลับคืนมา เช่น การลงทุนบำบัดน้ำเสียที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้ 100% และลดปัญหาการร้องเรียนจากชุมชน นี่คือโลกแห่งความยั่งยืน หากรู้จักวิธีใช้ประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ ก็จะพบความยั่งยืนในที่สุด
ทั้งนี้ แดรี่โฮมตั้งเป้าภายในปี 2050 จะมุ่งไปสู่ Net Zero และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์ในปี 2040 ปัจจุบันตัวเลขการใช้ไฟฟ้ารวมต่อเดือนประมาณ 80 เมกะฮาวด์ ผลิตได้เอง (EV) 40% ซื้อเพิ่ม 60% ตั้งเป้าปี 2030 ผลิตใช้เอง 100%
“เรามองการก้าวสู่ Net Zero ว่าสามารถทำได้และไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเรามั่นใจว่าหลังปี 2040 กฎระเบียบต่าง ๆ ของภาครัฐและนานาชาติจะบังคับให้ภาคอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่เป็น Carbon Zero เช่นกัน จากนั้น เมื่อเราสั่งซื้อขวดบรรจุน้ำนมและปัจจัยการผลิตต่าง ๆ เราจะสามารถเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่เป็น Carbon Zero ได้ เพราะกฎหมายจะบังคับอย่างเข้มข้น ทำให้มีทางเลือกด้านสิ่งแวดล้อม"
ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้รวบรวมแนวคิดสำหรับการเพิ่มมูลค่าจากของเสียในภาคอุตสาหกรรม ของเหลือทิ้งจากกิจกรรมต่าง ๆ ผ่าน วารสารอุตสาหกรรมสาร ฉบับที่ 3 ภายใต้แนวคิด “Sustainability : Loss – Waste - Wealth สู่ความมั่งคั่งอย่างมั่นคง” ตัวอย่างเช่น การมุ่งสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ โดย Dairy Home การบริการการผลิตเพื่อลดของเสีย โดย April"sBakerry การผลิตรองเท้าจากเศษยางพารา โดย Maddy Hopperตลอดจนองค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรมยั่งยืนจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อให้ผู้ประกอบการ และประชาชนที่สนใจนำไปต่อยอดธุรกิจ ติดตามได้ที่ วารสารอุตสาหกรรมสาร ฉบับที่ 3 https://e-journal.dip.go.th/