เปิดผลสำรวจ 2025 จังหวัดไหนเด็กเปราะบางยากไร้มากที่สุด

มูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้ทำการวิจัยในกลุ่มเด็กกว่า 83,000 คน ทั้งที่อาศัยในพื้นที่ชนบทและในเขตชุมชนเมือง ทั้งที่เป็นเด็กในความอุปการะและไม่ใช่เด็กในความอุปการะ
KEY
POINTS
- มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยทำสำรวจกลุ่มเ
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย (World Vision Foundation of Thailand) อาศัยความร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่กว่า 36 จังหวัดของประเทศ ได้ทำสำรวจกลุ่มเด็กกว่า 83,000 คน ทั้งที่เป็นเด็กในความอุปการะและไม่ใช่เด็กในความอุปการะของมูลนิธิศุภนิมิตฯ โดยเน้นถึงรูปแบบและลักษณะของความเปราะบางยากไร้ ทั้งที่อาศัยในพื้นที่ชนบทและในเขตชุมชนเมือง
ผลสำรวจชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ต่างๆ โดยกว่า 51% ของเด็ก 83,000 ราย เป็นเด็กที่เปราะบางยากไร้ ทั้งนี้ ความเปราะบางยากไร้ในนิยามของมูลนิธิศุภนิมิตฯ มีอยู่ 4 มิติ ได้แก่
1. การถูกละเมิดหรือแสวงหาประโยชน์
2. การขาดแคลนอย่างรุนแรง
3. การกีดกันอย่างรุนแรง
4. ภาวะเปราะบางจากภัยพิบัติหรือมหันตภัย
ในบรรดามิติความเปราะบางยากไร้ทั้ง 4 มิตินี้ มิติที่ชี้ให้เห็นถึงความเปราะบางสูงสุดคือ การขาดแคลนอย่างรุนแรง (63%) รองลงมาคือ การกีดกันอย่างรุนแรง (28%), ภาวะเปราะบางจากภัยพิบัติหรือมหันตภัย (25%), และการถูกล่วงละเมิด (18%)
มิติการถูกละเมิดหรือแสวงหาผลประโยชน์
- บึงกาฬ 53.78%
- บุรีรัมย์ 45.97%
- เพชรบุรี 40.28%
- นครพนม 37.63%
- ลําปาง 35.86%
- ตราด 34.38%
- อุทัยธานี 32.79%
- ราชบุรี 29.51%
- เลย 27.78%
- เพชรบูรณ์ 24.63%
มิติการขาดแคลนอย่างรุนแรง
- บึงกาฬ 92.57%
- สระแก้ว 92.12%
- แม่ฮ่องสอน 87.53%
- กระบี่ 85.84%
- กรุงเทพฯ 84.33%
- เชียงใหม่ 81.95%
- อุตรดิตถ์ 81.16%
- ตราด 80.10%
- เพชรบุรี 72.73%
- สกลนคร 71.14%
มิติการถูกกีดกันอย่างรุนแรง
- ตาก 82.80%
- หนองคาย 75.63%
- กาญจบุรี 70.07%
- แม่ฮ่องสอน 69.68%
- เชียงราย 69.13%
- เพชรบุรี 45.92%
- น่าน 40.17%
- ลำปาง 39.91%
- เชียงใหม่ 38.95%
- พะเยา 36.09%
มิติเปราะบางยากไร้ จากภาวะภัยพิบัติหรือมหันตภัย
- กาญจบุรี 97.64%
- เพชรบุรี 77.48%
- ลำปาง 76.97%
- อุทัยธานี 64.43%
- แพร่ 60.76%
- น่าน 44.55%
- หนองคาย 36.02%
- ตาก 35.57%
- เชียงใหม่ 35.08%
- ตราด 34.28%
ข้อบ่งชี้ความเปราะบางยากไร้แต่ละประเภท
มิติความเปราะบางยากไร้
- ถูกละเมิด หรือถูกแสวงหาประโยชน์
- ทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตราย
- อายุต่ำกว่า 15 ปี แต่ต้องทํางาน
- ทำงานระหว่าง 22 นาฬิกา และ 6 นาฬิกา
- ถูกแสวงประโยชน์หรือล่วงละเมิดทางออนไลน์
- ถูกแสวงประโยชน์หรือล่วงละเมิดทางเพศ
- ผู้ปกครองฝึกวินัยด้วยความรุนแรง
- ความรุนแรงจากคุณครู หรือคนอื่นๆ
- ความรุนแรงในครอบครัว
- ถูกละเลยทางร่างกาย / ทางอารมณ์
- เด็กเข้ามาในประเทศโดยไม่มีเอกสารประกอบที่เหมาะสม (การค้ามนุษย์หรือแรงงานข้ามชาติ)
- เด็กอายุต่ำกว่า 17 ปี แต่งงานแล้ว
- เด็กอายุตำ่กว่า 17 ปีตั้งครรภ์
- เด็กใช้สาร/ยาเสพติด
- ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กใช้สาร/ยาเสพติด
- ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กติดเหล้า
การขาดแคลนอย่างรุนแรง
- เด็กขาดสารอาหาร (หรือไม่แข็งแรง)
- เด็กที่ไม่สบายหรือเจ็บป่วยบ่อย
- ครอบครัวของเด็กเป็นครัวเรือนที่มีรายได้น้อย หรือยากจนมาก
- ครอบครัวของเด็กประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร
- เด็กอาศัยอยู่กับผู้ปกครอง/ผู้ดูแลที่ป่วยเรื้อรัง
- ครอบครัวของเด็กไม่มีที่ดินหรือเป็นเจ้าของที่ดินหรืออาศัย หรืออยู่ในสถานที่ไม่มั่นคง/ไม่ถาวร
- เด็กไม่ได้รับบริการด้านสุขภาพและโภชนาการที่เพียงพอ
- เด็กหรือครอบครัวที่เข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ยาก
- ครัวเรือนที่ไม่มีสิ่งอ่านวยพื้นฐานด้านสุขอนามัย
- เด็กไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่
- เด็กที่มาจากครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว
- ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลพิการ
- เด็กเป็นหัวหน้าครัวเรือน
- เด็กไม่ได้ลงทะเบียนเรียนหรือหยุดเรียนในโรงเรียนหรือสถานศึกษา
- เด็กที่ขาดเรียนบ่อย
การกีดกันอย่างรุนแรง
- เด็กมีความบกพร่อง พิการทางร่างกาย หรือการเรียนรู้
- เด็กอยู่ในกลุ่มชายขอบ ชาวเขา ชนกลุ่มน้อย ชาติพันธุ์ หรือเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์) เด็กของพ่อแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี/พิการ
- ครอบครัวเด็ก (ผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดู) เป็นผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติ
- เด็กมีปัญหาท้าผิดทางกฎหมายหรือโดนส่งสถานกักกัน
- เด็กมีส่วนร่วมในกลุ่มมั่วสุมหรือเกี่ยวข้องกับอาชญากรรม
- พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กถูกจําคุก
- เด็กไม่ได้จดทะเบียนการเกิด (ไม่มีบัตรแสดง ตัวตนทางกฎหมาย)
- ครอบครัวของเด็กอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล หรืออยู่ในเนินเขา/ชายแดน
ภาวะเปราะบางอาก ภัยพิบัติหรือมหันตภัย
- ครอบครัวเด็กอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะเกิดภัยพิบัติอย่างรุนแรง (เช่น น้ําท่วม แผ่นดินถล่ม)
- ครอบครัวเด็กอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง (ยะลา นราธิวาส หรือปัตตานี)