ยังคงมุมมองเชิงบวกแม้อาจมีแรงทำกำไรสลับบ้าง

ยังคงมุมมองเชิงบวกแม้อาจมีแรงทำกำไรสลับบ้าง

สัญญาณจากรายงานการประชุมเฟดไม่ได้เพิ่มความกังวลให้ตลาด แม้เชื่อว่าอาจมีความผันผวนจากความเสี่ยงของการปรับลดประมาณการกำไร และการไหลของเงินออกจากตลาดหุ้นไปยังพันธบัตรหากเงินเฟ้อยังลดลงอย่างต่อเนื่อง

บรรยากาศลงทุนโดยรวมยังเป็นบวกจาก 1) รายงานการประชุมเฟดล่าสุด ยืนยันเฟดจะยังปรับขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะมั่นใจว่าเงินเฟ้อชะลอตัวลง อย่างไรก็ตามกรรมการทุกคนมีความเห็นตรงกันว่าเฟดควรจะชะลออัตราการปรับขึ้นดอกเบี้ย โดยจะปรับขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อลดความเสี่ยงที่จะมีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เรามองโทนโดยรวมของรายงานเป็นบวก และไม่ได้น่ากังวลเหมือนความเห็นของกรรมการบางท่านที่มองควรปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 1.00% ในปีนี้ 2) ราคาพลังงานและก๊าซธรรมชาติที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่และเอเชีย รวมถึงลดภาระขาดดุลจากการนำเข้าพลังงาน

 

หุ้นเทคโนโลยีจีนในสหรัฐฯ ปรับขึ้น จากปัจจัยหลักๆ ได้แก่ 1) ผลการตรวจสอบเรื่องบัญชีมีความโปร่งใส 2) ท่าทีของจีนต่อสหรัฐฯ ที่ดูเป็นมิตรมากขึ้น 3) การผ่อนคลายมาตรการโควิดส่งผลบวกต่อแนวโน้มธุรกิจ 4) ปัจจัยเฉพาะตัว อาทิ การที่ ANT บริษัทลูกของ BABA ได้รับใบอนุญาตในการให้บริการสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ซึ่งทำให้น่าจะกลับมาอยู่ในเส้นทางเตรียมระดมทุนผ่าน IPO ได้ต่อไป // ปัจจัยหลายประการข้างต้น ส่งผลให้หุ้นกลุ่มเซมิคอนดัคเตอร์ของสหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้นเช่นกัน โดยดัชนีภาพรวม SOX +2.74% (TXN +3.65%, LRCX +1.97%, MU +7.60%) อย่างไรก็ตามอาจเป็นเพียงปัจจัยบวกทางจิตวิทยา ขณะที่ผลประกอบการของหุ้นในกลุ่มยังน่าจะได้รับแรงกดดันจากแนซโน้มผลประกอบการที่ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจโลก

 

 


 

ALL ผิดนัดชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้ชุด ALL244A (มูลค่าหุ้นกู้ 709.9 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 7% ต่อปี) เนื่องจากไม่สามารถชำระดอกดบี้ยงวดที่ 5 จำนวน 10.65 ล้านบาท ถึงกำหนด 3 ม.ค.66 ได้ จากการขาดสภาพคล่องและเงินสดหมุนเวียน สิ่งที่ผู้ลงทุนควรรู้ ได้แก่ 1) เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นปัจจัยเฉพาะตัวรายบริษัท ไม่ใช่ความเสี่ยงของุตสาหกรรม ผู้ลงทุนไม่ควรตื่นตระหนก 2) สาเหตุสำคัญมาจากสถานการณืโควิด ที่ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายเล็กได้รับผลกระทบ ทั้งจากยอดโอน และการเลื่อนโครงการ ทำให้กระแสเงินสดเข้ามีน้อย และมีผลการดำเนินงานขาดทุน 3) ALL มีหุ้นกู้หมด 7 ชุด วงเงินรวม 2,334 ล้านบาท ถึงำหนดชำระในปี 2566, 2567 และ 2568 จำนวน 1,204 / 878 และ 251 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้หุ้นกู้ส่วนใหญ่มีหลักประกัน โดยมีเพียง 2 ชุดที่ไม่มีหลักประกันวงเงินรวม 192.6 ล้านบาท

 

ประเด็นลงทุนที่น่าสนใจ 1) ฟื้นตัวจากเศรษฐกิจและเปิดเมือง BBL, SCB, MINT, SPA, VRANDA, TNR, KISS, CPN, CRC, CPALL, MAKRO, MAJOR 2) หุ้นได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว (พลังงาน ปิโตรเคมี บรรจุภัณฑ์) ได้แก่ PTTGC, IRPC, SCGP, AJ, PTL, SCC, PTTEP, PTT 3) กลุ่มบริโภคและการย้ายฐานการผลิต ได้แก่ WHA, AMATA, ROJNA 4) การขายไฟพลังงานทดแทน 5200MW GULF, GUNKUL, BCPG, SSP, BGRIM, GPSC, EGCO 5) หุ้นที่น่าสนใจอื่นๆ STP, TNR, DMT, TVDH, KLINIQ, FLOYD, SORKON 6) กลุ่มน้ำตาล เข้า high season และปริมาณการผลิตไทยสูงสุดในรอบ 3 ปี ดีกับ KSL, KTIS, KBS, BRR

 

ภาพรวมกลยุทธ์: ยังคงมุมมองบวกต่อหุ้นไทยแม้อาจมีแรงขายปรับพอร์ตสลับบ้างช่วงต้นปี หุ้นกลุ่มเปิดเมือง (ท่องเที่ยว ค้าปลีก ธนาคาร) มีแนวโน้มเคลื่อนไหวโดดเด่นในระยะสั้น เน้นตัวที่ยัง Laggard หรือที่มีสัดส่วนรายได้จากคนจีนสูงมากๆ  //หุ้นแนะนำ: BGRIM, SCGP, VRANDA, WHAUP*

แนวรับ: 1,668 / แนวต้าน : 1,690 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

 

 


 

ประเด็นการลงทุน

สหรัฐเผยตัวเลขเปิดรับสมัครงานลดลงน้อยกว่าคาด – ผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ลดลง 54,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 10.458 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ย. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 10.0 ล้านตำแหน่ง

ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐหดตัวเป็นเดือนที่ 2 – สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 48.4 ในเดือนธ.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 48.5 จากระดับ 49.0 ในเดือนพ.ย.

ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยปีที่แล้ว สวนทางภูมิภาค – โดยเทขายหุ้นในตลาดเกิดใหม่ของเอเชียสูงถึง 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นกระแสเงินไหลออกสูงสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลกในปี 2551ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเป็นเพียงไม่กี่ตลาดซึ่งนักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิในปีที่แล้ว โดยมีมูลค่า 2.027 แสนล้านบาท หรือราว 6.1 พันล้านดอลลาร์ เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2559 ที่ต่างชาติไม่ได้ขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย

ตลท.สั่ง 7UP ใช้เกณฑ์ Cash Balance – ตั้งแต่ 5-25 ม.ค.66


ประเด็นติดตาม: 5 ม.ค. – US Initial Jobless Claims, US Crude Oil Inventories / 6 ม.ค. – EU CPI, Nonfarm Payrolls, US Unemployment Rate, ISM Non-Manufacturing PMI / 12 ม.ค. – US CPI / 13 ม.ค. – EU Industrial Production / 18 ม.ค. – EU CPI, US Retail Sales, US PPI   

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)