เลือกเก็งกำไรรายตัว ตลาดยังน่าจะผันผวนจากผลประกอบการ
ธนาคารกลางอังกฤษ และยุโรปขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลเงินดอลลาร์ฯอ่อน เป็นบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง ธนาคารกลางอังกฤษขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่ 4.00% ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่ 2.50% และแสดงความเห็นถึงความจำเป็นที่จะยังคงต้องขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง
สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เงินปอนด์และยูโรแข็งค่าขึ้นทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า ซึ่งเป็นบวกต่อภาพรวมการลงทุน อย่างไรก็ตามบรรยากาศการลงทุนอาจผันผวนไปตามการรายงานผลประกอบการหลังหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อาทิ Alphabet, Amazon และ Apple รายงานผลประกอบการแย่กว่าคาด // สำหรับหุ้นไทยเรามองหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ช่วงนี้อาจเคลื่อนไหวได้ดีกว่าหุ้นใหญ่ในจังหวะนักลงทุนต่างชาติมีสถานะขายสุทธิปรับพอร์ต การเข้าลงทุน เรายังชอบหุ้นเปิดเมือง (เน้นที่ยังขึ้นน้อย หรือซื้อเมื่ออ่อนตัว) และอาจเลือกเก็งกำไรรายตัวในกลุ่มที่โมเมนตัมเริ่มดีขึ้น อาทิ การเงิน, ปิโตรเคมี, วัสดุก่อสร้าง, บันเทิง
กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่น่าสนใจในไตรมาส 1/66 คือ น้ำตาลและเหล็ก แม้ภาพรวมสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่จะชะลอเพราะความกังวลเศรษฐกิจโลก แต่ในระยะสั้นจะได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ ในเชิงกลยุทธ์และปัจจัยพื้นฐาน เรามองสินค้าโภคภัณฑ์ 2 กลุ่มที่น่าสนใจได้แก่ 1) น้ำตาล คาดการณ์ปริมาณอ้อยเข้าหีบปี 65/66 อยู่ที่ 100-105 ล้านตัน สูงสุดในรอบ 3 ปี (64/65 อยู่ที่ 92 ล้านตัน ขณะที่ 63/64 อยู่ที่เพียง 66 ล้านตัน) ขณะที่ราคาน้ำตาลอยู่ที่ 21.66 เซนต์/ปอนด์ สูงสุดในรอบ 6 ปี เป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาล อาทิ KSL, KBS, BRR, KTIS 2) กลุ่มเหล็ก การก่อสร้างโครงการขนาดเล็กยังไม่กลับสู่ปกติ กระทบต่อเหล็กรูปพรรณ แต่การเดินหน้าโครงการขนาดใหญ่ และการขึ้นโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ทำให้เหล็กข้ออ้อยเป็นที่ต้องการ สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลดีต่อ TSTH และ MILL มากกว่า GJS (เหล็กรีดร้อน) และน่าจะดีกว่ากลุ่มค้าเหล็ก (TMT, AMC และ THE)
ประเด็นลงทุนที่น่าสนใจ 1) ฟื้นตัวจากเศรษฐกิจและเปิดเมือง BBL, SCB, MINT, SPA, VRANDA, TNR, KISS, CPN, CRC, CPALL, MAKRO, MAJOR 2) หุ้นได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว (พลังงาน ปิโตรเคมี บรรจุภัณฑ์) ได้แก่ PTTGC, IRPC, SCGP, AJ, PTL, SCC, PTTEP, PTT 3) กลุ่มบริโภคและการย้ายฐานการผลิต ได้แก่ WHA, AMATA, ROJNA 4) การขายไฟพลังงานทดแทน 5200MW GULF, GUNKUL, BCPG, SSP, BGRIM, GPSC, EGCO 5) หุ้นที่น่าสนใจอื่นๆ DMT, TVDH, FLOYD, SORKON, ASW, S, CBG, AEONTS 6) กลุ่มน้ำตาล เข้า high season และปริมาณการผลิตไทยสูงสุดในรอบ 3 ปี ดีกับ KSL, KTIS, KBS, BRR
ภาพรวมกลยุทธ์: ตลาดยังมีแนวโน้มแกว่งตัวขึ้นเชิงบวก แม้อาจจะผันผวนจากงบรายตัวในระยะสั้นบ้างก็ตาม การเก็งกำไรระยะสั้นเน้นหุ้นที่ยัง Laggard และเปิดเมืองที่ยังขึ้นน้อย รวมถึงกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากต้นทุนพลังงานที่จะลดลง //หุ้นแนะนำ: KSL*, MILL*, FLOYD*, ASW*, S*
แนวรับ: 1,670 / แนวต้าน : 1,700 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
ประเด็นการลงทุน
สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานลดลง – ลดลง 3,000 ราย สู่ระดับ 183,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 200,000 ราย
ECB ขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ตามคาด - ECB ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ และระบุอย่างชัดเจนว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% ในเดือนมี.ค.
BoE ขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ตามคาด ขณะส่งสัญญาณชะลอขึ้นดอกเบี้ย – มีมติ 7-2 ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 4.0% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551 ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 10 ติดต่อกัน
บอร์ดอีวีเคาะแพ็คเกจส่งเสริมอุตฯแบตเตอรี่อัดฉีด 2.4 หมื่นล้าน – สำหรับการผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตแบตแตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งสิทธิประโยชน์ด้านภาษีสรรพสามิตจาก 8% ลดเหลือ 1% หากเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ขนาดต่ำกว่า 8 GWh จะได้รับเงินสนับสนุนระหว่าง 400-600 บาท/kWh หากเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ขนาดสูงกว่า 8 GWh จะได้รับเงินสนับสนุนระหว่าง 600-800 บาท/kWh
ตลท.ลดหน่วยซื้อขายหุ้น DELTA เหลือขั้นต่ำ 50 หุ้น จาก 100 หุ้น มีผล 7 ก.พ. - จากเดิมหน่วยละ 100 หุ้น เป็น 50 หุ้น มีผลตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ.เป็นต้นไป เนื่องจากหลักทรัพย์มีราคาปิดตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป เป็นระยะเวลา 6 เดือนติดต่อกัน
PF-จ๊อดแฟร์ ปัดฝุ่นที่ดิน จัสโก้ รัชดา สู่มิกซ์ยูส 7 พันลบ.เปิดปี 67 – PF ได้ลงทุนพัฒนาโครงการแบบมิกซ์ยูสบนพื้นที่ 13 ไร่ของบริษัท ริมถนนรัชดาภิเษก ประกอบด้วยอาคารสำนักงาน พร้อมพื้นที่รีเทลภายในอาคารและด้านหน้าอาคาร ซึ่งได้ "จ๊อดแฟร์" เข้ามาร่วมมือในการบริหารพื้นที่รีเทลทั้งหมด ดำเนินการโดย บมจ.วีรีเทล ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มที่ดำเนินธุรกิจพื้นที่เชิงพาณิชย์
ประเด็นติดตาม: 3 ก.พ. – Nonfarm Payrolls, ISM Non-Manufacturing PMI / 6 ก.พ. – TH CPI, EU Retail Sales / 14 ก.พ. – US CPI / 15 ก.พ. – EU Core Retail Sales, US Retail Sales
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)