Investment Strategy - เศรษฐกิจไทยต้นปี 2023 ฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย
รายงานภาวะเศรษฐกิจรายเดือนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยดีขึ้นในบางด้าน อย่างเช่น การผลิต การลงทุนภาคเอกชน และการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค สอดคล้องกับรายงาน Markit PMI ของประเทศไทยที่เผยแพร่ออกมาเมื่อตอนต้นเดือน
จุดที่น่าสังเกตคือเศรษฐกิจไทยยังคงเป็นไปตามแนวโน้มข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากสหรัฐ ยุโรป และจีน แต่อย่างไรก็ตาม เรามองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังไม่ปลอดโปร่งเพราะนโยบายการเงินทั่วโลกน่าจะยังค่อนไปทางเข้มงวดมากขึ้นอยู่ นอกจากนี้ ดัชนีชี้นำการค้าต่างประเทศทุกตัวยังคงดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในข้อมูลสำคัญจากรายงานภาวะเศรษฐกิจเดือนนี้คือรายได้ภาคบริการที่ไม่แข็งแกร่งพอที่จะรักษาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศเอาไว้ได้ ซึ่งจะเพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงิน และกระแสเงินทุน
ดีขึ้นเล็กน้อยในเดือนมกราคม
กิจกรรมทางฝั่งอุปทาน (วัดจาก MPI) ขยับขึ้นเล็กน้อย 0.8% mom ทำให้หดตัวลดลงที่ -4.4% yoy จากที่หดตัวถึง -8.5% ในเดือนธันวาคม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาวะของการส่งออกดีขึ้นเล็กน้อย โดยหดตัวลดลงเหลือเพียง -3.4% yoy จาก -12.9% ในเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของรายได้ในภาคบริการยังไม่มากพอที่จะชดเชยการขาดดุลการค้า (US$2.7 พันล้าน) ได้ ทำให้ประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด US$2 พันล้าน ในขณะเดียวกัน การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคแข็งแกร่งมากขึ้นเพิ่มขึ้นถึง 4.1% yoy (จาก 2.6%) เนื่องจากการบริโภคสินค้าคงทนเพิ่มขึ้น 9% ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากยอดขายรถยนต์ สอดคล้องกับกิจกรรมการผลิตที่แข็งแกร่งของกลุ่มยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นถึง 29.4% yoy ในทำนองเดียวกัน การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 1.8% mom และหดตัวน้อยลงเหลือเพียง -1.5% yoy จาก -3.2% ในเดือนธันวาคม ทั้งนี้เราคิดว่าจุดที่แข็งแกร่งที่สุดของไทยยังคงอยู่ที่ภาคบริการซึ่งยังคงเพิ่มขึ้นอีก 13.8% yoy
ทั้งสภาวะเศรษฐกิจ และเสถียรภาพกำลังแข็งแรงมากขึ้น
อัตราการเติบโตที่มีเสถียรภาพ และเงินเฟ้อที่ลดลงเป็นสัญญาณดีต่อสภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ถึงแม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยจะอยู่ที่เป็นประมาณ 5% แต่ก็ลดลงมาจากที่เคยสูงถึง 7.3% ใน 3Q22 เนื่องจากราคาพลังงานลดลงในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา และข้อจำกัดในสายโซ่อุปทานคลี่คลายลงไป ในขณะเดียวกัน ตลาดการจ้างงานยังคงแข็งแกร่งมากขึ้นโดยมีจำนวนแรงงานเข้าสู่ระบบประกันสังคมเพิ่มขึ้น และเข้าใกล้ระดับก่อน COVID ระบาดแล้ว ดังนั้น เราจึงพบว่าสภาวะของทั้งผู้บริโภค และธุรกิจแข็งแกร่งขึ้นทั้งคู่ตามดัชนีความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง