ความกังวลภาคธนาคารโลกมีแนวโน้มปรับลดลง ภายในเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง
ความเสี่ยงระบบธนาคารลดลงหลัง UBS เข้าซื้อกิจการ Credit Suisse ที่วงเงิน 3.23 พันล้านดอลลลาร์สหรัฐฯ ซึ่ง ณ ราคาดังกล่าวคืออัตราแลกหุ้น 1 UBS: 22.48 CS หรือคิดเป็นราคา 0.76 ฟรังสวิสต่อหุ้น
การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยสร้างความมั่นใจว่าปัญหาของ CS ที่เป็นหนึ่งใน 30 ธนาคารสำคัญที่เชื่อมโยงกับระบบธนาคารโลกจะไม่เกิดปัญหาที่ลุกลามต่อภาคธนาคารซึ่งเป็นบวก อย่างไรก็ตามราคาซื้อดังกล่าวต่ำกว่ามูลค่าตลาดของ CS ในช่วงปิดการซื้อขายวันศุกร์ที่ 7.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กว่าครึ่ง อาจส่งผลลบต่อภาพการลงทุนระยะสั้น แต่ถือว่าเป็นบวกกับเสถียรภาพของระบบการเงินและสินทรัพย์เสี่ยง
ค่าเงินสหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนลง หลัง 6 ธนาคารโลกร่วมเพิ่มสภาพคล่องเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ธนาคารกลางสำคัญของโลกประกอบไปด้วย ธนาคารกลางแคนาดา ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางญี่ปุ่น ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางสวิสเซอร์แลนด์ ออกแถลงการณ์ร่วมกันในการร่วมกันเพิ่มสภาพคล่องในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าสู่ระบบการเงินโลกเริ่มวันที่ 20 มี.ค.-30 เม.ย. แนวโน้มความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในระยะสั้นมีโอกาสพุ่งสูงขึ้นจากความกังวลภาคธนาคารโลก อย่างไรก็ตามการเพิ่มสภาพคล่องเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มช่วยจำกัดผลกระทบของปัญหา และช่วยกดให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลง ซึ่งจะเป็นบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยรวม
วันนี้คาดนายกฯ ประกาศยุบสภาฯ เดินหน้าสู่การเลือกตั้ง สำหรับกรอบเวลาเลือกตั้งที่เป็นไปได้ (45-60 วัน) คือวันอาทิตย์ที่ 7-14-21 พ.ค.66 แต่เมื่อรวมกับเวลาที่ต้องใช้เพื่อการจัดการต่างๆ มีแนวโน้มที่การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นระหว่าง 14 หรือ 21 พ.ค.66 การเดินหน้าสู่การเลือกตั้งเป็นปัจจัยบวกต่อความมั่นใจในการใช้จ่ายและการบริโภค ทั้งนี้สถิติในการเลือกตั้งย้อนหลัง 7 ครั้งเราพบ Pre-election rally เกิดขึ้น 3-6 เดือนก่อนการเลือกตั้ง โดยเฉพาะในช่วง 1 สัปดาห์สุดท้าย ขณะที่การปรับตัวขึ้นหลังเลือกตั้ง (Honeymoon period) ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 1 เดือน เรามองเลือกตั้งเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มบริโภคในประเทศ อาทิ ธนาคาร ค้าปลีก การเงิน
ภาพรวมกลยุทธ์: ผันผวนช่วงสั้น แต่ downside ของตลาดถูกจำกัดด้วยมาตรการต่างๆของธนาคารกลางทั่วโลก (ควบรวม CS และเพิ่มสภาพคล่องเงินดอลลาร์ฯ) ติดตามการส่งสัญญาณยืนยันไม่ลดดอกเบี้ยของเฟดในการประชุม 22 มี.ค.นี้ อาจหนุนการฟื้นตัวของหุ้น ทยอยสะสมเน้น selective buy กลุ่มที่น่าจะเห็นการฟื้นตัวได้ชัดเจนในปี 2566 และยังมีการถือครองที่ต่ำ (Underowned) ได้แก่ และหุ้นที่มีปัจจัยบวกรายตัว โดยหุ้นที่เรามองสามารถทยอยสะสม ได้แก่ MAJOR, CPALL, MAKRO, BJC, PTTGC, IRPC, TIDLOR, AMANAH, MILL, TSTH, KSL, ROJNA, SAMART, SDC เป็นต้น
หุ้นแนะนำ: ESSO*, AMATA*, TU*, CPALL
แนวรับ: 1,556 / แนวต้าน : 1,574 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 50% vs พอร์ตหุ้น 50%
ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ
Conference Board เผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจปรับตัวลง – ปรับตัวลง 0.3% ในเดือนก.พ.
SVB Financial Group บริษัทแม่ซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ประกาศล้มละลายแล้ว – บริษัทมีสภาพคล่อง 2.2 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์มูลค่า 2.09 แสนล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2565 และบริษัทจะใช้กระบวนการล้มละลายดังกล่าวในการประเมินทางเลือกด้านกลยุทธ์และการลงทุนอื่นๆ
ต่างชาติลงทุนในไทย 2 เดือนแรกปี 66 มูลค่าแตะ 2.67 หมื่นลบ. พุ่ง 305% - เม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 26,756 ล้านบาท มีการจ้างงานคนไทย 1,651 คน
Opportunity day - 20 มี.ค. – MSC, CIVIL, WINMED, XO, PROEN, BRR, TKT, MTI, READY, JDF, ATP30, CHASE / 21 มี.ค. – SUPER, EGCO, RPH, TSE, GLORY, TM, GVREIT / 22 มี.ค. – BCPG, AIMIRT, CHOW, BYD, AURA, BTG
ประเด็นติดตาม: 21 มี.ค. - Existing Home Sales / 22 มี.ค. - Fed Interest Rate Decision / 23 มี.ค. – New Home Sales, Building Permits / 24 มี.ค. - Core Durable Goods Orders
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)