กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ เข้าสู่ช่วงไซด์เวย์ ติดตามปัจจัยต่างประเทศต่อ

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ เข้าสู่ช่วงไซด์เวย์ ติดตามปัจจัยต่างประเทศต่อ

เข้าสู่โหมด sideways จากการที่นักลงทุนติดตามกระแสข่าวธนาคารในต่างประเทศ และเศรษฐกิจโลกในสัปดาห์ที่แล้ว ตลาดหุ้นไทยดีดตัวขึ้นมาแรงตามมุมมองรายสัปดาห์ของเรา

เพราะนักลงทุนลดความระมัดระวังเกี่ยวกับสถานการณ์ในภาคธนาคารของสหรัฐและ EU ลง หลังจากที่ธนาคารกลางของ
ประเทศหลัก ๆ รีบออกมาดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามออกไป นอกจากนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศยังมองเห็นว่าราคาหุ้นในตลาดมีความน่าลงทุนมากขึ้น และออกกองทุน trigger funds ของหุ้นไทยออกมาหลายกอง ในขณะเดียวกัน ตลาดยังคงผันผวนต่อเนื่องจากความไม่แน่นอนของนโยบายในส่วนของกระทรวงการคลังสหรัฐเกี่ยวกับการประกันเงินฝากของ FDIC นอกนี้เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ตลาดการเงินยังได้รับผลกระทบจากการที่หุ้น Deutsche Bank (DB) ตกหนักจากการที่ spread ของ CDS ถ่างกว้างขึ้น

 

สำหรับในสัปดาห์นี้ (27-31 มีนาคม) เราคิดว่าดัชนี SET น่าจะพักฐาน ซึ่งหลังจากที่ตลาดฟื้นตัวขึ้นมาในสัปดาห์ก่อน เรามองว่าตลาดน่าจะขึ้นได้จำกัดในระยะสั้น นอกจากนี้ ท่ามกลางกรณีของ DB เราคิดว่ากระแสข่าวเกี่ยวกับธนาคารในยุโรปจะมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นทั่วโลกมากขึ้น สำหรับในสหรัฐกระแสข่าวเกี่ยวกับภาคธนาคารอาจจะนิ่งขึ้น และนักลงทุนอาจจะจับตาดูตัวเลขเงินเฟ้อหลัก ๆ อย่างเช่น PCE เดือนกุมภาพันธ์ซึ่งจะประกาศออกมาในวันที่ 31 มีนาคม ส่วนทางด้านของปัจจัยภายในประเทศ นักลงทุนยังต้องติดตามผลการประชุม กนง. เพื่อตัดสินดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 29 มีนาคม และ ตัวเลขเศรษฐกิจเดือนกุมภาพันธ์ในวันที่ 31 มีนาคม ทั้งนี้ ในภาพรวม เรามองว่าน่าจะยังมีแรงซื้อจากในประเทศ แต่การที่ดัชนี SET จะขึ้นทะลุ 1,600 จุดไปได้ต้องมีกระแสข่าวเกี่ยวกับสภาวะของธนาคารในต่างประเทศที่ดีกว่าในปัจจุบัน

 

 

 

ติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับธนาคารในต่างประเทศ, PCE สหรัฐ และผลการประชุม กนง.

ปัจจัยภายนอก: นอกจากกระแสข่าวเกี่ยวกับธนาคารในต่างประเทศแล้ว นักลงทุนยังควรติดตามข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อของสหรัฐ ท่ามกลางกระแสความกังวลรอบใหม่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐ ซึ่งเมื่ออิงจาก GDP tracker model ของ Fed สาขา Atlanta พบว่า GDP ของสหรัฐใน 1Q66 อาจจะขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งที่ 3.2% QoQ SAAR แต่โมเมนตัมการเติบโตในไตรมาสต่อ ๆ ไป อาจจะแผ่วลง นอกจากนี้ ในวันศุกร์นี้ จะมีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ core PCE เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 4.7% YoY เท่ากับเมื่อเดือนมกราคม

ปัจจัยภายใน: สำหรับการตัดสินดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. นักเศรษฐศาสตร์ของเราคาดว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 25bps เป็น 1.75% นอกจากนี้ ยังคาดว่ากนง. จะคงประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP ปีนี้เอาไว้ที่ 3.7% เนื่องจากกระแสการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่งจะชดเชยความเสี่ยงด้าน downside ของการส่งออกไปได้บางส่วน และคาดว่า กนง. อาจจะปรับลดประมาณการเงินเฟ้อปี 2566 ลงจากปัจจุบันที่ 3.0% ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าสนใจคือ กนง. จะส่งสัญญาณเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอย่างไร ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

 

 

ซื้อสะสมในช่วงที่ตลาดยังผันผวนอย่างต่อเนื่อง

ดังที่เราระบุเอาไว้ก่อนหน้านี้ ว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะพักฐานไปสักระยะหนึ่ง ในช่วงที่มีกระแสข่าวความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาคธนาคารในต่างประเทศ และกระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นที่แผ่วลง ในขณะเดียวกัน เราแนะนำให้นักลงทุนยังคงแนะนำให้นักลงทุนซื้อสะสมหุ้นที่จะได้อานิสงส์จากสภาวะในปัจจุบัน (ดังจะกล่าวถึงต่อไป) เนื่องจากความคาดหวังด้านบวกของนักลงทุนในประเทศก่อนการเลือกตั้ง เรายังคงเป้าดัชนี SET ปี 2566 เอาไว้ที่ 1,730 จุด (PE เป้าหมายที่ 16.0x) และจะเน้นที่หุ้นในธี
มการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว, การจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค, การเลือกตั้ง และผลประกอบการพลิกฟื้น ได้แก่ AOT*, BDMS*, ERW, CPN*, AP*, LH*, WHA* และ PTG*