Daily Strategy : เน้นหุ้นรายตัว - 30 พฤษภาคม 2566
ตลาดหุ้นวานนี้ SET Index เพิ่มขึ้น 10 จุด (+0.66%) ปิดที่ระดับ 1,541 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.77 หมื่นล้านบาท ดัชนีปรับขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศตอบรับข่าวสหรัฐบรรลุข้อตกลงเพื่อเพิ่มเพดานหนี้
แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้
ประเมิน SET ปรับตัวขึ้นแนวต้าน 1,545 / 1,550 จุด ภาวะตลาดได้ sentiment เชิงบวกจากสหรัฐบรรลุข้อตกลงเพิ่มเพดานหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้ รวมถึงแรงซื้อหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวช่วยหนุนทิศทางดัชนี อย่างไรก็ตามความกังวล FED ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุม 13-14 มิ.ย. รวมถึง Fund flow ต่างชาติที่ขายต่อเนื่องจะกดดันให้ดัชนีสลับอ่อนตัว
** 31 พ.ค. ติดตามการประชุมกนง.คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.2% เป็น 2.00%
กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy
BBL KTB TTB KBANK SCB SAPPE ICHI แนวโน้มกำไร 2Q23 ยังคงเติบโต
AMATA WHA ROJNA NYT อานิสงส์ค่ายรถ EV ตั้งฐานพี่การผลิตในไทย
หุ้นที่ได้เข้าคำนวณ MSCI รอบใหม่ Global Standard ( MAKRO ) Global Small Cap ( JMT, TIDLOR, SAPPE, SISB,TU ) มีผล 31 พ.ค.
หุ้นแนะนำวันนี้
GFPT (ปิด 12.20 ซื้อ/เป้า สูงสุด IAA Consensus 15.90 บาท) ผลประกอบการทยอยฟื้นตัวตามราคาขายไก่ในประเทศที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 46-48 บาทต่อ ก.ก. หรือเพิ่มขึ้นราว 10% จากเฉลี่ย 40.75 บาทต่อ ก.ก.ใน 1Q23, ข่าวไข้หวัดนกในบราซิลช่วยเพิ่มยอดส่งออก ขณะที่ 3Q23 เข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจ
ITC (ปิด 23.40 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 26 บาท) ได้ประโยชน์ค่าเงินบาทอ่อนค่า (ส่งออก90%) ด้านกำไรสุทธิคาดผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วใน 1Q23 สะท้อนจากยอดส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยเดือน มี.ค. ที่เพิ่มขึ้น mom ครั้งแรกในรอบ 7 เดือน
บทวิเคราะห์วันนี้
AH (ปิด 34.75 ซื้อ/เป้า 41 บาท), BTS (ปิด 7.60 ซื้อ/เป้า 10 บาท)
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+/-) วันนี้จับตาส่งออกไทยเดือน เม.ย. ภาพรวมยังหดตัวแต่ให้โฟกัสเป็นรายกลุ่มสินค้า: เบื้องต้น Consensus คาดหดตัว 1.9 - 2%yoy หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 อย่างไรก็ตามอยากให้โฟกัสเป็นรายสินค้าเพื่อหาข้อมูลการฟื้นตัวของกลุ่มธุรกิจดังกล่าว อาทิ อาหารสัตว์ รวมถึงกลุ่มที่มีโมเมนตัมโตต่อเนื่อง อาทิ เครื่องดื่ม, เลนส์ และข้าวโพด เป็นต้น
(-) พรุ่งนี้ ประชุม กนง. คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% แต่จะเป็นการปรับขึ้นครั้งสุดท้าย: เราคาดว่า กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% จาก 1.75% เป็น 2% แม้อัตราเงินเฟ้อจะลดลงสู่กรอบเป้าหมายแล้วแต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อเพิ่มเครื่องมือรองรับหาก เศรษฐกิจมีการชะลอตัวอย่างไรก็ตามเราคาดว่าการปรับขึ้นครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อประเมินผลกระทบจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
(+/-) รายงานภาวะเศรษฐกิจ เดือน เม.ย. ภาพรวมยังเป็นบวกโดยเฉพาะการบริโภคและท่องเที่ยวฯ: แบงก์ชาติจะรายงานภาวะเศรษฐกิจ เดือน เม.ย.ในวันที่ 31 พ.ค. เช่นกัน โดยภาพรวมยังมีการขยายตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะในส่วนของภาคการบริโภคและการท่องเที่ยวจากการใช้จ่ายและเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขณะที่ภาคการผลิตมีลุ้นดีขึ้นตามดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน เม.ย. ที่พุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 60.4