Daily Strategy : เน้นหุ้นรายตัว - 7 มิถุนายน 2566

Daily Strategy : เน้นหุ้นรายตัว - 7 มิถุนายน 2566

ตลาดหุ้นวานนี้ SET Index ลดลง 2.66 จุด (-0.17%) ปิดที่ 1,529 จุด จากแรงขายหุ้นโรงไฟฟ้าและกลุ่มไฟแนนซ์ ซึ่งเป็น 2 กลุ่มที่มีปัจจัยลบกดดันเฉพาะตัว

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้

ประเมิน SET  แกว่งตัว 1,520 - 1,540 จุด ภาวะตลาดขาดปัจจัยใหม่กระตุ้นโดยคาดว่านักลงทุนจะชะลอการซื้อขายเพื่อติดตามผลการประชุม FOMC ในวันที่ 13-14 มิ.ย.ที่คาดว่าคงดอกเบี้ย 5.00-5.25% หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลงรวมถึง Fund flow ต่างชาติที่ขายต่อเนื่องจะกดดันทิศทางดัชนี จึงแนะนำ Selective buy ต่อไป

 

กลยุทธ์การลงทุน: Selvectie buy

BBL KTB TTB KBANK SCB SAPPE ICHI 2Q23

AMATA WHA ROJNA NYT EV

หุ้นเข้าคำนวณ FTSE รอบใหม่ Large Cap ( MAKRO TRUE )   Mid Cap ( BEM BTG DIF ITC SAPPE SISB SNNP SCAP ) มีผล 19 มิ.ย.

 

หุ้นแนะนำวันนี้

MTC   (40.50IAA Consensus 49อัตราเงินเฟ้อไทยเดือน พ.ค.ร่วงแรงทำสถิติต่ำสุดในรอบ 21 เดือน ลดแรงกดดันต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของแบงก์ชาติ ตอกย้ำมุมมองเราว่าแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้สิ้นสุดแล้วส่งผลบวกโดยตรงต่อกลุ่มไฟแนนซ์

BDMS  (28.75 37 ราคาหุ้นลดลงสะท้อนข่าวผู้ถือหุ้นใหญ่ขายหุ้นไปแล้ว ปัจจัยพื้นฐานรวมยังไม่เปลี่ยน กำไรสุทธิยังเติบโตดีใน 2Q23 และจะเร่งตัวขึ้นในช่วง 3Q23 เนื่องจากเข้าสู่ช่วง High Season ราคาหุ้นที่ลดลงจึงเป็นโอกาสเข้าซื้อ

 

 

 

 

 

บทวิเคราะห์วันนี้

BTS (ปิด 7.15 ซื้อ/เป้า 9.46), BAREIT (UNRATED)

 

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) อัตราเงินเฟ้อไทยเดือน พ.ค. ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือน: ก.พาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค. ลดลงสู่ระดับ 0.53% จาก 2.67% ในเดือน เม.ย. ต่ำกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ 1.7% เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงสู่ระดับ 1.55% จาก 1.66% ในเดือน เม.ย. ต่ำกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ 1.6%

(+/-) ตลาดหุ้น, ตลาดน้ำมันสหรัฐพักตัวเพื่อรอปัจจัยหนุนใหม่: ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 10.42 จุด (+0.03%) ปิดที่ระดับ 33,573 จุด, ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 41 เซนต์ (-0.6%) ปิดที่ 71.74 ดอลลาร์/บาร์เรล ตลาดไม่มีปัจจัยหนุนใหม่นักลงทุนรอดูตัวเลขเงินเฟ้อเดือน พ.ค. ของสหรัฐและ FED Meeting ในสัปดาห์หน้า

(+/-) วันนี้ติดตามจีนรายงานตัวเลข ส่งออก/นำเข้า เดือน พ.ค. ให้โฟกัสที่ยอดนำเข้า: เนื่องจากจีนเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของไทยหากจีนมียอดนำเข้าเพิ่มขึ้นจะส่งผลบวกโดยตรงต่อยอดส่งออกของบ้านเรา อย่างไรก็ตามผลสำรวจเบื้องต้นตลาดยังมองลบโดยคาดยอดส่งออกจีนเดือน พ.ค.จะหดตัว 0.4%yoy และคาดยอดนำเข้าหดตัว 8%yoy