KTB มาร์จิ้นใกล้ถึงจุดพีค (12 มิ.ย. 2566)

KTB มาร์จิ้นใกล้ถึงจุดพีค (12 มิ.ย. 2566)

ปรับเพิ่มประมาณการกำไร แต่ปรับลดคำแนะนำจาก ซื้อ เป็น ถือ

อัตราดอกเบี้ยนโยบายใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว เท่ากับว่ามาร์จิ้นธนาคารใกล้ถึงจุดสูงสุดด้วย

KTB ได้อานิสงส์จากดอกเบี้ยขาขึ้น เพราะกำไรของธนาคารอ่อนไหวอย่างมากกับ NIM ซึ่งหลังจากที่มีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมาตั้งแต่กลางปี 2565 NIM ของธนาคารขยับเพิ่มขึ้นมาแล้วถึง 44bps โดย NIM ที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10bps จะทำให้กำไรของธนาคารเพิ่มขึ้น 6.5% ทั้งนี้ NIM ที่เพิ่มขึ้น มาจากทั้งดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และโครงสร้างสินเชื่อที่เปลี่ยนแปลงไป จากการลดสัดส่วนสินเชื่อ yield ต่ำที่ปล่อยให้ภาครัฐจาก 20% ก่อนขึ้นดอกเบี้ย เหลือ 16% ในปัจจุบัน

 

ข้อดีและข้อเสียของธนาคารดิจิทัล

KTB ได้โมเมนตัมการเติบโตจากจำนวนผู้ใช้งาน และจำนวนธุรกรรมธนาคารดิจิทัล (digital banking) ที่เพิ่มขึ้น ตามจำนวนผู้ใช้แอพฯ เป๋าตัง ที่เพิ่มขึ้น (อยู่ที่ 40 ล้านราย) ซึ่งช่วยให้ธนาคารสามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานธนาคารดิจิทัลเป็น 16 ล้านราย (จาก <7 ล้านรายก่อน COVID ระบาด) ทั้งนี้ เนื่องจากแอพฯ เป๋าตัง ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทลูกของ KTB (Infinitus) ดังนั้น KTB จึงตั้งเป้าจะผนวกลูกค้าที่ใช้เป๋าตังเข้ามาเป็นฐานลูกค้าของ KTB โดยอยู่ภายใต้ KTB Next ทั้งนี้ จากประสบการณ์ของ KBANK และ SCB ซึ่งเพิ่มจำนวนธุรกรรมธนาคารดิจิทัลโดยหวังจะลดต้นทุนลง แต่ปรากฏว่ารายได้ลดลง แต่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานยังสูงอยู่ ส่วนในกรณีของ KTB เราเป็นห่วงว่าการเร่งถ่ายโอนลูกค้าไปใช้ธนาคารดิจิทัลจะทำให้อัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมชะลอตัวลง

คุณภาพสินทรัพย์อยู่ในเกณฑ์ดี

การเปลี่ยน focus จากสินเชื่อภาครัฐ ไปเป็นสินเชื่อธุรกิจในช่วงก่อน และระหว่างที่ COVID ระบาดทำให้คุณภาพสินทรัพย์ของ KTB อยู่ในเกณฑ์ดี และมีความเสี่ยง NPL ต่ำ ในขณะที่สัดส่วน NPL แข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งจะเปิดทางให้ธนาคารสามารถลด credit cost ลงได้ เนื่องจากสัดส่วน NPL coverage (ที่ 176% ใน 1Q66) สูงกว่าเป้าที่ 140-150% อย่างมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากธนาคารมองภาพเศรษฐกิจแบบระมัดระวัง ดังนั้น จึงเลือกที่จะคง credit cost เอาไว้ที่ระดับสูง

 

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2566/2567 ขึ้นอีก 5%6%

เนื่องจากกำไรของ KTB ใน 1Q66 คิดเป็น 29% ของประมาณการกำไรเต็มปีของเรา ดังนั้น เราจึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2566/2567 ขึ้นอีก 5%/7% เพื่อสะท้อนถึง 1) กำไรจาก FVTPL 2) การปรับเพิ่มสมมติฐาน NIM เป็น 2.92%/2.92% (จากเดิมที่ 2.8%/2.8%) 3) การปรับเพิ่มสมมติฐาน credit cost เป็น 120/100bps (จากเดิมที่ปีละ 100 bps) ทั้งนี้ เมื่อใช้ PBV ที่ 0.8x ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายปี 2566 ใหม่ที่ 22 บาท แต่เนื่องจากราคาหุ้นเหลืออัพไซด์ที่จำกัด เราจึงปรับลดคำแนะนำจาก ซื้อ เป็น ถือ

 

Risks

สถานะด้านการตลาด และแรงกดดันทางด้าน margin