วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector มีหลากหลายกลยุทธ์และทิศทางในแต่ละธนาคาร
สินเชื่อรวมขยับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.2% MoM แต่ลดลง 0.4% YTD โดยแนวโน้มของแต่ละธนาคารมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง ถึงแม้ว่าสินเชื่อจะโตต่ำในเดือนพฤษภาคม
แต่สินเชื่อของทั้ง SCB และ BBL ยังเร่งตัวขึ้นเป็น +1% MoM เท่ากัน ในขณะที่สินเชื่อของ KTB ของตัวอย่างช้า ๆ ส่วนอัตราการขยายตัวของสินเชื่อ KBANK ลดลงเล็กน้อยทั้ง MoM และ YTD ทั้งนี้ ธนาคารต่าง ๆ พบว่าสินเชื่อธุรกิจอ่อนแอลงและสินเชื่อใหม่เน้นไปที่สินเชื่อผู้บริโภครายย่อย ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวสอดคล้องกับอัตราการขยายตัวของสินเชื่อในระดับปานกลางของ TISCO และ KKP ที่ +0.5% MoM และทรงตัว YTD อยู่ที่ประมาณ 5%
สินเชื่อตลาดเงินอ่อนแอตามภาวะเศรษฐกิจ และการเมือง
การปล่อยกู้ในตลาดเงินลดลง 3% MoM (จาก +9% YTD) สะท้อนถึงอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงของสินเชื่อธุรกิจ และกิจกรรมการกู้ยืมภาครัฐ สอดคล้องกับช่วงของการเปลี่ยนรัฐบาล และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่อ่อนแอ โดยในกลุ่มธนาคาร SCB และ TTB ลดการปล่อยกู้ในตลาดเงินลงมากที่สุด
การลงทุนในตลาดตราสารหนี้มีทั้งเพิ่มและลด
ธนาคารต่างๆ ลดสถานะในตลาดตราสารหนี้ลง 1.8% MoM และ 3% YTD ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายธนาคาร พบว่า SCB ลดสถานะในตลาดตราสารหนี้ลงมากที่สุด รองลงมาคือ TTB และ BBL อย่างไรก็ตาม KTB เพิ่มสถานะขึ้นในเดือนนี้
เราชอบ BBL และ KBANK เพราะราคาหุ้นดูน่าสนใจมากขึ้น
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว และทิศทางเศรษฐกิจในประเทศยังมีความไม่แน่นอนในช่วงเปลี่ยนรัฐบาล เราจึงเห็นธนาคารต่าง ๆ ใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันไปในเดือนพฤษภาคม 2566 โดย SCB ลดสถานะการลงทุนในตลาดเงิน และตราสารหนี้ลง แล้วนำสภาพคล่องไปขยายสินเชื่อ ส่วน KTB นำสภาพคล่องส่วนเกินไปลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งสวนทางกับ BBL ในขณะเดียวกัน KBANK อยู่ในโหมดระมัดระวังทำให้อัตราการขยายตัวของสินเชื่อลดลง และไปขยายในส่วนของตลาดเงินและตราสารหนี้ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำเพิ่มขึ้น YTD ส่วนในแง่ของราคาหุ้น เราพบว่า BBL ยังเป็นธนาคารที่ราคาถูกที่สุด และ
มองว่าราคาหุ้นของ KBANK น่าสนใจมากขึ้น โดย PBV อยู่ที่ 0.6x และ PE อยู่ที่ 8x
Risks
NPLs เพิ่มขึ้น และกันสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุน FVTPL จากการลงทุน