กลยุทธ์การลงทุน : บล.กรุงศรี การส่งออกไทยที่แข็งแรงขึ้นมีอะไรมากกว่าที่เห็น
การรายงานตัวเลขการส่งออกไทยขยายตัว 2.1% yoy ในเดือนกันยายน เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน และดีเกินคาด โดยตัวเร่งสำคัญจากการส่งออกข้าวที่เพิ่มขึ้น 51%yoy หลังจากอินเดียมีการสั่งห้ามการส่งออก การส่งออกยังแข็งแกร่งสำหรับสินค้าผักและผลไม้ และเนื้อหมูแช่แข็ง (+40%)
อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมกลับชะลอตัวลง -0.3% จาก +2.5% ในเดือนสิงหาคม การส่งออกสินค้ายานยนต์ และส่วนประกอบ-0.8% (จาก +24% ในเดือนสิงหาคม) ส่วนการส่งออกสินค้าอิเล็คทรอนิคส์ชะลอลง 4.7% ขณะที่ภาคการนำเข้ายังคงอ่อนแอ -8.3% yoy จากการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วที่ -15.5% จากเดือนก่อนหน้าที่ -14.4% ทางด้านการนำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภค -4.2% แต่การนำเข้าสินค้าทุน +4.8%
Analysis
แม้ว่าการส่งออกของไทยดูเหมือนจะดีขึ้นตามข้อมูลที่รายงานจากไต้หวัน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ (ที่ไม่ใช่น้ำมัน) แต่รายละเอียดกลับมีแง่ดีน้อยลง เนื่องจากตัวเร่งคือความต้องการสินค้าเกษตรบางชนิด ในขณะเดียวกันการส่งออกสินค้าภาคอุตสาหกรรมยังคงอ่อนแอ แม้ว่าข้อมูลระหว่างประเทศจะเริ่มมีเสถียรภาพ แต่ไทยยังคงต้องใช้ระยะเวลาอีกสักระยะกว่าจะสะท้อนถึงการฟื้นตัวดังกล่าว ณ จุดนี้ ประเด็นในประเทศจากข้อมูลการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าอุปโภคบริโภค กำลังชี้ให้เห็นถึงการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มเติม นี่คือเหตุผลหลักว่าทำไมทิศทางของนโยบายการคลังจึงมีความสำคัญ
ต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินไทยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ความล่าช้าในการดำเนินนโยบายเพิ่มเติม (ในระยะสั้น) มีแต่จะเพิ่มความเสี่ยงด้านลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น นั่นอาจกระตุ้นให้เราปรับสมมติฐานการเติบโตของเรา