วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ระวังต่อความผันผวนครึ่งหลังเม.ย.-พ.ค. แต่จะเป็นโอกาสลงทุนที่ดี 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ระวังต่อความผันผวนครึ่งหลังเม.ย.-พ.ค. แต่จะเป็นโอกาสลงทุนที่ดี 

ปัจจัยอะไรบ้างที่สร้างความผันผวนให้กับตลาดช่วงเม.ย.-พ.ค. เรายังคงมุมมองระมัดระวังต่อตลาดช่วงครึ่งหลังเม.ย. ตามที่ได้สื่อสารกับนักลงทุนในช่วงต้นเม.ย.

โดยมีสาเหตุหลักมาจากแรงขายทำกำไรในตลาดหุ้นโลกหลังการปรับตัวขึ้นเนื่องจากเงินเฟ้อชะลอตัวลง (Disinflation rally) ที่ดำเนินมาเป็นเวลาเกือบ 6 เดือน (ปลาย ต.ค.66 – กลาง เม.ย.67) โดยมีปัจจัยสำคัญที่มา trigger และสร้างความกังวลเพิ่มเติมให้กับตลาด ได้แก่ 1) ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังแข็งแกร่ง 2) ความเห็นกรรมการเฟด 3 ท่าน ที่แสดงความเห็นว่าเฟดไม่ควรเร่งปรับลดดอกเบี้ย หลังเงินเฟ้อชะลอตัวลงช้ากว่าที่คาด ซึ่งปัจจัยข้างต้นทำให้นักลงทุนปรับมุมมอง (re-pricing) ต่อคาดการณ์ลดดอกเบี้ยของเฟด กระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ตอบรับการปรับลดดอกเบี้ยไปล่วงหน้าพอสมควร ขณะที่การคงดอกเบี้ยในระดับสูงจะเป็นความเสี่ยงต่อตลาดการกู้ยืมตรงภาคเอกชน (Private credit) เนื่องจากธุรกิจในกลุ่มนี้ (ถือว่าเป็นธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก) มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบดอกเบี้ยสูงกว่า
 

แม้คงมุมมองระมัดระวังต่อครึ่งหลังเม.ย.-พ.ค. แต่มองเป็นโอกาสลงทุนที่ดีรับการฟื้นตัวของโมเมนตัมเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง สำหรับ SET Index เรามองระยะสั้นมีความเสี่ยงที่จะผันผวนตามตลาดโลก ประกอบกับเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 2/67 ที่อาจเผชิญหลุมอากาศเนื่องจากการที่ยังไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ กระทบต่อผลประกอบการบจ. อย่างไรก็ตามเรามองการปรับลดลงในช่วงสองเดือนนี้จะเป็นโอกาสลงทุนที่ดี เนื่องจาก แรงส่งจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณคาดจะเห็นในช่วงไตรมาส 3/67 ขณะที่แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่าง Digital wallet จะมาในช่วงปลายปี อีกทั้ง เศรษฐกิจโลกปี 2568 คาดมีอัพไวด์จากทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางทั่วโลกที่น่าจะอยู่ในทิศทางปรับลดลง จะเป็นปัจจัยสำคัญหนุนการฟื้นตัวของสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงต่อไป 


 

ยังไม่รีบซื้อกลับหุ้นธนาคาร สำหรับมุมมองทางกลยุทธ์ หลังแนะนำทยอยลดน้ำหนัก/ขายทำกำไรกลุ่มธนาคาร โดยเฉพาะหุ้นที่ปรับขึ้นมามากอย่าง TTB, KTB และ SCB ไปในช่วงต้น เม.ย. เรายังมองไม่รีบซื้อกลับ และแนะนำผู้สนใจรอจังหวะสะสมช่วง พ.ค.

ภาพรวมกลยุทธ์ ภาพรวมยังเพิ่มความระวังต่อแรงทำกำไรและปัจจัยที่จะมาจากภายนอก โดยเฉพาะการโยกย้ายเงินไปยังตราสารหนี้ ที่จะสร้างความผันผวนในช่วง เม.ย.-พ.ค. ในมุมการเก็งกำไร การหลุด 1,360-1,380 จุด จะทำให้มี downside ในระดับ 1,320 จุด ระดับดังกล่าวเรามองเป็นโอกาสสะสม

หุ้นแนะนำ: BTG*, SCGP, ADVICE*, SORKON*

แนวรับ: 1,349 / แนวต้าน : 1,369 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%

ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ    

ผู้กำหนดนโยบายลั่น ECB ควรหั่นดอกเบี้ย เดือน 6 นี้ ECB François Villeroy de Galhau ระบุว่าธนาคารกลางยุโรปควรลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน เนื่องจากมั่นใจในลดลงของเงินเฟ้อ(Disinflation)ของยุโรปเป็นไปตามทางที่เหมาะสม (CNBC)

สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาด กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกอยู่ที่ระดับ 212,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 215,000 ราย (อินโฟเควสท์) 

บอนด์ยีลด์10ปี พุ่งทะลุ 4.6% หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ (อินโฟเควสท์)

 

กบน.ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ พยุงราคาดีเซล หลังมาตรการลดภาษีสรรพสามิตลิตรละ 1 บาทสิ้นสุด 19 เม.ย.67 (พีพีทีวี)

ลุ้น 2 ทุนจีนยักษ์ใหญ่ ตั้งฐานผลิตเซลล์แบตเตอรี่ EV ในไทย เฟสแรก 3หมื่นลบ. ภายในปีนี้คาดว่าผู้ผลิตรายใหญ่อย่างน้อย 2 รายจะมีความชัดเจนในการเข้ามาลงทุน (The Standard)

ปรับ 350 บาทต่อชิ้น! ฝรั่งเศสออกกฎหมายใหม่ล้มยักษ์ฟาสต์แฟชั่น ‘SHEIN’ เตรียมห้ามโฆษณา หวังฟื้นแบรนด์ท้องถิ่น (The Standard)

บิตคอยน์ดีดตัวขึ้น ขณะที่คาดว่าปรากฏการณ์ Bitcoin Halving จะเกิดขึ้นในวันที่ 19 เม.ย.  Netflix (NFLX) กำไรไตรมาสแรกดีกว่าคาดในทุกด้าน จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นกว่า 9 ล้านคน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มรายได้ในไตรมาสสองที่อ่อนแอ ส่งผลให้หุ้นปรับตัวลดลง 

Tesla (TSLA) เลย์ออฟพนักงาน 285 คน ในนิวยอร์ก หลังยอดขายรถ EV ร่วง (ฐานเศรษฐกิจ)

หุ้น XD วันนี้ - JPARK(0.0375), KWC(10.50), PSL(0.05)

 

ประเด็นติดตาม: 19 เม.ย. JP CPI (Mar) / 22 เม.ย. CN Loan Prime Rate / 24 เม.ย. US GDP Growth Rate (Q1)

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)