วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector From stable to recovery
กำไรสุทธิรวมใน 1Q67 เพิ่มขึ้น 24% QoQ และ 6% YoY ดีกว่าประมาณการ 2% โดยเฉพาะ KBANK และ KTB ซึ่งผลประกอบการที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง QoQ มาจากฐานกำไรที่ต่ำของ BBL, KTB และ KBANK
ในขณะที่กำไรที่เพิ่มขึ้น YoY สะท้อนถึง NIM ที่สูงขึ้น ทั้งนี้ นอกจากกำไรจะฟื้นตัวขึ้นแล้วธนาคารทุกแห่งยังคงอยู่ในโหมดระมัดระวังโดยไม่ขยายสินเชื่อกลุ่มเสี่ยง และ เน้นไปที่สินเชื่อกลุ่มที่ความเสี่ยงต่ำ และ ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งได้แก่ สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และ สินเชื่อภาครัฐ
NIM ลดลงเร็วกว่าที่คาด โดย NIM ของธนาคารเล็กลดลงอย่างมาก
แรงกดดันทางด้านต้นทุนทางการเงินฉุดให้ NIM ของ TISCO KKP ลดลงมากกว่า 20bps QoQ ในขณะที่ NIM ของ BBL ลดลง 20bps QoQ จากทั้งแรงกดดันทางด้านของ yield และ ต้นทุนทางการเงิน ส่วน NIM ของ SCB, KTB และ TTB ลดลง 15bps ในขณะที่ของ KBANK ลดลงไม่ถึง 10bps ทั้งนี้ NIM ที่ลดลงทำให้ NII ลดลงประมาณ 4% และ 5% ในส่วนของ BBL, TISCO และ KKP
รายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคารใหญ่เพิ่มขึ้น แต่ของธนาคารขนาดกลาง-เล็กมีแนวโน้มลดลง
รายได้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมการธนาคารหลักของธนาคารใหญ่ทุกแห่งเพิ่มขึ้น นำโดยค่าธรรมเนียมประกัน (bancassurance) และบริหารความมั่งคั่ง (wealth management) อย่างไรก็ตาม รายได้ของธนาคารขนาดกลาง-เล็กทุกแห่ง (TTB, TISCO, KKP) ยังลดลงเพราะรายได้ค่าธรรมเนียมจากตลาดทุนยังซบเซาซึ่งเมื่อแยกเป็นรายธนาคาร พบว่ารายได้ค่าธรรมเนียมของ KBANK และ SCB ฟื้นตัวขึ้น 10% QoQ เท่ากัน ในขณะที่ของ BBL และ KTB เพิ่มขึ้น 3% QoQ เท่ากัน
แนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ปน ๆ กัน โดย NPL ของ BBL และ KKP เพิ่มขึ้น แต่ของธนาคารอื่นลดลง
NPL จาก NPL เฉพาะรายของ BBL และ KKP เพิ่มขึ้น (ของ BBL มาจาก ITD และของ KKP มาจากลูกหนี้รายใหญ่รายหนึ่ง) ในขณะเดียวกัน NPL ของธนาคารอื่น ๆ อยู่ในโหมดชะลอตัวลงเพราะยังคงใช้แนวทางปล่อยกู้สินเชื่อใหม่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงอย่างระมัดระวังต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2566 ดังนั้น แรงกดดันทางด้านคชจ.สำรองฯ (Credit cost) จึงลดลง โดยเฉพาะในส่วนของ KBANK และ KTB อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้าน NPL ของ TTB และ TISCO ยังคงสูงอยู่
Risks
NPLs เพิ่มขึ้น และ กันสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง.