วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี SCGP 2H24F แนวโน้ม demand บรรจุภัณฑ์ฟื้นต่อเนื่อง

วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี SCGP 2H24F แนวโน้ม demand บรรจุภัณฑ์ฟื้นต่อเนื่อง

มอง slightly positive ต่อแนวโน้มการฟื้นตัวที่เร่งขึ้นใน 2H24F ของ SCGP หนุนจากทั้งบรรจุภัณฑ์กระดาษและพลาสติก รวมถึงธุรกิจเยื่อ (Fibrous) ตามความต้องการใช้ที่ฟื้นตัวของภูมิภาคอาเซียน และจีน

คาดหนุนปริมาณขาย, economies of scale และการปรับราคาขายดีขึ้น y-y ได้ต่อเนื่อง มองช่วง 2Q24F ที่กำไรชะลอ q-q จากมีปิดซ่อมโรง Fibrous และเป็นช่วงที่ตลาดไทยและอินโดฯมีหยุดยาวส่งให้การใช้บรรจุภัณฑ์ชะลอชั่วคราว จะเป็นโอกาสซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัวใน 2H24-2025F ที่ปริมาณขายและอัตรากำไรอยู่ในขาฟื้นตัว และอาจมี upside จาก M&P คงคำแนะนำ Trading Buy ที่ TP24F = 38.50 บาท/หุ้น

Demand ฟื้น หนุนทั้งปริมาณขาย, economies of scale และการปรับเพิ่มราคา

- แนวโน้มความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคฟื้นตัวเร่งขึ้นใน 2H24 i) ความต้องการใช้ในประเทศ (43% ของรายได้) ที่ฟื้นตัวตามกำลังซื้อจากการท่องเที่ยว และการส่งออกฟื้นตัว ii) จีน (6%) มีทิศทางฟื้นตัวแม้กระทั่งอยู่ใน low season โดยการใช้กลับไประดับใกล้เคียงปกติ หลังเศรษฐกิจในจีนฟื้นตัว คาด 3Q24 ความต้องการใช้เร่งขึ้นหลังเข้าสู่ high season iii) เวียดนาม (15%) การส่งออกฟื้นตัวจากความต้องการใช้ใน U.S. และ อินโดฯ (15%) กำลังซื้อสินค้าคงทนฟื้นตามเศรษฐกิจในภูมิภาค หลังการส่งออกทำได้ดีขึ้นโดยเฉพาะการส่งออกไปจีน และ iv) EU (5%) ความต้องการใช้สินค้าคงทนฟื้นตัว ต้นทุนพลังงานที่ลดลงหนุนกำลังซื้อ

- ฝั่ง integrated packaging/ IPB (75% ของรายได้) อัตรากำไรมีทิศทางฟื้นตัวใน 2024 ได้ economies of scale ที่ดีขึ้น ตามปริมาณขายที่ฟื้นตัวทุกสาย โดยเฉพาะ Packaging paper (39% ของรายได้) u-rate ฟื้นขึ้นมาเหนือ 90% Vs. 2023 ที่ 83% ประกอบกับปรับราคาขายเพิ่มได้ จากสภาวะการแข่งขันที่ลดลง ซึ่งทั้งหมดเพียงพอชดเชยต้นทุนกระดาษที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ต้นทุนกระดาษที่เพิ่มขึ้นมาจากความต้องการใช้ที่ฟื้นตัว ซึ่งการปรับราคาขายบรรจุภัณฑ์ได้ช้า (supply จีนเพิ่มขึ้น) เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว

 

 

- คาดหวังการทำกำไรของสายผลิตในอินโดฯ (15% ของรายได้) ฟื้นตัวและมั่นคงขึ้นในระยะยาว มองสภาวะการแข่งขันที่ลดลงส่งให้ปรับราคาขายขึ้นได้ต่อเนื่อง คาดหวัง 2H24 กลับมาเริ่มทำกำไรที่ระดับ EBITDA (1Q24 -31 ลบ.) ระยะยาวตั้งเป้าขยายไปโรงกล่องมากขึ้น (Fiber packaing) ผ่านทั้งการ partner กับลูกค้า และการ M&P มองลดความผันผวนของราคาขายได้ ทั้งนี้บริษัทมองการเข้าซื้อ Fajar เพิ่มอีก 44.48% ราว 2.3 หมื่นลบ. ยังเป็นไปตามแผนที่จะชำระเงินเสร็จสิ้นภายใน 3Q24

- ฝั่ง Fibrous business (19% ของรายได้) supply ตึงตัวหนุนราคาขายและอัตรากำไร คงมุมมองความต้องการใช้อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเส้นใยฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยราคา dissolving pulp (2QTD ณ 15/6/24) +4% q-q ส่วนการปิดซ่อมเสร็จสิ้นไปในช่วง เม.ย. 24 ตามแผน

ความเห็นและคำแนะนำ 

- คงมุมมองกำไรปกติ 2Q24F ราว 1,538 ลบ. (+7% y-y, -9% q-q) โต y-y ตามการขาย IPB ที่ฟื้นตัวทั้งไทย, เวียดนาม, อินโดฯ และจีน รวมถึงการปรับเพิ่มราคาขายและต้นทุนพลังงานที่ลดลงส่งให้อัตรากำไรขั้นต้นฟื้นตัว ส่วนการลด q-q ไม่ได้น่ากังวลนัก เพราะ เป็นช่วงวันหยุดเยอะของตลาดไทย (สงกรานต์) และอินโดฯ (ฮารีรายอ) รวมถึง Fibrous chain มีปิดซ่อม รวมถึงต้นทุนกระดาษและค่าขนส่งเพิ่มขึ้น ส่งให้อัตรากำไรลดลง ซึ่งเราคาดปริมาณขายจะกลับมาฟื้นตัวใน 3Q24F จาก demand จีนที่เร่งตัว และอัตรากำไรฟื้นตามการปรับราคาขายได้ต่อเนื่อง และไม่มีค่าใช้จ่ายปิดซ่อมมาฉุด

 

- คงคำแนะนำ Trading Buy ที่ TP24F = 38.5 บาท ระยะสั้นอาจขาดแรงหนุนจากแนวโน้มกำไร 2Q24F ที่ชะลอ q-q แต่ภาพรวม 1H24F จะฟื้นทั้ง y-y, h-h สะท้อนภาพ bottom out มอง 2H24F ความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์มีโอกาสฟื้นตัวเร่งขึ้น ส่งให้ประมาณการกำไรปกติ 2024F (6,060 ลบ.+18% y-y) ของเราอาจมี upside ได้ราว 6% มองสามารถซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัวดังกล่าวได้

ความเสี่ยงสำคัญ เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากสงครามฯ ส่งให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์แย่กว่าคาด, การฟื้นตัวช้ากว่าคาดของ fajar และ ผลกระทบจาก M&P

วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี SCGP 2H24F แนวโน้ม demand บรรจุภัณฑ์ฟื้นต่อเนื่อง

วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี SCGP 2H24F แนวโน้ม demand บรรจุภัณฑ์ฟื้นต่อเนื่อง วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี SCGP 2H24F แนวโน้ม demand บรรจุภัณฑ์ฟื้นต่อเนื่อง วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี SCGP 2H24F แนวโน้ม demand บรรจุภัณฑ์ฟื้นต่อเนื่อง