วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ บรรยากาศเก็งกำไรเป็นบวก
บรรยากาศลงทุนโดยรวมยังคงเป็นบวก ดัชนี S&P ปรับขึ้น +0.97% ปรับขึ้นต่อเนื่องกันเป็นวันที่ 8 ภาพรวมบรรยากาศลงทุนยังคงเป็นบวก จากการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ยังคงเติบโตดี และมีโอกาสเกิดการถดถอยที่ต่ำลง
ขณะที่ใกล้เข้าสู่วัฏจักรการปรับลดดอกเบี้ยที่จะบวกกับทั้งเศรษฐกิจและมูลค่าสินทรัพย์เสี่ยง โดยมีประเด็นติดตามที่สำคัญในช่วงสุดสัปดาห์ ได้แก่ 1) การแถลงต่อรัฐสภาญี่ปุ่นของ Kazuo Ueda ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และ 2) การแสดงความเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจและนโยบายการเงินของ Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ
GDP ไตรมาส 2/67 ของไทยที่ออกมาดี เป็นแรงส่งต่อกลุ่มธนาคาร สภาพัฒน์รายงาน GDP ไตรมาส 2/67 ที่ +2.3% (ดีกว่าคาดการณ์ที่ +2.2% และเร่งตัวขึ้นจากไตรมาส 1/67 ที่ +1.5%) ทั้งนี้ปัจจัยผลักดันการเติบโตหลักมาจากการท่องเที่ยว (+7.8%), การขนส่ง (+8.1%) และการค้า (+3.0%) ขณะที่ก่อสร้าง (-5.5%) และภาคเกษตร (-1.1%) ยังชะลอตัว เรามองบวกต่อการเปิดเผยประมาณการเศรษฐกิจรอบนี้ เนื่องจาก 1) แม้คงคาดกาณ์ GDP ที่ 2.5% แต่ปรับช่วงคาดการณ์เป็น 2.3-2.8% (จาก 2.0-3.0%) แสดงถึงความเสี่ยงด้านต่ำที่ลดลง 2) ดุลบัญชีเดินสะพัดปีนี้ คาดอยู่ที่ +2.3 % ของ GDP (จากประมาณการเดิมที่ +1.2% และดีกว่าปีก่อนที่ +1.3%) เป็นปัจจัยบวกต่อการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนแปละการไหลเข้าของเงินทุน // ทั้งนี้ GDP ที่ดีกว่าคาด เป็นปัจจัยบวกต่อการปล่อยสินเชื่อของกลุ่มธนาคาร ซึ่งจะมีการประกาศงบฉบับตรวจสอบและจ่ายเงินปันผลในช่วงปลาย ส.ค.
วัฏจักรของกำไรขาลงที่กำลังสิ้นสุด และน่าจะกลับเป็นกำไรขาขึ้น จะเป็น Catalyst สำคัญของภาพการลงทุนในช่วงต่อไป สัดส่วนบริษัทจดทะเบียนที่รายงานกำไรไตรมาส 2/67 เพิ่มขึ้น YoY เริ่มกลับมามีสัดส่วนมากกว่าที่รายงานกำไรลดลง YoY (37.9% vs 37.1%) เป็นครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาส ซึ่งเป็นสัญญาณบวกว่ากำไรของบจ.ไทย อาจเริ่มสิ้นสุดวัฏจักรของการปรับประมาณการกำไรลง (downgraded cycle) และอาจเข้าสู่การปรับประมาณการกำไรขาขึ้น (upgraded cycle) ในระยะถัดไป
ภาพรวมกลยุทธ์ GDP ที่ดีกว่าคาด และแรงส่งจากเสถียรภาพการเมือง เป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มการเงิน ทั้งธนาคารและไฟแนนซ์ (เราชอบ KBANK, BBL, MTC) เรายังคาดกลุ่มคล้ายพันธบัตร และได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง อาทิ ไฟฟ้า รีทส์ แกร่งกว่าตลาด และใช้จังหวะผันผวนสะสมหุ้นที่โมเมนตัมกำไรยังเป็นขาขึ้น อาทิ สื่อสาร, อาหาร และค้าปลีก // กลุ่มท่องเที่ยวน่าสนใจจากการเข้าสู่ high season เราชอบ AOT, ERW, SPA
แนวรับ: 1,308 / แนวต้าน : 1,332 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• CPN* (57) : ผลประกอบการไตรมาส 2/67 แข็งแกร่ง ตามการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการเปิดโครงการใหม่ ตัดขาดทุน 52 บาท
• KBANK* (141) : มาตรการดูแลลูกหนี้ และช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กและกลุ่มเปราะบาง คาดเป็นบวกต่อลูกค้ากลุ่ม SME ตัดขาดทุน 129 บาท
• EGCO* (116) : ราคาหุ้นตอบรับผลประกอบการที่อ่อนแอจากการตั้งสำรองโครงการผลิตไฟฟ้าที่ต่างประเทศไปแล้ว ขณะที่ปัจจุบัน ซื้อขายด้วย PER 8x, PBV 0.46x และให้ปันผล 6.72% ตัดขาดทุน 93 บาท
• SYNEX* (15) : ผลประกอบการไตรมาส 2/67 ออกมาแข็งแกร่ง และยังมีโมเมนตัมการเติบโตที่ดีจากการกลับมาใช้จ่ายภาครัฐ และ AI Transformation ตัดขาดทุน 12.80 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- สหรัฐ-จีน ลงนามฯ ความร่วมมือด้านเสถียรภาพทางการเงิน รับมือ “Financial Stress”
- สภาพัฒน์ฯ มองไทยมี “นายกฯ คนใหม่” ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้เศรษฐกิจ
- จีดีพีไทย ไตรมาส 2/67 โต 2.3% รวมครึ่งปีแรกขยายตัว 1.9%
- อุ๊งอิ๊งเร่งคุยพรรคร่วมตั้ง ครม. ให้จบสัปดาห์นี้ พรรคร่วมรัฐบาลส่งชื่อครม.ใหม่วันนี้
- ราคาน้ำมัน WTI ไหลไม่หยุด ล่าสุดดิ่งกว่า 2% หลุด 75 ดอลลาร์ AOT กำไร 1.49 หมื่นล้านบาท พุ่ง 178% กวาดรายได้ 9 เดือนแรก แตะ 5 หมื่นล้านบาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- สหรัฐ-จีน ลงนามฯ ความร่วมมือด้านเสถียรภาพทางการเงิน รับมือ “Financial Stress”
- สภาพัฒน์ฯ มองไทยมี “นายกฯ คนใหม่” ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้เศรษฐกิจ
- จีดีพีไทย ไตรมาส 2/67 โต 2.3% รวมครึ่งปีแรกขยายตัว 1.9%
- อุ๊งอิ๊งเร่งคุยพรรคร่วมตั้ง ครม. ให้จบสัปดาห์นี้ พรรคร่วมรัฐบาลส่งชื่อครม.ใหม่วันนี้
- ราคาน้ำมัน WTI ไหลไม่หยุด ล่าสุดดิ่งกว่า 2% หลุด 75 ดอลลาร์ AOT กำไร 1.49 หมื่นล้านบาท พุ่ง 178% กวาดรายได้ 9 เดือนแรก แตะ 5 หมื่นล้านบาท
- CCET เติบโตอย่างแข็งแกร่ง กำไรครึ่งปีแรกทะลุ 1,277 ลบ. สูงกว่ากำไรทั้งปีของปี 66 มั่นใจครึ่งปีหลังผลงานโตดีต่อเนื่อง
- STEC ตั้งโฮลดิ้ง “สเตคอน กรุ๊ป” ดีเดย์ทำเทนเดอร์ฯ แลกหุ้น 19 ส.ค. – 21 ต.ค.นี้
- FINANCE คงน้ำหนักที่ OVERWEIGHT
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
21 ส.ค. – JP Export (Jul)