เวสต์เทกซัส 69.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 72.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (5 ก.ย. 67) ราคาน้ำมันดิบปรับลดหลังเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ อ่อนแอ ท่ามกลาง OPEC+ คาดชะลอแผนการเพิ่มกำลังการผลิต
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา
(-) ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงมากกว่ากว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ หลังตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีนเดือน ส.ค. 67 ลดลงสู่ระดับ 49.1 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.4 สวนทางกับผลสำรวจ Reuters ที่คาดว่าสูงขึ้นแตะที่ระดับ 49.5 โดยเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่อง 6 เดือน บ่งชี้ถึงภาพรวมเศรษฐกิจ และความต้องการใช้น้ำมันดิบจีนที่ยังคงอ่อนแออย่างต่อเนื่อง
(-) ขณะที่ ISM เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ เดือน ส.ค. 67 ที่ระดับ 47.2 ซึ่งยังคงอยู่ในสภาวะหดตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 แม้ว่าฟื้นตัวดีขึ้นจากเดือน ก.ค. 67 ที่ระดับ 46.8 ก็ตาม สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจ และความต้องการใช้น้ำมันดิบสหรัฐฯ ที่ยังคงชะลอตัว
(-) ตลาดน้ำมันยังคงได้รับแรงกดดันจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในลิเบียที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบลิเบียคาดกลับมาผลิตและส่งออกได้ตามปกติ
(+) OPEC+ คาดชะลอแผนการปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบล่าสุดที่คาดว่าจะเพิ่ม 0.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน ต.ค. 67 หลังจากราคาน้ำมันดิบลดลงสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 9 เดือน อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมของกลุ่มจะยังคงลดกำลังการผลิตไปจนถึงช่วงสิ้นปี 2568
ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันเบนซินปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังความต้องการใช้น้ำมันเบนซินน้อยลงจากสิ้นสุดฤดูกาลขับขี่สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม อุปสงค์น้ำมันเบนซินปรับเพิ่มจากช่วงวันหยุดแรงงานสหรัฐฯ (3 ก.ย. 67) และเทศกาลวันหยุดประจำชาติเวียดนามในช่วงต้นสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดีเซล
ราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังโรงกลั่นอินเดียจะมากขึ้น 65-70 กิโลตันในเดือน ต.ค. 67 อย่างไรก็ตาม อุปสงค์น้ำมันดีเซลคาดปรับเพิ่มจากช่วงฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง นอกจากนี้ ความต้องการใช้น้ำมันดีเซลอินเดียคาดเพิ่มขึ้นหลังสิ้นสุดฤดูมรสุม