วิเคราะห์หุ้น : บล.กรุงศรี Electronics Sector สะดุดระยะสั้นใน 3Q24
การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 3Q24 เป็นปัจจัยกดดันแนวโน้มกำไรและราคาหุ้นของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ เราแนะนำให้นักลงทุนรอจนกว่าค่าเงินบาทจะเริ่มสร้างฐานได้ก่อน
โดย DELTA เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของเราในขณะนี้ เนื่องจากราคาหุ้นของบริษัทไม่ผันผวนตามการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาท และคาดว่ากำไรจะยังคงแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 3Q24
ค่าเงินบาทแข็งค่ากดดันกำไรและราคาหุ้นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์...
การแข็งค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็วใน 3Q24 เป็นแรงกดดันหลักต่อรายได้ อัตรากำไรขั้นต้น และกำไรหลักของบริษัทในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ หากค่าเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ต่ำกว่า 34 บาทตลอดช่วงที่เหลือของไตรมาสนี้ จะทำให้ค่าเฉลี่ยของ อัตราแลกเปลี่ยนลดลงเป็น 34.8 บาท จาก 36.7 บาทใน 2Q24 (-5.2% qoq) ดังนั้น ขณะที่ตลาดคาดว่ารายได้ (สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ) ของบริษัทในกลุ่ม จะเติบโตเพียงเล็กน้อยใน 3Q24 รายได้ในรูปแบบเงินบาทจึงมีโอกาสทำได้เพียงทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทจะกดดันอัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้เรามองว่ากำไรใน 3Q24 จะไม่น่าตื่นเต้น มีแนวโน้มลดลง qoq ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อประมาณการกำไรทั้งปีของเราได้
... รวมไปถึงแนวโน้มของราคาหุ้น
การแข็งค่าของเงินบาทไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อราคาหุ้นอีกด้วย โดยในช่วง 1H24 เงินบาทมีความสัมพันธ์เชิงลบ (Correlation) ที่ -0.6 กับราคาหุ้นของ KCE และ HANA อย่างไรก็ตาม ซึ่งสะท้อนว่าการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทไม่ได้มีผลกระทบกับราคาหุ้น ในขณะที่ ตั้งแต่ 3Q24 เป็นต้นมา ราคาหุ้นของทั้งสองบริษัทมีความสัมพันธ์ในทางเดียวกัน (+0.8) สะท้อนถึงความกังวลของตลาดเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินบาทที่จะกดดันผลการดำเนินงานรวมไปถึงราคาหุ้น
คงน้ำหนัก NEUTRAL
ศูนย์วิจัยกรุงศรีคาดว่าเงินบาทจะยังคงแข็งค่าต่อไปจนถึง 2Q25 แต่ไม่เร็วและแรงเท่าใน 3Q24 ดังนั้น เราเชื่อว่านี่จะเป็นแรงกดดันหลักต่อราคาหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ตลอด 3Q24 ก่อนที่ค่าเงินบาทจะเริ่มแข็งค่าได้ช้าลงในระยะถัดๆไป ทำให้ใน ระยะสั้น เราชอบ DELTA มากที่สุด เนื่องจากราคาหุ้นของบริษัทไม่มีความสัมพันธ์กับค่าเงินบาท และเรายังคาดว่าผลการดำเนินงานของบริษัทใน 3Q24 จะแข็งแกร่งจากการเติบโตของ Data Center และเทรนด์ AI