วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี SCGP ยังมีโอกาสในสภาวะการแข่งขันสูง

วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี SCGP ยังมีโอกาสในสภาวะการแข่งขันสูง

มอง Positive ในภาพระยะยาวของแผนกลยุทธ์ปี 2025-30 ของ SCGP ที่วางการขยาย EBITDA เชิงรุกเป็น 3-3.3 หมื่นลบ. เติบโตจากทั้งการขยายแบบ organic และ M&P ซึ่งหากทำได้ตามเป้าจะเป็น upside ต่อประมาณการ EBITDA ของเราราว 23-36% และระยะสั้นอาจมี catalyst บวก

หากบริษัท M&P โรงกล่องในอินโดฯ 1-3 แห่งสำเร็จในช่วง 2025F มาชดเชยกับภาพ 2H24F ที่ชะลอ h-h จากดอกเบี้ยการเข้าซื้อ Fajar ทั้งนี้เราคงคำแนะนำ Trading Buy ที่ TP25F = 33.0 บาท/หุ้น คงมุมมองหากราคาขายกระดาษฟื้นเร่งขึ้นใน ก.ย. 24 จะเป็นโอกาสในการซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัวใน 2025F (+13% y-y) นอกจากนี้หากการปรับกลยุทธ์ Fajar ทำได้เร็วอาจส่งให้ overhang ความกังวลผลขาดทุนของ Fajar ลดลง

เป้า EBITDA 2030 ราว 3-3.3 หมื่นลบ. มุ่งขยายในเวียดนาม, อินโดฯ, U.S. และ EU

- ผู้บริหารมองความต้องการบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษและพลาสติก (75% ของความต้องการใช้ทั้งหมด) เติบโตเฉลี่ย 4-5% CAGR เด่นกว่าวัสดุประเภทอื่นที่โต 3-4% เป็นโอกาสต่อการขยายธุรกิจของ SCGP โดยเฉพาะตลาดเวียดนาม (+6-9% CAGR 2025-29) และอินโดนีเซีย (+5%) ที่จำนวนประชากรมากเป็นอันดับต้นของอาเซียน, เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตสูง รวมถึงเป็นเป้าการขยายธุรกิจของบริษัทในระยะยาว

- เน้นขยายไปในตลาดกำลังซื้อสูง เพิ่มทั้งปริมาณขายและอัตรากำไร i) ขยายด้าน Downstream* ขยายทั้งแบบ organic 47% และ M&P 53% ตั้งเป้าสัดส่วนการขายปี 2030 เพิ่มเป็นมากกว่า 50% Vs. 1H24 41% เพื่อหนุนการ integration เพิ่ม u-rate และ ลดต้นทุน เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ii) มุ่งเจาะตลาดเวียดนาม และอินโดฯ ที่กำลังบริโภคเติบโตสูง รวมถึงตลาด U.S. และ EU ที่มีโอกาสจากการเข้าไปทดแทนสินค้าจีน (กีดกันทางการค้า) ตั้งเป้าสัดส่วนรายได้นอกประเทศมากกว่า 67% ภายใน 2030 Vs. 58% ใน 1H24 และ iii) จับตลาดที่ผันผวนน้อยกว่า, สร้างความแตกต่างได้มากกว่า และเปลี่ยนแปลงยากกว่า โดยมุ่งเพิ่มสัดส่วนสินค้าที่เป็น consumer-linked มากกว่า 75% Vs. 1H24 74%

*(โรงกล่องกระดาษ, Polymer packaging, Fibrous chain อย่าง Food service, Deltal Lab; โตเท่าตัว Vs. 1H24 1.4 พันลบ. หรือ 2% ของรายได้ทั้งหมด เป็นต้น)

 

 

- ตั้งเป้า CAPEX 2025-30 ราว 8 หมื่นลบ. เป็นส่วนของ growth CAPEX (Organic + Inorganic) ราว 5.1 หมื่นลบ. หรือ 64% (Vs. 2019-24 ราว 8.9 – 9.9 หมื่นลบ.) โดยผู้บริหารจะเน้นการ M&P โรงกล่องในอินโดฯ 1-3 แห่ง คืบหน้าใน 2025 เพื่อหนุน u-rate และ ความสามารถในการแข่งขัน

ความเห็นและคำแนะนำ

- มอง Positive ในภาพระยะยาวของแผนกลยุทธ์ 2030 ที่เปิดขา upside ต่อประมาณการของเราหากบริษัทสามารถขยายตลาดทั้ง integrated packaging (76% ของรายได้) และ Fibrous chain (18% ของรายได้) ทั้งในเวียดนาม, อินโดฯ, U.S. ในรูปแบบทั้ง organic และ inorganic ได้ตามเป้า (EBITDA มี upside 23-36%) โดยเฉพาะช่วง 2025F ที่บริษัทมีโอกาส M&P โรงกล่องในอินโดฯ 1-3 แห่ง (คาดกำลังการผลิตรวมราว 0.26 ล้านตัน หรือราว 17% ของกำลังการผลิตปัจจุบัน) ที่จะทำให้การปรับการขายของ Fajar ทำได้ดีขึ้น

- คาดกำไรปกติ 3Q24F ราว 1,471 ลบ. (+12% y-y, -1% q-q) โต y-y ตามรายได้ที่เติบโต หลังปริมาณขายฟื้นตัวตามเศรษฐกิจจีนและอาเซียนแต่ทรงตัว q-q เพราะ ปริมาณขายที่ฟื้นตัวเล็กน้อย ชดเชยกับดอกเบี้ยจ่ายจากการเข้าซื้อ Fajar ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เราคงมุมมองกำไรปกติ 2H24F โต y-y ตาม demand บรรจุภัณฑ์อาเซียนฟื้นตามการท่องเที่ยวและกำลังซื้อที่ฟื้นตัวส่วนการชะลอ h-h ฉุดจากสภาวะการแข่งขันสูงจาก supply จีน และต้นทุนดอกเบี้ยของการเข้าซื้อ Fajar

 

- คงคำแนะนำ Trading Buy ที่ TP25F = 33.0 บาท หากการ M&P โรงกล่องในอินโดฯทำได้ตามเป้าและไม่ premium จะเป็น catalyst ระยะสั้นเข้ามาชดเชย แนวโน้มกำไรปกติ 2H24F ที่ลดลง h-h ส่วน upside ในระยะยาวเรามองยังต้องติดตามการ M&P และสภาวะการแข่งขันในภูมิภาค คงมุมมองหากราคาขายกระดาษฟื้นตัวเร่งขึ้นใน ก.ย. 24 จะสะท้อนการฟื้นตัวของdemand ในภูมิภาครวมถึงจีน ที่เร่งตัวขึ้น และเป็นประโยชน์โดยตรง
ต่อตลาดส่งออกของอินโดฯ (ก.ค.-ส.ค. 24 ฟื้นเล็กน้อย) สามารถกลับมาเก็งกำไรการฟื้นตัวใน 2025F (+13% y-y) ที่เศรษฐกิจอาเซียนฟื้นตัวต่อเนื่องส่งให้ปรับราคาขายไล่ตามต้นทุนได้ต่อ และหากการปรับกลยุทธ์ Fajar ตามเป้าของบริษัททำได้เร็ว อาจส่งให้ overhang ความกังวลขาดทุนของ Fajar ลดลง

 

วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี SCGP ยังมีโอกาสในสภาวะการแข่งขันสูง

วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี SCGP ยังมีโอกาสในสภาวะการแข่งขันสูง

วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี SCGP ยังมีโอกาสในสภาวะการแข่งขันสูง