วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นเดือน ก.ย. ของ JP

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นเดือน ก.ย. ของ JP

ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways Down แนวรับ 1,442/1,434 จุด (EMA 10 วัน) แนวต้าน 1,455/1,462 จุด ภาพระยะกลางอยู่ในรูปแบบ Sideways กรอบใหญ่ 1,274-1,696 จุด โดยมีแนวต้านสำคัญที่ 1,489 จุด (EMA 50 เดือน)

ส่วนในระยะสั้น เกิดสัญญาณย่อตัว อิงรูปแบบ Hammer (เปิดสูง แต่ปิดต่ำสุดของวัน) เมื่อวันศุกร์ ผนวกกับการทำ Lower High, Lower Low ของดัชนีฯ วานนี้ แต่การปรับลดลง คาดมีจำกัด อิงรูปแบบแท่งเทียนวานนี้ ที่ระดับปิดของดัชนีฯ สูงกว่าระดับต่ำสุดมาก เราแนะนำ ซื้อเก็งกำไรเมื่ออ่อนตัว เพื่อรอลุ้นการเกิด New High รอบใหม่

ประเด็น Event สำคัญวันนี้

UN: เริ่มประชุมที่นิวยอร์ก จนถึงวันที่ 30 ก.ย.

US: งานสัมมนา Bloomberg Global Business Forum ที่นิวยอร์ก โดยมีผู้ร่วมสัมมนา คือ ประธาน World bank Ajay Banga และ ผอ. IMF นาง Kristalina Georgieva

OPEC: ออกรายงาน World Oil Outlook ประจำปี

Australia: RBA meeting คาดมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิม 4.35%

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นเดือน ก.ย. ของ JP

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นเดือน ก.ย. ของ JP

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ

+/-JP: รายงานภาคการผลิตและภาคบริการรวมเดือน ก.ย. (เบื้องต้น) คาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 53.2 (Vs 53.0 ในเดือน ส.ค.) โดยภาคการผลิตเดือน ก.ย. คาดปรับสูงขึ้นจาก 49.5 ในเดือน ส.ค. เป็น 49.9 ในทางตรงกันข้ามภาคบริการเดือน ก.ย. คาดลดลงจาก 54 ในเดือน ส.ค. ลงไปแตะ 53.8

+/-US: ราคาบ้าน Home Price Index เดือน ก.ค. โดย Consensus คาด -0.2% MoM, +4.2% YoY (Vs เดือน มิ.ย. -0.1% MoM, +5.1% YoY) และ S&P/Case-Shiller Home Price เดือน ก.ค. คาด +0.4% MoM, +5.9% YoY (Vs เดือน มิ.ย. 0.6% MoM, 6.5% YoY) และดัชนีวัดความเชื่อมั่น CB Consumer Confidence เดือน ก.ย. คาดลดลงเป็น 102.9 (Vs เดือน ส.ค. 103.3)

-Germany: ดัชนีวัดความเชื่อมั่น Ifo Business Climate/Current Conditions/Expectaions เดือน ก.ย. โดย Consensus คาดลดลงเป็น 86.1 (Vs เดือน ส.ค. 86.6) 86.0 (Vs 86.5) และ 86.3 (Vs 86.8) ตามลำดับ สะท้อนเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว

กลยุทธ์การลงทุนสัปดาห์นี้: แนะนำ AP TIDLOR JMT

 

Strategic daily picks

AP    ปิด 9.80 บาท/แนวรับ 9.50 บาท แนวต้าน 10.30 บาท

ในช่วง 2H24 บริษัทจะมีโครงการพร้อมขายทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มากกว่า 202 โครงการ มูลค่ารวม 1.52 แสนล้านบาท ซึ่งตั้งแต่เดือน ส.ค. เป็นต้นไป บริษัทจะทยอยเปิด 25 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 2.74 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 1.6 พันล้านบาท (-5.87% YoY) และมูลค่าเหมาะสม 11.10 บาท

TIDLOR    ปิด 18.50 บาท/แนวรับ 17.80 บาท แนวต้าน 19.20 บาท

KTX ปรับประมาณการกำไรต่อหุ้นปี 2024E-26E ลง 11%-15% โดย 1) ปรับสมมติฐานสินเชื่อเติบโตเป็น 10% ในปี 2024-26E (เดิม 15%-20%) 2) ปรับเพิ่ม credit costs เป็น 3.0%-3.5% (จากเดิม 2.9%-3.1%) 3) ปรับเพิ่ม cost to income ปี 2024E โดย KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 12M FWD ที่ 19.17 บาท

JMT     ปิด 18.10 บาท/แนวรับ 17.60 บาท แนวต้าน 19.00 บาท

KTX ปรับลดประมาณการกำไรต่อหุ้นลง 17-23% ในปี 2024-26E เนื่องจากผลการดำเนินงานที่อ่อนแอใน 2Q24 ทั้งการลงทุนซื้อหนี้ที่น้อยกว่าคาดและอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลง ซึ่งหลังปรับปรุงประมาณการกำไรในปี 2024E คาดว่าจะหดตัว 41% YoY ก่อนจะกลับมาฟื้นตัวเฉลี่ย 23.4% ในปี 2025-26E โดย KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 12M FWD ที่ 13.75 บาท (Bloomberg Consensus ประเมินที่ 14.88 บาท)

 

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นเดือน ก.ย. ของ JP