เวสต์เทกซัส 71.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 75.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เวสต์เทกซัส 71.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 75.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (25 ก.ย. 67) ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น หลังธนาคารกลางจีนออกมาตรการกระตุ้นเศษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุด

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา 

(+) ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น หลังจากที่ธนาคารกลางจีนประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนี้มีเป้าหมายเพื่อดึงเศรษฐกิจออกจากภาวะเงินฝืดและผลักดันให้กลับมาบรรลุเป้าหมายการเติบโต โดยมีการเสนอมาตรการต่างๆ ที่มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ รวมถึงการจัดสรรเงินทุนเพิ่มเติมและการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นความพยายามในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ

(+) ตลาดจับตาพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ลูกที่ 2 ในรอบ 2 สัปดาห์ที่กำลังก่อตัว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตในอ่าวเม็กซิโก เบื้องต้นหลายบริษัทกำลังเร่งอพยพพนักงานออกจากแท่นผลิตน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกเป็นการชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย ส่งผลให้บริษัทน้ำมันหลายแห่งต้องหยุดการผลิตบางส่วน

(+/-) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการบริการ สหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ระดับ 55.4 จากระดับ 55.7 ในเดือน ส.ค. 67 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคบริการมีการขยายตัว ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต สหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ระดับ 47.0 เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคการผลิตยังคงอยู่ในภาวะหดตัว

 

เวสต์เทกซัส 71.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 75.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

 


 

 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังโรงกลั่น Cilacap ของบริษัท Pertamina ในอินโดนีเซีย ซึ่งมีกำลังการผลิต 348,000 บาร์เรลต่อวัน ได้เลื่อนกำหนดการซ่อมบำรุงจากเดิมที่กำหนดไว้ในเดือน ต.ค. 67 เป็นเดือน ม.ค. 68 


ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังการส่งออกน้ำมันดีเซลจากประเทศซาอุดีอาระเบียปรับลดลง เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่เกิดจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้น 8.05% ในเดือน ก.ค. 67 และแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน

เวสต์เทกซัส 71.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 75.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล