วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector - รัฐบาลร้องขอให้ธนาคารออกมาตรการช่วยลูกหนี้
รัฐบาลกำลังพยายามบีบให้ธนาคารต่าง ๆ ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดโดยเฉพาะหนี้ที่ค้างชำระก่อนเป็น NPL
โดยรัฐบาลขอร้องผ่านสมาคมธนาคารไทยด้วยความมุ่งหวังที่จะให้ธนาคารทั้งระบบร่วมดำเนินมาตรการดังกล่าว นอกจากนี้ รัฐบาลยังหวังว่ามาตรการดังกล่าวจะเป็นมาตรการที่ช่วยป้องกัน (pre-emtive measure) ไม่ให้คุณภาพหนี้ของลูกหนี้แย่ลงและถูกเปลี่ยนสถานะจาก stage 2 (ผิดนัดชำระ <3 เดือน) ไปเป็น stage 3 (NPL)
ขอมาตรการลดหนี้ และยืดอายุหนี้
เราคิดว่ามาตรการช่วยเหลือที่กล่าวถึงดังกล่าวเหล่านี้เป็นการต่ออายุมาตรการเดิมที่จะหมดอายุในเดือน
พฤศจิกายน 2567 โดยเมื่อเดือนเมษายน 2567 รัฐบาลได้ร้องขอให้ธนาคารลด MRR สำหรับลูกหนี้กลุ่ม
เปราะบาง 25 bps เป็นเวลาหกเดือนจากเดือนเมษายน 2567 จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2567 ซึ่ง ณ เวลานั้น
มีการให้ดอกเบี้ย MRR อัตราพิเศษสำหรับลูกค้ากลุ่มเปราะบางที่เข้าเกณฑ์ประมาณ 5-7% ของพอร์ตสินเชื่อแต่ละธนาคาร นับตั้งแต่เริ่มมีการให้ดอกเบี้ยอัตราพิเศษในเดือนเมษายน 2567 เป็นต้นมา ธนาคารทุกแห่งได้รับผลกระทบน้อยมากจากการลดดอกเบี้ย MRR ให้กับลูกค้าที่เข้าเกณฑ์ เพราะ NIM ลดลงไปเพียงสองสาม basis point เท่านั้น สำหรับมาตรการให้ความช่วยเหลือที่รัฐบาลร้องขอรอบล่าสุดนี้ อาจะทำให้ธนาคารทุกแห่งต้องออกมาตรการแบบเดิมเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่อาจจะกลายเป็นหนี้เสียถาวร (legacy debt) ในสัดส่วนประมาณ 5-7% ของพอร์ตหนี้ทั้งหมด
มาตรการเพิ่มเติมน่าจะเป็นกลาง ๆ กับธนาคาร แต่จะเป็นบวกกับกลุ่มธนาคาร
จากมาตรการช่วยเหลือรอบก่อน เราคิดว่ากระทรวงการคลังจะช่วยชดเชยบางส่วนให้กับธนาคาร อย่างเช่น ลดค่าธรรมเนียมประกันเงินฝาก (ปัจจุบันเก็บที่ 0.4% ของฐานเงินฝาก) ดังนั้น เราจึงมองว่าผลกระทบของธนาคารจะอยู่ในเชิงกลาง ๆ จากกระแสข่าวนี้ อย่างไรก็ตาม มาตรการเพิ่มเติมจะส่งผลดีต่อกลุ่ม non-bank
และ ธนาคารขนาดเล็ก เนื่องจาก 1.) จะช่วยชะลอการยึดรถลูกค้าที่จะทะลักเข้ามาขายทอดตลาด ซึ่งจะช่วยพยุงราคารถมือสองไม่ให้ตกหนัก 2.) กลุ่ม non-bank มีสินเชื่อรถยนต์สูงกว่าธนาคารมาก โดยคิดเป็นประมาณ >60% ของสินเชื่อรวมของ TIDLOR, ประมาณครึ่งหนึ่งของพอร์ตสินเชื่อ KKP และ ประมาณหนึ่งในสามของสินเชื่อรวม MTC, SAWAD และ TTB ในขณะที่คิดเป็นเพียง <10% ของพอร์ตสินเชื่อ KBANK และ SCBณ จุดนี้ เราคิดว่า non-bank จะสามารถใช้ประโยชน์จากมาตรการนี้ ซึ่งเปิดโอกาสให้ non-bank ปรับโครงสร้างหนี้ผิดนักชำระ และ ทำให้ไม่ต้องตั้งสำรองก้อนใหญ่
Risks
NPLs เพิ่มขึ้น และ ตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุน FVTPL จากการลงทุน.