วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Strategy & ตัวเลขภาคการผลิตเดือน พ.ย.
ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways Down แนวรับ 1,420/1,411 จุด (EMA 50 สัปดาห์) แนวต้าน 1,433/1,439 จุด (EMA 10 วัน) ภาพระยะกลางอยู่ในรูปแบบ Sideways กรอบใหญ่ 1,273-1,716 จุด
ส่วนแนวโน้มระยะสั้น ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลง แต่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวการปรับลดลง โดยไม่มีการสร้าง Lower Low เป็นวันแรกในรอบห้าวันทำการ ทำให้ดัชนีฯ มีโอกาสลุ้นรีบาวนด์ในสัปดาห์นี้ กลยุทธ์รายสัปดาห์ เปลี่ยนเป็นรอซื้อเมื่อดัชนีฯ ต่ำกว่า 1,411 จุด
ประเด็น Event สำคัญวันนี้
Opp. Day: ที่น่าสนใจ PTT SAWAD PR9 CRC VGI IIG PLUS ฯลฯ
US: Cyber-Monday เริ่มฤดูกาลช้อปปิ้งออนไลน์สินค้าอิเลคทรอนิคส์ของสหรัฐฯ; US Fed Comments จับตาสัญญาณดอกเบี้ยจาก สุนทรพจน์ประธานเฟด สาขานิวยอร์ก John Williams, คณะกรรมการเฟด Christopher Waller
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ
US: รายงานภาคการผลิตเดือน พ.ย. โดย ISM คาดปรับตัวสูงขึ้นเป็น 47.5 (Vs เดือน ต.ค. 46.5) และ S&P Global รายงานภาคการผลิตเดือน พ.ย. คาด 48.8 (Vs เดือน ต.ค. 48.5)
EU: HBOC รายงานภาคการผลิตเดือน พ.ย. คาดปรับลดลงเป็น 45.2 (Vs เดือน ต.ค. ที่ 46.0)
China: Caixin รายงานภาคการผลิตเดือน พ.ย. คาดปรับตัวดีขึ้นเป็น 50.9 (Vs เดือน ต.ค. อยู่ที่ 50.3)
Thailand: S&P Global รายงานภาคการผลิตเดือน พ.ย. คาดอยู่ที่ 50.5(Vs เดือน ต.ค. อยู่ที่ 50.0)
Weekly Strategy:
มุมมองต่อ SET: ปรับลดมุมมองเชิงบวกระยะสั้นต่อ SET ลง....แต่ด้วยดัชนีที่ปรับฐานแล้ว จึงทำให้ Downside เริ่มจำกัด
KTX ยังคงคำแนะนำให้ปรับลดมุมมองเชิงบวกระยะสั้นต่อ SET ลง เนื่องจาก SET EPS ยังคงถูกปรับลดประมาณการลงต่อเนื่อง (-0.14% WoW, -1.7% นับจากวันประกาศงบ 3Q24) มาที่ 95.96 บาท/หุ้น ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดใหม่ของปี 2024 อีกทั้งปัจจัยภายนอกน่าจะมีความเสี่ยงมากขึ้น จากโอกาสที่ญี่ปุ่นจะกลับมาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ หลังเงินเฟ้อพุ่งแรงในช่วงที่เฟดมีแนวโน้มชะลอการลดดอกเบี้ย ทำให้เงินเยนและเงินดอลาร์สหรัฐฯ ต่างก็มีความเสี่ยงแข็งค่าทั้งคู่ ทำให้ค่าเงินโลก มีโอกาสผันผวนแรงขึ้น กล่าวคือ กระแสเงินทุนโลกจะเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทางได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่ดัชนี SET ก็มีการปรับฐานลงมาแล้วถึง 2.2% WoW จนทำให้อัตราผลตอบแทน Market Risk Premium ของ SET ได้เร่งตัวขึ้นแรงถึง 18.4 bps. WoW มาที่ 4.34% ซึ่งใกล้เคียง ค่าเฉลี่ย 90 วัน ที่ 4.43% (1,411 จุด ซึ่งเป็นจุดซื้อคืน) เราจึงมองว่า Downside ของดัชนี SET ก็เริ่มจำกัดมากขึ้น
กลยุทธ์การลงทุนสัปดาห์นี้: “รอซื้อคืน” เมื่อดัชนีลงมาที่ 1,411 จุด แล้วทยอยขายในกรอบ 1,472-1,543 จุด โดยแนะนำ Selective buy 1) หุ้นที่มีโมเมนตัม EPS ฟื้นตัว 2) ERP เร่งขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย และ 3) อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ Implied EPS ลดระดับลงมาต่ำกว่า +1 S.D. เพื่อจำกัด ความเสี่ยงขาลงจากการปรับลดประมาณการ EPS อันเนื่องมาจากผลการดำเนินงาน 3Q24 อ่อนแอ หุ้นแนะนำสัปดาห์นี้ KBANK BDMS MTC
Strategic daily picks
BDMS ปิด 25.25 บาท/แนวรับ 24.10 บาท แนวต้าน 27.00 บาท
ถือต่อเนื่องสัปดาห์ที่ 3 ราคาหุ้นปรับฐานลงมาแล้ว 18.4% (นับจากจุดสูงสุดของ 3Q24) สวนทาง 12M FWD EPS (Consensus) ที่ยังปรับขึ้นต่อเนื่อง +0.3%WoW, +1.2%QtD จนทำให้ ERP ขยายตัวขึ้นแรง มาที่ 1.87% สูงกว่าค่าเฉลี่ยเกิน +2 S.D. บ่งชี้ ราคาหุ้นต่ำเกินไป (Oversold) เป็นโอกาสเก็งกำไร โดยมูลค่าเหมาะสมของ Bloomberg Consensus ที่ 35.00 บาท
KBANK ปิด 150.00 บาท/แนวรับ 145.00 บาท แนวต้าน 155.50 บาท
ถือต่อเนื่องสัปดาห์ที่ 5 ราคาหุ้นปรับขึ้นมาแล้ว 2.4% นับตั้งแต่แนะนำซื้อเมื่อต้นเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา (vs SET-2.5%) แต่ยังมีความน่าสนใจ ด้วยประมาณการ EPS ยังคงปรับขึ้น 0.10%WoW และ 3.15% QtD จน ERP เร่งตัวขึ้นมาที่ 11.79% สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 11.65% โดยมูลค่าเหมาะสมของ Bloomberg Consensus ที่ 167.50 บาท
MTC ปิด 49.25 บาท/แนวรับ 47.50 บาท แนวต้าน 53.50 บาท
ถือต่อเนื่องสัปดาห์ที่ 2 KTX ให้เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อ ด้วยคาดการณ์กำไรเติบโตเฉลี่ย 19% ต่อปีในช่วงปี 2024-2026E จาก 1) สินเชื่อเติบโตดีที่สุดในกลุ่ม 2) ความเสี่ยงด้านเครดิตมีแนวโน้มลดลง จากคุณภาพสินทรัพย์ฟื้นตัวต่อเนื่อง และ 3) ต้นทุนทางการเงินมีโอกาสลดลง หลังได้รับเครดิตเรตติ้ง A-(tha) จาก Fitch ทั้งนี้ ประมาณการ EPS ปรับตัวขึ้น 0.20%WoW,2.99%QtD จน ERP เร่งตัวขึ้นมาที่ 4.33% สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 4.24% โดยมูลค่าเหมาะสมของ KTX ที่ 66.00 บาท