วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี Industrial Estate Sector การใช้ GMT จะไม่กระทบ FDI
เราเชื่อว่า FDI มาประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากการที่ประเทศไทยจะประกาศใช้ GMT 15% กับบริษัทข้ามชาติ (MNE) ตั้งแต่ปี 2025
เนื่องจาก (i) คู่แข่ง FDI รายใหญ่ในอาเซียนจะใช้กฎเดียวกัน (ii) การแข่งขันจะเปลี่ยนไปสู่สิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี และประเทศไทยมีความได้เปรียบในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์และห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่ง (iii) กองทุนส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันจะบรรเทาผลกระทบ (iv) ประเทศไทยมีนโยบายยืดหยุ่นสำหรับ MNE และ (v) กฎนี้จะไม่ครอบคลุมถึง MNE ขนาดเล็กถึงปานกลาง เราเชื่อว่าการย้ายฐานการผลิต ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ และความตึงเครียดสงครามการค้าที่เพิ่มขึ้นจะมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจลงทุนของ FDI เราคงคำแนะนำ ซื้อ WHA AMATA และ ROJNA
ประเทศไทยมีแผนประกาศใช้ภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก (GMT) 15% มีผลบังคับตั้งแต่เดือนมกราคม 2025
เมื่อเร็วๆ นี้ คณะรัฐมนตรีของประเทศไทยได้อนุมัติร่างกฎหมายภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำสำหรับวิสาหกิจข้ามชาติ (MNE) ทั่วโลก ภายใต้กฎใหม่ จะมีการเรียกเก็บภาษีขั้นต่ำ 15% จากบริษัทข้ามชาติที่มีมูลค่าการขายทั่วโลกต่อปีมากกว่า 750 ล้านยูโร ภาษีส่วนเพิ่มเป็นกลไกที่ทำให้แน่ใจว่า MNE จ่ายอัตราภาษีที่แท้จริงขั้นต่ำ (ETR) 15% ในแต่ละบริษัทที่พวกเขาดำเนินธุรกิจ ประมาณ 160 ประเทศ (90% ของ GDP โลก) ตกลงจะใช้ GMT ที่ 15% เพื่อลดแรงจูงใจให้ธุรกิจเปลี่ยนผลกำไรไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำกว่า และเพื่อช่วยให้แน่ใจว่าทุกประเทศจะได้รับภาษีที่จ่ายโดย MNE อย่างยุติธรรม
กฎนี้จะส่งผลกระทบต่อ FDI ที่จะมาประเทศไทยหรือไม่?
เราไม่เชื่อว่า GMT จะกระทบ FDI และอุปสงค์ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้:
• อินโดนีเซีย (2023), เวียดนาม (2024), มาเลเซีย (2025) และไทย (2025) ซึ่งเป็นคู่แข่ง FDI รายใหญ่ในอาเซียน ได้เห็นด้วยกับการใช้กฎดังกล่าว
• เราเชื่อว่าการแข่งขันจะเปลี่ยนจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีไปเป็นสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี เช่น ความสะดวกในการทำธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานที่ดี เขตการค้าเสรี การถือครองที่ดิน การยกเว้นค่าธรรมเนียม วีซ่าระยะยาว การอำนวยความสะดวก และการเชื่อมต่อ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งสำหรับรถยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
• ประเทศไทยได้จัดทำพระราชบัญญัติเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแห่งชาติสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 สำหรับบริษัทที่มีคุณสมบัติในการเครดิตภาษีขอคืนเพื่อลดผลกระทบจากภาษีส่วนเพิ่ม กองทุนจะได้รับเงิน 50-70% ของ ภาษีส่วนเพิ่มที่จ่ายโดย MNE บริษัทที่มีคุณสมบัติได้แก่ (i) ต้องเป็นบริษัทข้ามชาติ; (ii) ได้รับผลกระทบจาก GMT; และ (iii) ต้องเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย โครงการที่มีคุณสมบัติ ได้แก่ การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาบุคลากร การลงทุนรักษ์สิ่งแวดล้ม เป็นต้น ส่วนรัฐบาลเวียดนามจะจัดตั้งกองทุนพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มทักษะให้กับประชากร
• ประเทศไทยจะให้นโยบายที่ยืดหยุ่นแก่ MNE ที่ได้รับการยกเว้นภาษี ตัวอย่างเช่น MNE อาจจะเปลี่ยนจากการยกเว้นภาษี 5 ปีเป็นการลดหย่อนภาษี 50% เป็นเวลา 10 ปี (สูงสุดไม่เกิน 10 ปี)
• สำหรับ MNE (ห่วงโซ่อุปทาน) ขนาดย่อมลงมา การยกเว้นภาษียังคงเป็นแม่เหล็กดึงดูด