วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง
ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว ลดลง แนวรับ 1,389/1,380 จุด แนวต้าน 1,404/1,411 จุด (EMA 200 วัน) ภาพระยะกลางอยู่ในรูปแบบ Sideways กรอบใหญ่ 1,273-1,716 จุด
ส่วนแนวโน้มระยะสั้น ลุ้นการเกิดสัญญาณกลับตัว (Reversal Pattern) ไปที่ 1,421 จุด หลังจากวานนี้เกิดรูปแบบฟื้นตัว (Hammer ในทิศทางขาลง) ซึ่งมีโอกาสกลายเป็นสัญญาณซื้อรอบใหม่ หากทะลุ 1,405 จุด ขึ้นไปได้ ในทางตรงกันข้าม ดัชนีฯมีโอกาสร่วงต่อไปที่ 1,370 จุด หากหลุดแนวรับเดิม 1,389 จุด เช่นกัน แนะนำ ซื้อเก็งกำไรเมื่อดัชนีฯ ทะลุ 1,405 จุด
ประเด็น Event สำคัญวันนี้
US Earnings Results: Nike คาดรายงาน 2Q24E EPS USD0.65 Vs Previous USD1.03; FedEx คาดรายงาน 2Q24E EPS USD 4.05 Vs Previous USD3.99
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ
BOE Meeting Consensus คาดมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.75% หลังจากปรับลดลงปีนี้ไปแล้วจากระดับ 5.25% จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 25 bps. เมื่อวันที่ 1 ส.ค. และ 7 พ.ย. ตามลำดับ เนื่องจากรัฐบาลอังกฤษเพิ่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะช่วยหนุน GDP สูงขึ้น +0.75% แต่เงินเฟ้อก็ปรับสูงขึ้น 0.5% เช่นกัน ในช่วงระยะเวลา 1 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ตลาดคาดว่า BOE มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องในปี 2025E อีก 75 bps. เป็น 4.0% ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2025
BOJ Meeting ยังมีความไม่แน่นนอนว่าจะมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 0.5% หรือไม่ หลังผลสำรวจ Bloomberg ล่าสุดพบว่า มีเพียง 3 จาก 8 ราย ที่สนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งต่างจากก่อนหน้าที่ คณะกรรมการ BOJ ส่วนใหญ่สนับสนุนการปรับขึ้นดอกเบี้ย โดยมีเป้าหมายที่ 1.0% ในอนาคต
แต่ KTX คาดว่าแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้ BoJ มีโอกาสกลับมาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แรงกดดันให้ BoJ ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเริ่มมากขึ้น จากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของเดือน พ.ย. (ประกาศวันที่ 20 ธ.ค. 2024) มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นมา 2.5% YoY ตามการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อโตเกียวในเดือน พ.ย. (เป็น Leading indicator ของอัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่น) ที่เร่งตัวขึ้นแรงถึง
2.6% YoY (Vs 1.8% YoY ในเดือน ต.ค.) (Figure 1) โดยมีปัจจัยหนุนมาจาก 1) เงินเฟ้อจากฝั่งต้นทุนที่ได้รับผลกระทบจากเงินเยนอ่อนค่า (เงินเยนอ่อนค่าลงรุนแรงถึง 11.5% โดยนับจากจุดต่ำสุดของเดือน ก.ย. จนถึงจุดสูงสุดของเดือน พ.ย.) และ 2) เงินเฟ้ออุปสงค์ที่ได้รับผลกระทบจากค่าจ้างที่ยังขยายตัวในอัตราเร่งสูงกว่าเงินเฟ้อพื้นฐานต่อเนื่องเป็นเวลา 5 เดือน จนทำให้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวแข็งแกร่งต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 0.7% QoQ ขึ้นมาที่ JPY2.98Trillion ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส (Figure 2) หนุนให้ 3Q24 GDP ขยายตัว 1.2% QoQ ซึ่งเป็นการขยายตัว 2 ไตรมาส ต่อเนื่อง ปัจจัยดังกล่าวจึงเปิดทางให้ BoJ ต้องกลับมาปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายขึ้นต่อในการประชุมวันที่ 19 ธ.ค.
หุ้นที่มีโมเมนตัมบวก แนะนำ: IVL CBG CPALL