วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ เริ่มต้นปีด้วยความผันผวน แต่ยังมองเห็นโอกาสในหุ้นรายตัว

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ เริ่มต้นปีด้วยความผันผวน แต่ยังมองเห็นโอกาสในหุ้นรายตัว

ผันผวนจากข้อมูลเศรษฐกิจทั่วโลก บรรยากาศลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงโดยภาพรวมถูกกดดันจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ยังแกร่ง ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ยังทรงตัวในระดับสูง และดัชนีค่าเงินสหรัฐฯ แข็งค่าต่อเนื่อง (ล่าสุด 109.17 จุด เทียบกับ 100.18 จุด เมื่อ 30 ก.ย.67)

ขณะที่ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นเล็กน้อย โดยนักลงทุนให้น้ำหนักกับการแถลงของประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง เมื่อ 31 ธ.ค. ว่าจีนจะบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ระดับ 5% ในปี 2567 พร้อมกับจะเร่งดำเนินโยบายเชิงรุกมากขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568

Global Minimum Tax (GMT) กดดันบริษัทจดทะเบียนที่มีรายได้ต่างประเทศที่เสียภาษีต่ำกว่า 15%: นโยบายดังกล่าวริเริ่มโดย OECD ซึ่งไทยลงนามและเริ่มมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.68 โดยบริษัทจดทะเบียนข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มีรายได้เกิน 750 ล้านยูโร/ปี (ประมาณ 26,000 ล้านบาท) และเสียภาษีต่ำกว่า 15% อาจมีภาระภาษีเพิ่ม เพื่อลดแรงจูงใจในการหลีกเลี่ยงภาษี หรือลดภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุน สำหรับบริษัทจดทะเบียนในไทยที่อยู่ในข่ายได้รับผลกระทบ ได้แก่ DELTA, TU, STA เนื่องจากมีภาระภาษีในระดับต่ำกว่า 10% // สำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้าและบรรจุภัณฑ์ อาจได้รับผลกระทบบ้าง แต่ในระดับน้อยกว่าเนื่องจาก effective tax อยู่ในระดับ 10-15%

ปัจจัยกดดันอื่นที่ต้องติดตาม LTF / ภาวะการคลังสหรัฐฯ / นโยบายของผู้นำใหม่สหรัฐฯ: ตลาดหุ้นไทยช่วงม.ค.อาจเผชิญความผันผวน ซึ่งเรามองเป็นโอกาสซื้อ โดยปัจจัยติดตามที่สำคัญมีดังนี้  1) แรงขายจากการครบกำหนดถือลงทุน 7 ปีของ LTF ที่ลงทุนในช่วงปี 2018-19 ซึ่งมีเม็ดเงินลงทุนรวมราว 1.5 แสนล้าน อย่างไรก็ตามการต้องถือครบระยะเวลาตามปีปฏิทิน ทำให้แรงขายน่าจะเป็นลักษณะทยอยขายซึ่งอาจทำให้ผันผวน แต่น่าจะไม่กระทบรุนแรงต่อตลาด 2) ปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ ที่จะถึงขีดจำกัดภายใน 14-23 ม.ค.25 อย่างไรก็ตามรัฐบาลสหรัฐฯ ยังอาจใช้มาตรการพิเศษเพื่อขยายเวลาถึงขีดจำกัดดังกล่าวไปอีกระยะ และ 3) การเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ เนื่องจากการเปลี่ยนผู้นำ ซึ่งโดนัลด์ ทรัมป์ มีกำหนดสาบานตนรับตำแหน่ง 20 ม.ค.25   


 

ภาพรวมกลยุทธ์ ความผันผวนช่วงม.ค.เป็นโอกาสในการซื้อ โดยยังมองกลุ่ม Earnings momentum play ใน 4Q67-1Q68 มีความน่าสนใจ โดยเราชอบ หุ้นในกลุ่มท่องเที่ยว, การแพทย์, ค้าปลีก และอาหาร ขณะที่คาดธนาคาร และการเงิน จะเป็นกลุ่มช่วยประคองบรรยากาศรวม 

แนวรับ: 1,370   แนวต้าน : 1,390-1,400 จุด

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%

หุ้นแนะนำ  (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)

•    CBG* (85): ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง และการสร้างโรงงานที่พม่าบวกต่อการแย่งส่วนแบ่งการตลาด ตัดขาดทุน 77.25 บาท
•    SNNP (14) : ราคาปรับลดลงจนซื้อขายด้วย PER เพียง 18 เท่า ขณะที่ต้นทุนการผลิตปีหน้ามีแนวโน้มปรับลงลง หนุนหุ้นมีโอกาสฟื้นตัว  ตัดขาดทุน 11.30 บาท
•    BTG (21) : คาดกำไร 4Q67F เพิ่มขึ้นทั้ง qoq และ yoy จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง ส่งผลให้อัตรากำไรยังปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ตัดขาดทุน 17.50 บาท
•    SORKON* (5): คาดผลการดำเนินงานใน 4Q67F ฟื้นตัวต่อเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง และราคาเนื้อสัตว์มีเสถียรภาพ  ตัดขาดทุน 4.20 บาท  

ประเด็นที่น่าสนใจ 

-    ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯ หดตัวเป็นเดือนที่ 6 /ผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาด
-    ดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายยูโรโซนยังซบเซาในธ.ค.
-    ภาคการผลิตจีนชะลอตัวในเดือนธ.ค. เหตุวิตกการค้าฉุดส่งออกซบเซา
-    รายงาน กนง.ย้ำเหตุคงดอกเบี้ยเก็บกระสุนไว้ยามจำเป็นเพื่อความขลังของนโยบายการเงิน
-    รมว. คลัง ชี้สรรหาประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่ใช้เวลาไม่นาน
-    ตลาดน้ำมันปาล์มเผชิญความไม่แน่นอน หลังอินโดฯ เลื่อนประกาศใช้ไบโอดีเซล B40
-    จับตา ตลาดพันธบัตร เผชิญความท้าทาย หนี้ระยะสั้นสหรัฐ 3 ล้านล้านดอลล์ คาดครบกำหนดในปี 2568
-    บทวิเคราะห์วันนี้ : แนะนำ MARKETWEIGHT กลุ่มโรงแรม

 

 

 

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

3 ม.ค. – US ISM Manufacturing PMI
6 ม.ค. – TH CPI
7 ม.ค. – EU CPI, US Exports, ISM Service PMI, JOLTs Job Openings 
8 ม.ค. – FOMC Minutes

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ เริ่มต้นปีด้วยความผันผวน แต่ยังมองเห็นโอกาสในหุ้นรายตัว วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ เริ่มต้นปีด้วยความผันผวน แต่ยังมองเห็นโอกาสในหุ้นรายตัว