วิเคราะห์ Quantamental : บล.เคจีไอฯ Downside จำกัด แต่ยังขาดปัจจัยกระตุ้นใหม่ๆ
ตลาดหุ้นไทยเดือน ธ.ค. อ่อนแอกว่าคาด ในระหว่างเดือน ธ.ค. 2567 ดัชนี SET ปรับตัวลงต่ำกว่าระดับแนวรับที่เราประเมินไว้ที่ +/- 1,400 จุด
อย่างไรก็ตาม ดัชนี SET ฟื้นตัวกลับมาปิดที่ 1,400 จุด ลดลง -1.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ประมาณการ EPS ของดัชนี SET ถูกปรับลดลงเล็กน้อย -0.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่ไม่มีปัจจัยบวกใหม่ในตลาด
Value factor: Stocks still cheaper than bond
i) Modified yield gap (M-yield gap): M-yield gap ณ สิ้นเดือน ธ.ค. อยู่ที่ +0.9 จุด ยังคงสูงกว่าศูนย์ แสดงให้เห็นว่าการประเมินมูลค่าตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันยังคงถูกกว่าตลาดพันธบัตร นอกจากนี้ เมื่อใช้ประมาณการ EPS ปี 2568 ซึ่งนักวิเคราะห์ประเมินไว้ล่าสุดที่ 97 บาทต่อหุ้น (เติบโต 12.8% YoY) และอิงดัชนี SET ล่าสุดที่ 1,380 จุด M-yield gap จะพุ่งขึ้นเป็น +3 จุด และ Earnings yield gap จะเพิ่มขึ้นเป็น 5%(อิงอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 5 ปีล่าสุดที่ 2.08%) การเปลี่ยนปีปฏิทินนี้ทำให้เราประเมินว่าการประเมินมูลค่าตลาดหุ้นไทยปัจจุบันอยู่ในระดับที่น่าสนใจลงทุนเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ และมี Downside ที่จำกัด อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตสองประการ ประการแรก ประมาณการ EPS โดยนักวิเคราะห์ มักจะสูงเกินไปในช่วงต้นปีและมีโอกาสที่จะถูกปรับลดประมาณการฯลงระหว่างปี ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในการคำนวณ M-yield gap และ Earnings yield gap ในระยะถัดไป ประการที่สอง แนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตร หรือ Bond yield คาดว่าจะเป็นแนวโน้มขาลงในปีนี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการประเมินมูลค่าตลาดหุ้นและจำกัด Downside ในระยะกลาง (3-6 เดือน) แม้ว่าประมาณการ EPS จะถูกปรับลดลงโดยนักวิเคราะห์ก็ตาม
ii) Implied equity risk premium (iERP): iERP อยู่ที่ 3.97% ในขณะที่ประมาณการเงินปันผลสำหรับ
ตลาดหุ้นไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจากเดือนก่อนหน้า การลดลงของดัชนี SET ทำให้ iERP
เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อัตราส่วนระหว่าง iERP และ Risk-free อยู่ที่ประมาณ 1.72
เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 1.49 เท่า อันเป็นผลมาจาก Bond yield ที่ลดลง ดังนั้นเราประเมินทิศทางขา
ลงของ Bond yield ในปีนี้ จะเป็นปัจจัยที่จำกัด Downside ของตลาดหุ้นไทยในระยะกลาง (3-6 เดือน)
iii) Cyclical adjusted PE (CAPE): อัตราส่วน CAPE ลดลงเหลือ 16.9 เท่า ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะ
ยาวตั้งแต่ปี 2553 (วิกฤต Hamburger) จนถึงปัจจุบันที่ 19.3 เท่า นอกจากนี้ excess CAPE yield (ECY)
หรือความแตกต่างระหว่าง 1/CAPE และ Bond yield อยู่ที่ 3.8% และเราเห็น Downside สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรตลอดช่วงที่เหลือของปี ในขณะที่ ECY ปัจจุบันของตลาดสหรัฐฯ อยู่ที่เพียง 1.46% โมเดล ECY บ่งชี้ว่าตลาดหุ้นไทยน่าสนใจลงทุนมากกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ข้อกังวลสำคัญคือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายเศรษฐกิจภายใต้ประธานาธิบดีทรัมป์ ในช่วงการดำรงตำแหน่งปี 2560-2564 ทรัมป์แสดงให้เห็นว่าการลดภาษีนิติบุคคลช่วยกระตุ้นกำไรของบริษัทสหรัฐฯ และทำให้เม็ดเงิน Fund flow ไหลกลับไปยังตลาดหุ้นสหรัฐฯ สงครามการค้าที่อาจเกิดขึ้นและการปรับลดอัตราภาษีฯ อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อ โมเดล ECY
Aggregate short interest ลดลงในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ธ.ค.
ดัชนีการชอร์ตขายโดยรวม (ASI) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของ Short interest หุ้นในตลาดฯ ปรับลดลงในทิศทางตรงข้ามกับการเพิ่มขึ้นของดัชนี SET ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ธ.ค. เราเชื่อว่านี่เป็นผลมาจากนักลงทุนปิดสถานะชอร์ตในช่วงสิ้นปี ซึ่งอาจยังไม่บ่งชี้แนวโน้มดัชนี SET สำหรับเดือน ม.ค. 2568 อย่างไรก็ตามดัชนี Aggregate Investor Allocation to Equity Index (AIAE) ลดลงเหลือ 28.1 จุด (จาก 28.6 จุดในเดือนก่อน) แสดงให้เห็นว่านักลงทุนจัดสรรเพียง 28.1% ของอุปทานเงินทั้งหมดให้กับตลาดหุ้น ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีที่
32.2% ซึ่งขัดแย้งกับอุปทานเงินในตลาดทุนไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราประเมินว่าDownside ของตลาดหุ้นไทยควรจะจำกัดแล้วในขณะนี้
คงน้ำหนักการลงทุนในหุ้นหรือทยอยซื้อเมื่ออ่อนตัว
แม้ว่าตัวชี้วัดการประเมินมูลค่าในปัจจุบันจะน่าสนใจ แต่เรายังคงมีมุมมองระมัดระวังต่อศักยภาพการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นไทย เราแนะนำให้นักลงทุนคงน้ำหนักการลงทุนในหุ้นในประเทศหรือทยอยซื้อเมื่ออ่อนตัว ในแง่ของเทคนิค แนวรับของดัชนี SET index อยู่ที่ 1,360 จุด และ 1,350 จุด ในขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,410 - 1,420 จุด
หุ้นเด่นเดือน ธ.ค. ตามโมเดลของเรา ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย +2.9% (Equal weight) และ +1.7%
(Market cap weight) และหุ้นเด่นสำหรับเดือน ม.ค. 68 แสดงในตารางที่ 4