วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง US PPI
ทางเทคนิค คาด SET Index อ่อนตัว แนวรับ 1,349/1,340 จุด แนวต้าน 1,360/1,366 จุด โดยภาพระยะกลางอยู่ในรูปแบบ Sideways กรอบใหญ่ 1,273-1,716 จุด
ส่วนแนวโน้มระยะสั้นอยู่ในแนวโน้มขาลง รูปแบบ Rounding Top และอยู่ระหว่างการลุ้นรีบาวนด์ ด้วยการสร้างรูปแบบ Hammer ในทิศทางขาลง วานนี้ ซึ่งเป็นสัญญาณกลับตัว Reversal Pattern โดยจะยืนยันสัญญาณรีบาวนด์ (ซื้อตาม) หากดัชนีฯ วันนี้สามารถสร้าง Higher High ด้วยวอล่มสูงขึ้น มิฉะนั้น ดัชนีฯอาจลงลึกไปทดสอบแนวรับเดิมที่ 1,332 จุด กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ รอซื้อเมื่อเกิดสัญญาณซื้อรอบใหม่ทางเทคนิค
ประเด็น Event สำคัญวันนี้
World Bank: ออกรายงาน Semiannual Global Economic Prospects
TH: รัฐบาลจัดงาน ”พระราชพิธีสมมงคล”เนื่องในโอกาสพระชนมายุของพระเจ้าอยู่หัว เท่ากับรัชกาลที่ 1 ประกอบด้วย 7 กิจกรรมสำคัญ
TH: 4Q24E Earnings Results: TISCO เป็นธนาคารแรกที่จะรายงานงบการเงินวันนี้ โดย KTX คาดรายงานกำไรสุทธิ -5.5% YoY, -1.8% QoQ เป็น 1,682 ล้านบาท ทั้งนี้ KTX คาดกำไร 6 หุ้นในกลุ่มธนาคารใน 4Q24 (เริ่มประกาศวันที่ 14 ม.ค.) รวมอยู่ที่ 3.92 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.9% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักมาจากการตั้งสำรองที่ลดลง หลังการเร่งบริหารจัดการ NPLs เชิงรุกในช่วงที่ผ่านมา หากเปรียบเทียบรายไตรมาส -10.3% QoQ จาก 1) NIM ลดลงจากผลของการปรับลดดอกเบี้ยของกนง. และ 2) Cost-to-income ที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยฤดูกาล ด้านสินเชื่อ ฟื้นตัวเล็กน้อย +0.7% QoQ (แต่ยังหดตัว 1.3% YoY) จากการรักษาระดับความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เราคงน้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคาร “มากกว่าตลาด” ด้วยปัจจัย 1) คาดว่าอัตราการตั้งสำรอง (Credit cost cycle) มีแนวโน้มปรับลดลงกลับสู่ระดับปกติในปี 2025E หลังจากธนาคารเคลียร์ NPLs ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา 2) แรงกดดันต่อ NIM ลดลง และธนาคารเริ่มให้ความสำคัญกับการบริหารเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้ 3) ROE และอัตราผลตอบแทนปันผลมีทิศทางเพิ่มขึ้น หนุนโอกาสการซื้อขายในระดับ PBV ที่สูงขึ้น (re-rate valuation)
ทั้งนี้ KKP มีแนวโน้มโดดเด่นสุด ในด้านกำไรสุทธิ (ตั้งสำรองลดลง) ขณะที่ KBANK มีความโดดเด่นสุดในด้านการลดการตั้งสำรอง(เป็นเพียงธนาคารเดียวที่ตั้งสำรองลดลงทั้ง QoQ และ YoY) และ BBL มีความโดดเด่นสุดในด้านพอร์ตสินเชื่อที่เติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ เนื่องจากมุ่งเน้นลูกค้าธุรกิจ รายใหญ่และสินเชื่อต่างประเทศ
US: วันที่ 14-23 ม.ค. เป็นวันที่ รมว.คลัง เยลเล่น ส่งสัญญาณเตือนเพดานหนี้สหรัฐจะแตะเพดาน (Debt Ceiling) โดยในช่วงดังกล่าว คลังจะเริ่มใช้มาตรการพิเศษ ได้แก่ การระงับจ่ายเงินให้กับโครงการออมทรัพย์ของพนักงานรัฐบาลบางส่วน การชะลอลงทุนในกองทุนของรัฐบาลบางส่วน การเลื่อนประมูลหลักทรัพย์ ฯลฯ เพื่อที่จะชำระหนี้ได้ต่อไปอีกชั่วคราว แต่สภาคองเกรสจะต้องจัดการแก้ไขปัญหาเพดานหนี้โดยเร็ว เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างรุนแรง โดยหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ปัจจุบันอยู่ที่ 34 ล้านล้านดอลล์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 124.35% ของ GDP
US: สุนทรพจน์ Fed New York John Williams, Fed Kansas City Jeffrey Schmid จับตาสัญญาณดอกเบี้ยครั้งต่อไป
South Korea: ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดีการประกาศกฎอัยการศึกของอดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ยุน ซอก ยอล
JP: สุนทรพจน์ของรองผู้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น Ryozo Himino จับตาสัญญาณต่อทิศทางดอกเบี้ยของ BOJ
Hong Kong: GS จัดงาน Global Macro Conference (จนถึงวันที่ 15 ม.ค.)