วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ลุ้นผลประกอบการ โดยได้เงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ต่ำ ช่วยหนุนบรรยากาศลงทุน
กำไรธนาคารและเงินเฟ้อพื้นฐานสหรัฐฯ ส่งผลบวกต่อจิตวิทยาลงทุน หุ้นสหรัฐฯ ปรับขึ้นทุกดัชนี โดยหลักมาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่
1) การรายงานผลประกอบการที่ดีกว่าคาดการณ์ของสถาบันการเงิน อาทิ Goldman Sach และ Citigroup ทำให้หุ้นทั้งสองปรับขึ้นมากกว่า 6% และ 2) ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและพลังงาน) เดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดย เงินเฟ้อพื้นฐาน +0.2% MoM, +3.2% YoY (vs คาดการณ์ +0.3% MoM, +3.3% YoY) ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไป +0.4% MoM, +2.9% YoY (vs คาดการณ์ +0.4% MoM, +2.9% YoY) // เงินเฟ้อที่ต่ำคาด ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดลงต่ำกว่า 4.7% และทำให้กลุ่มอุตสาหกรรม 10 ใน 11 กลุ่มของดัชนี S&P ปิดบวก
น้ำมันยังมีแรงหนุน แม้อิสราเอลและฮามาสบรรลุข้อตกลงหยุดยิง: ข้อตกลงแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ทั้งการหยุดยิง แลกตัวประกัน ถอนกำลัง และอนุญาตให้ประชาชนกลับถิ่นฐาน ทั้งนี้ข้อตกลงหยุดยิงข่วยหนุนบรรยากาศลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และลดทอนความกังวลการปรับขึ้นราคาน้ำมันที่อาจส่งผลลบต่อการลดลงของเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบระยะสั้นยังได้แรงหนุนจากการปรับลดลงของสต็อคน้ำมันดิบ และข่าวการที่สหรัฐฯ คว่ำบาตรอุตสาหกรรมน้ำมันรัสเซีย (เมื่อ 10 ม.ค.) ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ปรับขึ้นแถว 82 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่ 74 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นปัจจัยบวกทำให้ไม่ต้องกังวลกลุ่มพลังงานจะมีขาดทุนสต็อคมาถ่วง และไม่เป็นปัจจัยลบต่อการปรับประมาณการกำไรบจ.
กลุ่มบริโภคในประเทศและอาหารมีปัจจัยหนุนที่น่าสนใจ: หุ้นบริโภคในประเทศ คาดได้แรงหนุนเชิงบวกจาก 1) Easy e-receipt ที่จะเริ่มต้น 16 ม.ค.-28 ก.พ. 2) เงิน 10,000 บาท เฟส 2 ที่จะโดน 27 ม.ค.นี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อ โดยเฉพาะต่อกลุ่มค้าปลีก อาทิ CPALL, CPAXT, TNP, MEB, HMPRO, COM7, ADVICE, SYNEX, SIS, CRC, CPN // สำหรับกลุ่มอาหาร – คาดรายงานกำไรไตรมาส 4/67 ดีขึ้นต่อเนื่อง
และเป็นปัจจัยหนุนให้ตลาดปรับเพิ่มประมาณการและราคาเหมาะสมขึ้น เป็นปัจจัยหนุนต่อราคาหุ้นในช่วงต่อไป โดยเราชอบทั้ง CBG, OSP, CPF, BTG, TFG
ภาพรวมกลยุทธ์ ยังยืนยันความผันผวนช่วงม.ค.เป็นโอกาสในการเลือกซื้อ โดยยังมองกลุ่ม Earnings momentum play ใน 4Q67-1Q68 มีความน่าสนใจ โดยเราชอบ หุ้นในกลุ่มท่องเที่ยว, การแพทย์, ค้าปลีก และอาหาร (เครื่องดื่มและเนื้อสัตว์) ขณะที่คาดธนาคาร และการเงิน จะเป็นกลุ่มช่วยประคองบรรยากาศโดยรวม เก็งกำไรอาจเลือกหุ้นที่ลงมาเยอะ อาทิ HANA, SCC
แนวรับ: 1,340-1,345 แนวต้าน : 1,367-1,375 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• CPN (60) : คาดผลประกอบการได้แรงหนุนจากช่วงเทศกาลปลายปี รวมถึงเม็ดเงินจากมาตรการ Easy E-receipt ตัดขาดทุน 53 บาท
• CBG* (85): หากมีแล้ว โซนซื้อเพิ่มคือ 71-72 บาท ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง และการสร้างโรงงานที่พม่าบวกต่อการแย่งส่วนแบ่งการตลาด ตัดขาดทุน 70 บาท
• BTG (21) : คาดกำไร 4Q67F เพิ่มขึ้นทั้ง qoq และ yoy จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง ส่งผลให้อัตรากำไรยังปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ตัดขาดทุน 17.50 บาท
• TU* (16): ราคาหุ้นที่ปรับลดลงสะท้อนแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ไม่ดี และปัจจัยลบจากผลกระทบ Global Minimum Tax ไปพอสมควรแล้ว ตัดขาดทุน 12 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- คาดเฟดลดดบ.เร็วขึ้นเป็นเดือนมิ.ย. หลัง PPI/Core CPI ต่ำคาด
- บอนด์ยีลด์ร่วงหลุด 4.7% หลังสหรัฐเผย PPI/Core CPI ต่ำคาด
- รองประธาน ECB ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยต่อ หวังกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- BOJ เล็งขึ้นดอกเบี้ย หากเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อญี่ปุ่นปรับตัวดีต่อเนื่อง
- ก.ล.ต.ไม่คิดยกเลิก Short sell มองยังจำเป็นแต่อาจมีมาตรการเสริม เล็งวัดผล-ทบทวน Uptick rule
- ITEL - ประกาศโครงการซื้อหุ้นคืน 130 ล้านหุ้น วงเงิน 300 ล้านบาท ระหว่าง 20 ม.ค.-18 ก.ค.68
- บทวิเคราะห์วันนี้ : TU แนะนำ ซื้อ เป้า 15.50 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
16 ม.ค. – US Retail Sales (Dec)