วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ติดตามภาษีนำเข้าสหรัฐฯ

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ติดตามภาษีนำเข้าสหรัฐฯ

นักลงทุนติดตามการเริ่มเก็บภาษีการค้าที่จะเริ่ม 9 เม.ย. มีรายงานว่ากว่า 50 ประเทศ ติดต่อทำเนียบขาวเพื่อขอเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ทั้งเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, อินเดีย

สำหรับสหภาพยุโรป มีท่าทีพร้อมเจรจา แต่ก็เตรียมมาตรการตอบโต้ผ่านการเก็บภาษีสินค้านำเข้าหลายรายการ โดยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะลงนามรับรองขอเสนอดังกล่าวในวันนี้ (9 เม.ย.)  สำหรับจีน มีท่าทีแข็งกร้าวต่อสหรัฐฯ และตอบโต้มาตรการขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ 34% มีผล 10 เม.ย. และควบคุมการส่งออกแร่หายาก รวมถึงเตรียมขึ้นบัญชีดำบริษัทสหรัฐฯ // ทั้งนี้นักลงทุนยังคงระมัดระวังผลกระทบจากการขึ้นภาษี ขณะที่รอดูพัฒนาการของการเจรจา และโอกาสได้รับการยกเว้นหรือปรับลดภาษีการค้า ขณะที่เริ่มเพิ่มมุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งสะท้อนผ่าน ราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลง และความกังวลเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่อาจปรับขึ้นจากภาษีนำเข้า (สะท้อนผ่านการปรับขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ) ซึ่งปัจจัยมั้งหลายข้างต้นยังเป็นแรงกดดันต่อภาพรวมการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง

รัฐบาลเลื่อนพิจารณาพ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร ขณะที่ครม.มีมติอนุมัติลดค่าโอน-จดจำนอง: รัฐบาลตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาร่างพ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment complex) จากสมัยประชุมนี้ (12 ธ.ค. 67 – 10 เม.ย. 68) ไปยังสมัยประชุมหน้า (3 ก.ค.-30 ต.ค. 68) โดยให้เหตุผลถึงความจำเป็นที่อาจต้องพิจารณาเรื่องเร่งด่วนอื่นก่อน แต่ก็ทำให้เกิดความไม่แน่นอนของการลงทุนไปอีก 3-4 เดือน ซึ่งกระทบต่อกลุ่มท่องเที่ยว โดยจะมีเพียงโครงการลักษณะเราเที่ยวด้วยกัน เข้ามาสนับสนุนในช่วงไตรมาส 2/68 ขณะที่ครม.อนุมัติลดค่าโอน-จดจำนอง เหลือ 0.01% สำหรับอสังหาริมทรัพย์ราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท มีผลถึง 30 มิ.ย. 69 แม้เป็นบวกแต่อาจไม่สามารถสนับสนุนบรรยากาศลงทุนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในระยะสั้นที่กระทบการตัดสินใจซื้อจากเหตุแผ่นดินไหว และการรีไฟแนนซ์หุ้นกู้และหนี้ของหุ้นในกลุ่มนี้ที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างมากในช่วงไตรมาส 3/68

 


 

ภาพรวมกลยุทธ์ ภาพระยะกลางไม่ชัด แต่ระยะสั้นลุ้นการฟื้นจากภาวะขายมากเกิน เรายังคงแนะนำให้ลงทุนในหุ้นรายตัวที่ Valuation ไม่แพง และอัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูง เน้นกลุ่มปลอดภัย หรือเก็งลดดอกเบี้ย และหลีกเลี่ยงกลุ่มที่อิงเศรษฐกิจจีนหรือได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า โดยเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์, กลุ่มอาหารที่มีรายได้จากสหรัฐฯ สูง และกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม

แนวรับ: 1,040 แนวต้าน : 1,080-1,100 จุด

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 50% vs พอร์ตหุ้น 50%

หุ้นแนะนำ  (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)

•    ADVANC (292) : EBITDA margin ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคากลางประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่มีโอกาสปรับลดลง ตัดขาดทุน 275 บาท
•    RATCH (34.0): ซื้อขายเพียง 7x PER และให้ผลตอบแทนปันผล 6% ราคาหุ้นได้แรงหนุนจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายและผลตอบแทนพันธบัตร ตัดขาดทุน 25.00 บาท
•    TIDLOR (17) : ราคา underperform หุ้นในกลุ่มจากการแลกหุ้น ขณะที่ valuation น่าสนใจ ซ้อขายด้วย PBV 1.45x (vs MTC ที่ 2.35x) ตัดขาดทุน 14 บาท
•    BJC (26) : คาดผลการดำเนินงานผ่านจุดแย่สุดและเริ่มเข้าสู่การฟื้นตัว ธุรกิจบรรจุภัณฑ์มีแนวโน้มบวกจากต้นทุนการผลิตที่ลดลง ตัดขาดทุน 21.50 บาท
 

ประเด็นที่น่าสนใจ 

-    ทำเนียบขาวยืนยันสหรัฐเดินหน้าเก็บภาษี 104% ต่อสินค้าจีน
-    "ทรัมป์" เผยเจรจาชื่นมื่นกับเกาหลีใต้ คาดจีนต้องการทำข้อตกลงเช่นกัน
-    นายกฯ หารือพรรคร่วมรัฐบาล เลื่อนวาระ “ร่างกฎหมายเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์” เข้าสภาสมัยประชุมหน้า
-    รมว.คลัง พร้อมยกเลิกห้ามชอร์ตเซลชั่วคราวก่อนกำหนด ผจก.ตลาดหุ้นเตือนสถานการณ์ยังผันผวน
-    FETCO เผยความเชื่อมั่นนักลงทุน “ซบเซา”

 

-    บทวิเคราะห์วันนี้ : Special Report : Trump Reciprocal Tariff Tackled เรามองเป็น Downside ต่อ GDP ไทย แต่มอง SET Index ระดับ 1,080 จุด เป็นโอกาสสะสม โดย Top Picks คือ RATCH, TIDLOR, BCH, BJC และ ADVANC/ NSL แนะนำ ซื้อ เป้า 42.00 บาท

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

9 เม.ย. – การปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ
10 เม.ย. – FOMC Minutes, US CPI, TH Consumer Confidence,  CN CPI

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ติดตามภาษีนำเข้าสหรัฐฯ