ยอดบริโภคสินค้าเหล็กในไทยสูงทรงตัวกว่าสิบล้านตัน-มูลค่าสูงหลายแสนล้าน
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยเผยยอดการบริโภคสินค้าเหล็กสำเร็จรูปในไทยยังทรงตัวในระดับสูงหลายแสนล้านบาท โดยในปี 64 มียอดบริโภครวม 18.75 ล้านตัน ส่วนปี 65 มียอดบริโภคลดลงอยู่ที่ 16.4 ล้านตัน ขณะที่ การนำเข้าและส่งออกเศษเหล็กก็มีมูลค่าสูงหลายหมื่นล้านบาท
ธุรกิจค้าเหล็กเป็นหนึ่งในธุรกิจขนาดใหญ่ โดยมียอดการบริโภคปีละหลายหลายสิบล้านตัน มูลค่าหลายแสนล้านบาท โดยมีผู้ค้าอยู่ในระบบมากมาย ตั้งแต่รายใหญ่ไปจนถึงรายเล็กอย่างผู้รับซื้อเศษเหล็ก หรือซาเล้ง
ขณะที่ ธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจที่กรมสรรพากรจับตา เพราะมีลักษณะการโกงใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มมาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งกรมฯเตรียมออกกฎหมายเพื่อล้อมคอกการกระทำดังกล่าวสำหรับยอดการบริโภคธุรกิจค้าเหล็กในประเทศไทยจะเป็นอย่างไร วันนี้ กรุงเทพธุรกิจมีคำตอบ
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยเปิดเผย ปี 2564 ยอดการบริโภคเหล็กสำเร็จรูปในประเทศไทยรวม 18.75 ล้านตัน แบ่งเป็น ผลิตเหล็กสำเร็จรูปรวม 7.66 ล้านตัน นำเข้าเหล็กสำเร็จรูปรวม12.49 ล้านตันหรือประมาณ 4.16 แสนล้านบาท และส่งออกเหล็กสำเร็จรูปรวม 1.41 ล้านตันหรือประมาณ5.29 หมื่นล้านบาท
ส่วนปี 2565 (ข้อมูลเบื้องต้น)ยอดการบริโภคเหล็กสำเร็จรูปรวม 16.4 ล้านตัน แบ่งเป็น ผลิตเหล็กสำเร็จรูปรวม 7.11 ล้านตัน นำเข้าเหล็กสำเร็จรูปรวม 10.77 ล้านตันหรือประมาณ 3.58 แสนล้านบาท และส่งออกเหล็กสำเร็จรูปรวม 1.49 ล้านตันหรือประมาณ 5.58 หมื่นล้านบาท
สำหรับมูลค่าการส่งออกและนำเข้าเศษเหล็ก (ข้อมูลจากกรมศุลกากร HS 7204)
ปี 2563 มูลค่านำเข้าเศษเหล็กประมาณ 1.29 หมื่นล้านบาท และส่งออกเศษเหล็กประมาณ 6.87 พันล้านบาท
ปี 2564 มูลค่านำเข้าเศษเหล็กประมาณ 2.16 หมื่นล้านบาท และส่งออกเศษเหล็กประมาณ 1.31 หมื่นล้านบาท
ปี 2565 มูลค่านำเข้าเศษเหล็กประมาณ 2.29 หมื่นล้านบาท และส่งออกเศษเหล็กประมาณ 1.37 หมื่นล้านบาท
ส่วนจำนวนผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าเศษเหล็ก ข้อมูลจากสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ระบุ ในปี 2563 มีผู้ประกอบการส่งออกเศษเหล็กมีผู้ประกอบการส่งออกเศษเหล็กจำนวน139 ราย และผู้ประกอบการนำเข้าเศษเหล็กจำนวน 131 ราย