‘หุ้นกู้ไฮยีลด์’เสี่ยงขายยาก เหตุรายใหญ่ชะลอลงทุนบอนด์ไร้หลักประกัน
อัตราดอกเบี้ยโลกยังคงอยู่ใน “ระดับสูง” ขณะที่สัญญาณเศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย จากสารพัดปัญหาถาโถม กระทบต่อภาคธุรกิจเริ่มทยอยมีปัญหาโดยเฉพาะ “ขาดสภาพคล่อง” ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันสถานการณ์ “หุ้นกู้เอกชนที่มีปัญหาเพิ่มขึ้น”
บ่งชี้ผ่านปัจจุบันจะเริ่มเห็นสัญญาณ “การผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้” ของบริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) สะท้อนผ่านมี บจ. ผิดนัดชำระหุ้นกู้ให้เห็น อย่าง บมจ.ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ (ALL) กรณีหุ้นกู้รุ่น ALL244A โดยให้เหตุผลบริษัทขาดสภาพคล่อง บมจ.ช ทวี (CHO) ผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้รุ่น CHO212A โดยให้เหตุผลขาดสภาพคล่อง-กระแสเงินสดหมุนเวียนไม่เพียงพอ และล่าสุดกำลังแก้ปัญหาผิดนัดชำระหุ้นกู้ เตรียมประชุมผู้ถือหุ้นกู้ 21 มิ.ย.นี้ บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) จากที่ยังไม่สามารถส่งงบการเงินประจำปี 2565 ได้ตามกำหนดทำให้หุ้นกู้ 5 ชุด มูลค่ารวม 9,198.4 ล้านบาท เป็นเหตุผิดนัดเกิดขึ้น โดยบริษัทจะมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ 31 พ.ค.66
"สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย" (ThaiBMA) ระบุว่า มูลค่าคงค้างหุ้นกู้เอกชนที่มีปัญหา (เฉพาะที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมสะสมตั้งแต่ปี 2560) ณ 19 พ.ค. 2566 มูลค่ารวม 110,356 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,935 ล้านบาท จากปี 2565 อยู่ที่ 99,421 ล้านบาท แบ่งเป็น หุ้นกู้ที่เกิดจากการผิดนัดชำระดอกเบี้ยมูลค่า 24,869 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,329 ล้านบาท จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 13,539 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,329 ล้านบาท
โดยเป็นการผิดนัดชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้ของ ALL 1,722 ล้านบาท , CHO 409 ล้านบาท เป็นหุ้นกู้ที่ประสบปัญหาและเคยยืดหนี้อยู่โดยอยู่ระหว่างเตรียมจัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ มูลค่า 33.83 ล้านบาท และ STARK 9,198 ล้านบาท ยังไม่ถึงกำหนดชำระโดยพลัน (Call Default) ในทันทันที ซึ่งเป็นหุ้นกู้เดิมที่เป็นปัญหาอยู่แล้ว
ขณะที่ยอดออกหุ้นกู้ไฮยีลด์ ในช่วง 5 เดือน ปี2566 (25 พ.ค.) มีมูลค่า 43,423 ล้านบาท เป็นสัดส่วนหุ้นกู้ที่มีหลักประกัน 51% และไม่มีหลักประกัน 49% เทียบเท่ากับทั้งปี 2563 ช่วงโควิดที่มียอดออกเพียง 46,240 ล้านบาท ยังไม่มีสัญญาณนักลงทุนออกจากตลาด และปี 2564 ยอดออกหุ้นกู้ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 89,068 ล้านบาท และปี 2565 อยู่ที่ 116,835 ล้านบาท เป็นระดับสูงกว่าช่วงก่อนโควิดปี 2562 ที่มียอดออกทั้งสิ้น 106,494 ล้านบาท
ขณะที่หุ้นกู้ไฮยีลด์ ปัจจุบันสัดส่วนที่มีหลักประกัน 51% และไม่มีหลักประกัน 49% โดยสัดส่วนที่ไม่มีหลักประกันเริ่มปรับเพิ่มขึ้้นต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงโควิดปี 2564 มีสัดส่วนที่มีหลักประกัน 59% และไม่มีหลักประกัน 41% ในปี 2565 สัดส่วนมีหลักประกัน 50% และไม่มีหลักประกัน 50% จากช่วงก่อนโควิดในปี 2562 สัดส่วนมีหลักประกัน 32% และไม่มีหลักประกัน 68% แต่ในปีโควิด 2563 สัดส่วนมีหลักประกัน เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 56% และไม่มีหลักประกันลดลงอยู่ที่ 44%
"อริยา ติรณะประกิจ" รองกรรมการผู้จัดการ ThaiBMA กล่าวว่า การที่บจ.ที่ประกาศผิดนัดชำระหนี้ดอกเบี้ยและเงินต้นหุ้นกู้ มีต่อเนื่องจากต้นปีนี้นั้น ยอมรับว่า อาอาจกระทบเซ็นทริเม้นต์นักลงทุนหุ้นกู้ชะลอลงทุน แม้ว่าจะเป็นหุ้นกู้ระดับ BBB+ ซึ่งลงทุนได้ก็ตาม เนื่องจากพบว่านักลงทุนรายใหญ่จะระมัดระวังในการลงทุนหุ้นกู้มากขึ้นแต่ไม่ได้ตื่นตระหนก
"ศิรินารถ อมรธรรม" ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ThaiBMA กล่าวว่า ยอดออกหุ้นกู้ไฮยีลด์ช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ราว 4.3 หมื่นล้านบาท ถือว่าใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีก่อน และช่วงโควิดปี 2563 อีกทั้งสัดส่วนหุ้นกู้ไฮยีลด์มีหลักประกันใกล้เคียงกับไม่มีหลักประกันที่ 51: 49 เทียบกับปีก่อนสัดส่วน 50:50 ซึ่งสัดส่วนไม่มีหลักประกันเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงโควิดปี 2564 มีสัดส่วน 41% เป็น 50% ในปี 2565 สะท้อนตลาดหุ้นกู้ไฮยีลด์ยังไม่มีสัญญาณที่ผู้ออกและผู้ลงทุนหนีออกจากตลาด จากต้นปีเริ่มมีหุ้นกู้เอกชนที่มีปัญหาเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้เพิ่ม แต่ยังเป็นตัวเดิมๆ ที่มีปัญหาขอปรับโครงสร้างหนี้และยืดชำระหนี้
โดยยอมรับนักลงทุนรายใหญ่มีความระมัดระวังในตัดสินใจลงทุนหุ้นกู้ไฮยีลด์มากขึ้น ทั้งมีการตรวจสอบข้อมูลและคุณภาพหลักประกันผู้ออกในเชิงลึก และมีการแชร์ข้อมูลให้กันถือเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้ลงทุนมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจลงทุน และเกณฑ์ก.ล.ต.ในช่วง 2 ปีก่อนที่กำหนดให้หุ้นกู้ไฮยิลด์ต้องมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ด้วยถือเป็นการช่วยปกป้องนักลงทุน
ทั้งนี้ หากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ ไม่น่าจะมีปัญหาเพิ่มเติม และอีกปัญหาเป็นเรื่องธรรมภิบาลของผู้บริหาร ซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะตัวของบริษัท ซึ่งผลกระทบยังจำกัดกลุ่มเดิม หลังจากนี้ถ้าไม่เกิดปัญหาเพิ่มเติมหรือผิดความคาดหมายคาดสถานการณ์ตลาดหุ้นกู้ไฮยิลด์น่าจะผ่านพ้นไปได้มีโอกาสที่ยอดออกหุ้นกู้แตะระดับ 100,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับปีก่อน
หุ้นกู้ไฮยีลด์-ไม่มีหลักประกัน เสี่ยงขายยาก
แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินพาณิชย์ กล่าวว่า การระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ในปีนี้ คงยากขึ้นกว่าเดิม คือ ยังมีการออกขายกันและขายได้อยู่บ้าง แต่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้ารายใหญ่ (high network) ซึ่งบางหรือหลายรายอาจยังไม่มีความรู้ความเข้าใจถึงการประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ดีพอ อาจซื้อตามความเชื่อเคยลงทุนมายังไม่ผิดนัดชำระหนี้ หรือซื้อตามกันให้มีติดมือบ้าง หรือซื้อแบบหาผลตอบแทนที่ดีที่สุด แบบไม่ศึกษาข้อมูลให้ลึกมากพอ
"เจษฎา ยงพิทยาพงศ์" กรรมการและผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน (บลน.) เวลธ์ คอนเซปท์ กล่าวว่า หลังจากนี้คาดว่าการออกหุ้นกู้ไฮยีลด์ที่ไม่มีหลักประกันและไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ มีความเสี่ยงที่จะออกขายยากขึ้น หรือขายไม่ได้ เพราะต้องยอมรับนักลงทุนรายใหญ่หลายรายเริ่มมีความรู้การลงทุนหุ้นกู้มากขึ้นจากในอดีต โดยเฉพาะการศึกษาโครงสร้างบริษัท กรรมการและผู้ถือหุ้น
"นันท์มนัส เปี่ยมทิพย์มนัส" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า แนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้ผู้ออกหุ้นกู้ต่างเร่งเข้ามาระดมทุนในตลาดการเงินเพื่อล็อคต้นทุนการเงินและสะสมสภาพคล่องเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยในช่วงเกือบ 5 เดือนแรกปีนี้มีปริมาณหุ้นกู้ออกใหม่เกือบ 5 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 2 เท่าของปริมาณหุ้นกู้ที่ครบกำหนดในช่วงเวลาเดียวกัน ในระยะสั้นสถานการณ์ยังไม่น่ากังวลนัก แม้ดอกเบี้ยในตลาดเงินมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามดอกเบี้ยนโยบายและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล แต่ต้นทุนระดมทุนภาคธุรกิจที่ได้ออกหุ้นกู้ไปแล้ว