5 อันดับ 'กองทุนหุ้นขนาดใหญ่' ผลตอบแทนสูงสุด ฝ่าความไม่แน่นอน ช่วงโหวตนายกฯ

5 อันดับ 'กองทุนหุ้นขนาดใหญ่' ผลตอบแทนสูงสุด ฝ่าความไม่แน่นอน ช่วงโหวตนายกฯ

5 อันดับ 'กองทุนหุ้นขนาดใหญ่' ฝ่าความไม่แน่นอน ช่วงโหวตนายกฯ “การเมือง” ถือเป็นปัจจัย กดดันต่อตลาดหุ้นไทยสูง สะท้อนผ่านดัชนี SET Index ปรับตัวลงไปค่อนข้างมาก และยังสร้างปรากฏการณ์ "หลุดระดับ1,500 จุด" ครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี

'กองทุนหุ้นขนาดใหญ่' ฝ่าความไม่แน่นอน ช่วงโหวตนายกฯ เมื่อ 13 ก.ค.ที่ผ่านมานี้ เป็นการโหวตเลือกนายกฯ รอบแรก  ผลออกมา ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ แพ้โหวต  แบบคะแนนเสียงรอบแรกยังห่างไกลเป้าหมาย เพราะจะเห็นได้ว่า ทุกพรรคไม่ใครที่แตกแถวเลย  

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ ประเมินผลโหวตนายกรอบแรกว่า เสียงมีความเป็นเอกภาพสูงมาก สะท้อนอำนาจต่อรองของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับก้าวไกล และพรรคร่วมยังรวมกลุ่มกันเหนียวแน่นเช่นกัน รวมถึง สว. แต่ 13 เสียงที่โหวตให้ ยังห่างไกลจากเป้าหมายสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป 

แต่หากย้อนกลับไปตั้งแต่การเลือกตั้ง 14 พ.ค. ที่ผ่านมานี้ ตลาดหุ้นไทย จะเด้งรับผลโหวตนายกฯ รอบแรก ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,517.92 จุด บวก 23.90 จุด มีปริมาณการซื้อขายรวมทั้งสิ้น  43,640.01  ล้านบาท แบ่งเป็น 

  • นักลงทุนต่างชาติ + 1,651.08 ล้านบาท 
  • กองทุนในประเทศ+1,070.91 ล้านบาท 
  • บัญชีบล. +237.04 ล้านบา  
  • รายย่อย -2,959.04 ล้านบาท 

 5 กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ ราคาหุ้น ปรับตัวขึ้นสูงสุด ได้แก่ 

1. PTT 35.00/+0.75 บาท

 2. GULF48.25 /+0.75บาท  

3. BBL 158.00/+1.50 บาท 

4.AOT 70.25/+1.00 บาท 

5. ADVANC 222.00/+4.00 บาท

“SET ปิดปรับตัวขึ้นแรง โดยปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาค รับแรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงาน แบงก์และสื่อสาร ที่ปรับตัวขึ้นเด่น เนื่องจากตลาดมองมีโอกาสเปลี่ยนตัวผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้รัฐสภาโหวตเป็นนายกฯ” 

เราลองมาสำรวจ “กองทุนหุ้นไทยขนาดใหญ่”  ที่ฝ่าด่านในวันโหวตนายกรอบแรก และความผันผวนในตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีมานี้ โดย ดัชนี SET INDEX ในรอบ6เดือนล่าสุด ปรับตัวลง 9.74%  และตั้งแต่ต้นปีจนถึง 14 ก.ค.2566 (YTD) ปรับตัวลง 9.03%  ขณะที่ ดัชนี SET 50 ปรับตัวลง 6.82% และ6.71% โดยข้อมูลจาก มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) ณ 13 ก.ค.2566 พบว่า  

5 อันดับแรก “กองทุนหุ้นขนาดใหญ่” ที่มีผลตอบแทนสูงสุด และ 5อันดับแรก กองทุนหุ้น ที่ลงทุน ดังนี้ 

1.กองทุนเปิด ทิสโก้ ไฮ ดิวิเดนด์ หุ้นทุน เพื่อการเลี้ยงชีพ (THDRMF)  ลงทุนในหุ้น คือ PTT, ADVANC, BBL, SCC, KTB   มีผลตอบแทนเฉลี่ยที่ -1.61% 

2.กองทุนเปิดพรินซิเพิล 70 หุ้นระยะยาวปันผล T (PRINCIPAL 70LTFD-T) ลงทุนในหุ้น คือ ADVANC, AOT มีผลตอบแทนเฉลี่ย -3.49%

3.กองทุนเปิดธนชาต หุ้นปันผล (T-DIV) ลงทุนในหุ้น คือ ADVANC, SCC, PTTEP, PTT, INTUCH มีผลตอบแทนเฉลี่ย -3.73%

4.กองทุนเปิดแอสเซทพลัส หุ้นระยะยาวทวีกำไร (ASP-GLTF-T) ลงทุนในหุ้น คือ ADVANC, BBL, GULF, AOT, BBIK มีผลตอบแทนเฉลี่ย -3.83%

5. กองทุนเปิด ทิสโก้ ดิวิเดนด์ ซีเล็ค หุ้นระยะยาว (TDSLTF-B) ลงทุนในหุ้น คือ PTTGC, PTT, KTB, KCE, ADVANC มีผลตอบแทนเฉลี่ย -4.35%

อย่างไรก็ตามทั้ง 5 กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ ดังกล่าว พบว่า แม้กองทุนยังให้ผลตอบแทนติดลบ แต่ก็ถือว่า “ยังติดลบน้อยกว่าตลาด” และหุ้น5อันดับแรกที่กองทุนลงทุน สอดคล้องกับกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ที่ได้รับแรงหนุนหลังรู้ผลโหวตนายกรอบแรก  โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงาน แบงก์ และสื่อสาร ที่ปรับตัวขึ้นเด่น

แต่ท่ามกลางช่วงโหวตนายก ที่ยังมี “ความไม่แน่นอนสูง” ต่อไป จากปัจจัยทางการเมืองที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปในระยะสั้น  ดังนั้นการเข้าลงทุนอาจไม่ต้องเร่งรีบ แต่  “ทยอยเข้าลงทุน” ในจังหวะที่เหมาะสม และเลือกกลุ่มหุ้นให้ถูก 

เพราะจะเห็นได้ว่า นักลงทุนสถาบัน กองทุนในประเทศ  เมื่อดัชนีปรับตัวลงหลุด 1,500 จุด  เข้าซื้อหุ้นไทยต่อเนื่องตลอดไตรมาส 2 ที่ผ่านมานี้

สุดท้ายแล้ว "ตลาดหุ้นไทย” จะขึ้นไปต่อได้ ความหวังหนึ่งเดียว คือ  การมีรัฐบาลชุดใหม่ ที่มีเสถียรภาพและจัดตั้งได้รวดเร็ว เดินหน้าประเทศไทยอย่างสงบสุข

แต่ถ้าไม่เป็นเช่นที่ตลาดคาดหวัง ดัชนีหุ้นไทย คงขึ้นต่อไม่ได้และหากมีความรุนแรงประท้วงเกิดขี้น ก็มีโอกาสที่ดัชนีจะหลุดระดับ 1,400 จุด อย่างที่ตลาดคาดกันเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว   

ดังนั้น "กระจายความเสี่ยงในการลงทุนหลากหลายสินทรัพย์และภูมิภาค" ยังเป็นสิ่งสำคัญในช่วงเวลาเช่นนี   และการลงทุนกองทุน เป็นการลงทุนระยะกลางถึงยาว 6 เดือนถึง 1 ปีขึ้นไป 

สำหรับสัปดาห์หน้านี้  (17-21 ก.ค.2566) บล. กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,505 และ 1,485 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,535 และ 1,545 จุด ตามลำดับ 

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้อง ติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์การเมืองในประเทศและผลประกอบการไตรมาส 2/66 ของบจ.ไทยโดยเฉพาะกลุ่มแบงก์ 

ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญได้แก่ ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน และยอดขายบ้านมือสองเดือนมิ.ย. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมิ.ย. ของยูโรโชนและญี่ปุ่น ตลอดจนตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/66 และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนมิ.ย. ของจีน อาทิ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

 

 “กองทุนหุ้นขนาดใหญ่” ที่มีผลตอบแทนสูงสุด 5 อันดับแรก