ค่าเงินบาทวันนี้ 14 ก.ย.66 ‘แข็งค่า’ หลังเงินเฟ้อสหรัฐตามคาด กดดอลลาร์อ่อน
ค่าเงินบาทวันนี้ 14 ก.ย.66 เปิดตลาด “แข็งค่า”ที่ 35.74 บาทต่อดอลลาร์ “กรุงไทย” ชี้หลังตัวเลขเงินเฟ้อCPI สหรัฐออกมาตามคาด ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงบ้านและโฟลว์ธุรกรรมเกี่ยวกับทอง มองกรอบเงินบาทวันนี้ 35.50-35.80 บาทต่อดอลลาร์
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า "ค่าเงินบาทวันนี้"เปิดเช้านี้ ที่ระดับ35.74 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.76 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.50-35.80 บาทต่อดอลลาร์
โดยในช่วงคืนก่อนหน้า "ค่าเงินบาท"เคลื่อนไหวในกรอบ sideways (แกว่งตัวในช่วง 35.66-35.82 บาทต่อดอลลาร์) โดยผันผวนไปตามทิศทางของเงินดอลลาร์และโฟลว์ธุรกรรมเกี่ยวกับทองคำ ซึ่งเงินบาทมีจังหวะแข็งค่าขึ้นทดสอบโซน 35.66 บาทต่อดอลลาร์ หลังอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ออกมาตามคาด ส่งผลให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงมาบ้าง
อย่างไรก็ดี มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ยังคงกังวลว่า หากราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงช้า (ดังจะเห็นได้จากการที่อัตราเงินเฟ้อ CPI ล่าสุดปรับตัวขึ้น ส่วนใหญ่มาจากผลของราคาพลังงาน) และเปิดโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อในช่วงไตรมาส 4 ได้ ทำให้เงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นบ้าง ส่วนราคาทองคำก็ย่อตัวลง กดดันให้เงินบาททยอยอ่อนค่าลงกลับมาใกล้ระดับก่อนรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อCPI
สำหรับ แนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า ปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่ายังคงมีอยู่ โดยเฉพาะการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ เพราะแม้ว่า เงินดอลลาร์อาจแกว่งตัว sideway หลังอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ออกมาไม่ต่างจากคาดมาก แต่ในวันนี้ เงินดอลลาร์มีโอกาสได้แรงหนุนฝั่งแข็งค่าเพิ่มเติม หากผลการประชุม ECB (รับรู้ในช่วง 19.15 น. ตามเวลาในประเทศไทย และ ประธาน ECB จะให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนในช่วง 19.45 น.) ชี้ว่า ECB มีความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้ ECB เลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ เพื่อรอประเมินสถานการณ์ไปก่อน (สวนทางกับที่เราคาดการณ์ไว้ว่า ECB ยังมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยต่อได้) โดยภาพดังกล่าวจะยิ่งกดดันให้เงินยูโร (EUR) อ่อนค่าลงได้ไม่ยาก
อย่างไรก็ดี หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในคืนนี้ สะท้อนภาพการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะยอดค้าปลีก (ซึ่งได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของยอดใช้จ่ายด้านพลังงาน ตามการปรับตัวขึ้นของราคาพลังงาน) ที่หากชะลอลง แย่กว่าคาด ก็อาจสะท้อนภาพการใช้จ่ายของชาวอเมริกันที่ไม่สดใสและอาจทำให้ผู้เล่นในตลาดกลับมามองว่า เฟดอาจจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว โดยในกรณีนี้ เงินดอลลาร์ก็มีโอกาสพลิกกลับมาอ่อนค่าลงได้บ้าง
ทั้งนี้ เราประเมินว่า แม้เงินบาทอาจมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าอยู่บ้าง แต่การอ่อนค่าอาจจำกัดอยู่ในช่วง 35.80-35.85 บาทต่อดอลลาร์ ยกเว้นว่า เงินดอลลาร์จะได้ปัจจัยหนุนที่ชัดเจนและแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง (ดัชนีเงินดอลลาร์ DXY ปรับตัวขึ้นทะลุ 105 จุด ชัดเจน) ในกรณีดังกล่าว เรามองว่า ก็มีโอกาสที่จะเห็นเงินบาททดสอบโซนแนวต้าน 36 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนค่าสุดที่เราเคยประเมินไว้ในวันที่ 28 มิถุนายน ส่วนโซนแนวรับ เรามองว่า 35.50-35.60 บาทต่อดอลลาร์ อาจยังเป็นแนวรับแรกของเงินบาทในระยะสั้นนี้
อนึ่ง ในช่วงนี้ เรามองว่า ทุกสินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง จากทั้งความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงิน ความกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง
แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ล่าสุด จะออกมาไม่ต่างจากที่ตลาดคาดการณ์มากนัก (CPI +3.7%y/y, Core CPI +4.3%y/y_ ทว่า ผู้เล่นในตลาดยังคงมีความกังวลต่อทิศทางนโยบายการเงินเฟด ท่ามกลางแนวโน้มการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของราคาน้ำมันดิบที่อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงช้าและเปิดโอกาสให้เฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้ ซึ่งมุมมองดังกล่าว ทำให้ผู้เล่นในตลาดไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากนัก สะท้อนผ่านการเคลื่อนไหว sideway ของดัชนีS&P500 ก่อนที่จะปิดตลาดราว +0.12%
ทั้งนี้ เราประเมินว่า แม้เงินบาทอาจมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าอยู่บ้าง แต่การอ่อนค่าอาจจำกัดอยู่ในช่วง 35.80-35.85 บาทต่อดอลลาร์ ยกเว้นว่า เงินดอลลาร์จะได้ปัจจัยหนุนที่ชัดเจนและแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง (ดัชนีเงินดอลลาร์ DXY ปรับตัวขึ้นทะลุ 105 จุด ชัดเจน) ในกรณีดังกล่าว เรามองว่า ก็มีโอกาสที่จะเห็นเงินบาททดสอบโซนแนวต้าน 36 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนค่าสุดที่เราเคยประเมินไว้ในวันที่ 28 มิถุนายน ส่วนโซนแนวรับ เรามองว่า 35.50-35.60 บาทต่อดอลลาร์ อาจยังเป็นแนวรับแรกของเงินบาทในระยะสั้นนี้
อนึ่ง ในช่วงนี้ เรามองว่า ทุกสินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง จากทั้งความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงิน ความกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง