'บลจ.ยูโอบี' โชว์ฝีมือ 'ลงทุนยั่งยืน' ปั้นพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
"บลจ.ยูโอบี" กางแผนกลยุทธ์ ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ (AUM) คาดเติบโตได้ 10% จากปี 2023 ที่ 248,000 ล้านบาท พร้อมมุ่งขยายธุรกิจด้านการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ครอบคลุมทุกมิติด้านการเงิน
ท่ามกลางบรรยากาศการลงทุนทั่วโลกที่มีปัจจัยด้านความเสี่ยง ความไม่แน่นอนเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับภาพรวมการลงทุนในประเทศอยู่ในภาวะฟื้นความเชื่อมั่นนักลงทุน ดังนั้นการบริหารจัดการการลงทุนในปี 2567 เพื่อให้ได้ผลตอบแทน "ที่ดีและยั่งยืน" นั้น ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก
นับเป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทายของ "บริษัทจัดการลงทุน" ในการพานักลงทุนเติบโตไปพร้อมกัน แน่นอนว่าหากเป็น "บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)" ที่มุ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์กองทุนที่เหมาะสมกับแต่ละสภาวะตลาด และให้คำปรึกษาการลงทุนแบบครบวงจร (One-stop advisory services) จะสามารถก้าวข้ามผ่านในช่วงเวลาเช่นนี้ไปได้
สำหรับ "บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย)" ในปีนี้ มาพร้อมกับเป้าหมายเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ (AUM) ให้เติบโตได้มากกว่าอุตสาหกรรม คาดว่าจะเติบโตได้ 10% จากปี 2023 ที่ 248,000 ล้านบาท มุ่งขยายธุรกิจโดยเฉพาะใน "กลุ่มลูกค้าสถาบัน" โดยเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์การเงินแบบองค์รวม และมุ่งหวังการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ครอบคลุมทุกมิติด้านการเงินที่ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การจัดการลงทุน (Beyond Investment)
ธุรกิจด้านการจัดการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นอีกหนี่งบริการสำหรับกลุ่มลูกค้าสถาบัน โดย บลจ.ยูโอบี คาดการณ์การเติบโตของอุตสาหกรรมผ่าน 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 เงินสะสมของพนักงานและเงินสมทบของบริษัท ปัจจัยที่ 2 ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน และปัจจัยที่ 3 อัตราเงินใหม่จากบริษัทที่ให้มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ด้วยผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้อัตราการจัดตั้งกองทุนฯ ของนายจ้างใหม่มีจำนวนน้อยลง อุตสาหกรรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไทยในปี 2566 ณ 31 ธันวาคม 2566 สมาคมบริษัทจัดการกองทุน (AIMC) ระบุว่า มีมูลค่าทรัพย์สินที่ 1,421.98 ล้านบาท โตขึ้นเพียง 2.8% จากปีก่อนหน้า และครึ่งแรกปี 2567 มีมูลค่าทรัพย์สิน 1,446.40 ล้านบาท โตขึ้นเพียง 1.2% เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจไม่ได้อยู่ช่วงขาขึ้น
บลจ.ยูโอบี มองว่า จากนี้จนถึงสิ้นปี การเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะมีแนวโน้มเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยในฝั่งของ บลจ.ยูโอบี ยังคงมุ่งมั่นและตั้งเป้าหมายที่จะมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) สำหรับธุรกิจด้านการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อปีที่ "สูงกว่า" ค่าเฉลี่ยอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปี 2566 ล่าสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 บลจ.ยูโอบี มีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมที่มีค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 1.2 (ที่มา : AIMC)
ด้วยความร่วมมือกันภายใต้เครือข่าย UOB Group ที่ได้นำปัจจัย ESG มาเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณานำเอาแนวคิด Artificial Intelligence (AI) มาใช้ในกระบวนการลงทุน เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวและเพื่อเป็นการต่อยอดการพัฒนาของอุตสาหกรรมกองทุนไทยให้มีความยั่งยืน โดย บลจ.ยูโอบี ริเริ่มนำปัจจัยสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เข้ามาสู่กระบวนการลงทุน โดยเฉพาะให้ความสำคัญในการคัดสรรการลงทุนในบริษัทที่ให้ความสำคัญในทุกปัจจัย ตามแนวทาง ESG ไม่เฉพาะปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง เข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
ช่วงเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา บลจ.ยูโอบี ได้ตอบรับนโยบายจากกระทรวงการคลัง, สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO), สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) ในการจัดตั้งกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน หรือ Thai ESG (Thailand ESG Fund) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนระยะยาวในธุรกิจที่เน้นด้านความยั่งยืนในประเทศไทย และเป็นกองทุนลดหย่อนภาษีที่ให้วงเงิน ลดหย่อนภาษี โดย บลจ.ยูโอบี ได้จัดตั้ง กองทุนเปิด ยูไนเต็ด หุ้นไทยซัสเทนเนเบิล - ชนิดหน่วยลงทุนไทยเพื่อความยั่งยืน หรือ United Thai Sustainable Equity Fund (UTSEQ - THAIESG) ที่มีกลยุทธ์ลงทุนในบริษัทจดทะเบียนที่มีความโดดเด่นในด้าน ESG และได้รับการจัดรายชื่ออยู่ใน SETESG Index โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV และกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนประเภท SRI Fund หรือกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ประกาศของ ก.ล.ต.
พร้อมกันนี้ยังได้ผสมผสาน UOBAM ESG rating ที่มีการจัดอันดับการคัดกรองหลักทรัพย์ โดยแบ่งเป็น ESG Leaders (rating A และ B) และ ESG Aspirants (rating C) และจะไม่เลือกลงทุนใน ESG Laggards (rating D) เข้าไปในขั้นตอนการคัดเลือกหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มจุดเด่นและความพิเศษให้แก่ กองทุน UTSEQ - THAIESG เพื่อให้มั่นใจว่ามีการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มี ESG performance ควบคู่กับการคัดเลือกบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดี สามารถสร้างกระแสเงินสดสม่ำเสมอ มีโอกาสในการเติบโตของธุรกิจรวมถึงมีความได้เปรียบในการแข่งขัน
"เราเชื่อมั่นว่าการผสานการบูรณาการ ESG เข้าสู่กระบวนการลงทุน มีส่วนช่วยทั้งในด้านผลการดำเนินงานและการลดความเสี่ยงได้ดีขึ้นด้วย" กุสุมาพร หิรัณยัษฐิติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายธุรกิจลูกค้าสถาบันและธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด และกรรมการกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลสมาคมบริษัทจัดการกองทุน (AIMC) กล่าว
ผู้นำด้าน ESG ผสานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นอกจากนี้ บลจ.ยูโอบี มุ่งมั่นในการรักษาและพัฒนาผลการดำเนินงานเพื่อให้เป็นผู้นำการลงทุนในด้าน ESG อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยนำกลยุทธ์การลงทุนอย่างยั่งยืนนี้ ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" ที่มีเป้าหมายจัดการการลงทุนเพื่อเกษียณอย่างยั่งยืนเช่นเดียวกัน ทำให้ผลงานปี 2567 บลจ.ยูโอบี ได้รับความไว้วางใจในการต่อสัญญาการจัดการต่อเนื่องจากกลุ่มลูกค้าเดิมที่ครบกำหนดสัญญา และได้รับความไว้วางใจเพิ่มเติม โดยได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการสรรหา "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย" ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ประเภทการลงทุนตราสารทุนในประเทศ และ "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคารออมสิน" ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทั้ง 2 ประเภทการลงทุนคือนโยบายตราสารหนี้และนโยบายผสม
รางวัลตอกย้ำความสำเร็จ
นอกเหนือจากความโดดเด่นข้างต้น บลจ.ยูโอบี ยังได้รับหลายประเภทรางวัลด้าน ESG จากองค์กรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ อาทิ รางวัลกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2567 ประเภทกองทุนยั่งยืน (ESG Fund) จากวารสาร Money & Banking ได้แก่ กองทุนเปิด ยูไนเต็ด อิควิตี้ ซัสเทนเนเบิล โกลบอล ฟันด์ หน่วยลงทุนชนิดเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (UESG), ในปี 2023 ได้รับรางวัล Best Asset Management Company Awards : ESG จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, รางวัล Best Sustainable Investments Thailand จาก CITYWIRE ASIA ASEANS AWARDS 2022/2023 และรางวัล Best ESG Manager (Thailand) จาก Asia Asset Management
บริหารความเสี่ยงด้วย Asset Allocation
อีกหนึ่งเครื่องมือที่เข้ามาช่วยวางแผนการลงทุนและบริหารความเสี่ยง คือการจัดพอร์ตลงทุน หรือ Asset Allocation คือการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสจากการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นและเป็นการบริหารความเสี่ยงให้กับสมาชิกกองทุนได้ ในโอกาสเดียวกัน บลจ.ยูโอบี มีความมั่นใจในกระบวนการคัดเลือกหลักทรัพย์ ระบบงานและบุคลากรที่มีประสิทธิภาพขององค์กรในการให้บริการด้านการจัดการกองทุนร่วมด้วยเครือข่ายของ UOB Group ในภูมิภาคเอเชีย และพันธมิตรทางธุรกิจระดับโลก ทำให้เรายิ่งมีความมั่นใจในการนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนที่หลากหลายตอบโจทย์การลงทุนในทุกสภาวะตลาดได้อย่างเหมาะสม
ทั้งนี้ บลจ.ยูโอบี ยังได้มีการให้บริการด้านระบบงานทะเบียนสมาชิก (Member Registrar) ที่ได้คุณภาพ โดยได้มีการพัฒนาระบบบมาอย่างต่อเนื่อง สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างของกองทุน รวมถึงกฎเกณฑ์ของผู้กำกับดูแล (Regulator) ได้อย่างรวดเร็วและได้มาตรฐาน
บลจ.ยูโอบี ให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และเทคนิคด้านการลงทุนที่ยั่งยืนแก่สมาชิกและนักลงทุน ผ่านการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น บทวิเคราะห์, Podcast และงานสัมมนาด้านการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์และความตั้งใจของกลุ่มยูโอบีคือ เคียงข้างสมาชิก และนักลงทุนเพื่อความยั่งยืน
ติดต่อฝ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โทร. +66 2786 2000 ต่อ 2031-5 หรือ อีเมล