HSBC เชื่อเศรษฐกิจอาเซียนขยายตัวมีคุณภาพ-ท่ามกลางโอกาสเติบโตอีกมาก

HSBC เชื่อเศรษฐกิจอาเซียนขยายตัวมีคุณภาพ-ท่ามกลางโอกาสเติบโตอีกมาก

HSBC มองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนมีศักยภาพและโอกาสเติบโตที่โดดเด่นด้วยแรงหนุนจากการค้าเสรีระหว่างประเทศในภูมิภาค

KEY

POINTS

• เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนมีศักยภาพและโอกาสเติบโตที่โดดเด่นด้วยแรงหนุนจากการค้าเสรีระหว่างประเทศในภูมิภาค

  • HSBC มอง ส่วนแบ่งการตลาดของอาเซียนในตลาดโลกกำลังขยายตัวในทุกมิติ
  • ตั้งแต่การส่งออกสินค้า ธุรกิจบริการที่ลงทุนในสินทรัพย์น้อย (light-asset services) ไปจนถึงภาคธุรกิจท่องเที่ยว
  • ท่ามกลางความเสี่ยงของการค้าระหว่างประเทศ ที่เริ่มหันกลับสู่การพึ่งพาภายใน
  • อาเซียนกำลังผงาดขึ้นเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดของโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า

 

ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของอาเซียน
หลายคนมักมองข้ามความสำคัญของอาเซียนและลืมมองถึงการเติบโตของภูมิภาคนี้ 

โดยหากมองย้อนกลับไปในช่วงก่อตั้งอาเซียนในฐานะเวทีแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในภูมิภาค เมื่อปี พ.ศ. 2510 นายกรัฐมนตรีลี กวน ยู ของสิงคโปร์เคยกล่าวว่า ภูมิภาคนี้เริ่มต้นด้วยความ “ไม่น่าสนใจ” 

แต่อย่างไรก็ตาม การร่วมมือกันของประเทศในภูมิภาคอาเซียนช่วยลดอุปสรรคทางการค้าในภูมิภาคลงอย่างมีนัยยะสำคัญตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 

รวมทั้งการค้าระหว่างประเทศในอาเซียนก็แทบไร้พรมแดน ส่งผลให้ภูมิภาคอาเซียนก้าวขึ้นมาเป็นฐานการผลิตและการค้าที่น่าสนใจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา 

ทั้งนี้ อาเซียนยังคงเติบโตและแข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังที่รายงานนี้ระบุว่ายังมีศักยภาพอีกมากรออยู่  

จากพันล้านสู่ล้านล้าน

สำนักวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ระบุว่า จากมูลค่าเศรษฐกิจ 473 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2535 ปัจจุบันเศรษฐกิจของอาเซียนเติบโตถึง 3.63 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ 

โดยเศรษฐกิจของประเทศอาเซียน-6 (ASEAN-6) ยังเพิ่มส่วนแบ่ง GDP โลกจาก 1.9% ในปี พ.ศ. 2535 เป็น 3.5% ในปี พ.ศ. 2566 และแนวโน้มในอนาคตก็มีศักยภาพมากขึ้น 

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก IMF World Economic Outlook ระบุว่า อาเซียนจะเติบโตเฉลี่ย 4.7% ต่อปี ในอีก 5 ปีข้างหน้า ส่งผลให้เป็นหนึ่งในภูมิภาคเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก

นอกจากนี้ อาเซียนยังคงดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI ได้สูงสุดในเอเชีย

 ซึ่งส่วนแบ่งตลาดโลกของอาเซียนกำลังเพิ่มขึ้นในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นสินค้า ธุรกิจบริการที่ลงทุนในสินทรัพย์น้อย(light-asset services) ไปจนถึงภาคการท่องเที่ยว อีกทั้ง อาเซียนยังเป็นหนึ่งในภูมิภาคสำคัญที่มีส่วนแบ่งการส่งออกทั่วโลกเพิ่มขึ้น แม้อุตสาหกรรมการผลิตของจีนจะเติบโตอย่างมากก็ตาม  

จากสินค้าสู่บริการ

ความน่าสนใจของอาเซียนได้ขยายไปไกลกว่าอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า เพราะภูมิภาคนี้ยังมีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจบริการที่เน้นความเชื่อมโยงกับผู้คน

เช่น การท่องเที่ยว จากการที่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีหาดทรายที่สวยงาม วัฒนธรรมอาหารที่กำลังเติบโต และโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ส่วนแบ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามายังอาเซียนเมื่อเปรียบเทียบกับทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นจาก 4.9% ในปี พ.ศ. 2549 เป็น 8.7% ในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 

โดยแนวโน้มยังชี้ให้เห็นว่าการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาตินี้จะเพิ่มขึ้นต่อไปอีกในโลกยุคหลัง              โควิด-19 นอกจากนั้น อาเซียนยังประสบความสำเร็จในธุรกิจบริการที่ลงทุนในสินทรัพย์น้อย (light-asset services) 

เช่น นักสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปินมืออาชีพ และบริการอื่น ๆ ที่เพิ่มโอกาสในการแข่งขันในโลกดิจิทัล ซึ่งสัดส่วนการตลาดของอาเซียนในธุรกิจบริการที่ลงทุนในสินทรัพย์น้อยได้เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าตั้งแต่ พ.ศ. 2548  

เติบโตด้วยคุณภาพ

สิ่งที่ทำให้ประทับใจในภูมิภาคอาเซียนยิ่งขึ้น คือ แม้สัดส่วนประชากรในอาเซียนจะลดลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั่วโลก 

แต่การเติบโตของภูมิภาคกลับสูงขึ้น บ่งชี้ถึงคุณภาพของการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยนวัตกรรมและความสามารถในการสร้างมูลค่าในห่วงโซ่เศรษฐกิจ 

ทั้งนี้ ท่ามกลางความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายเศรษฐกิจที่จำกัดการนำเข้าจากประเทศอื่น(protectionism) ของการค้าทั่วโลก เอชเอสบีซีเชื่อว่าอาเซียนยังคงเป็นภูมิภาคที่ยืดหยุ่นพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง 

ด้วยการรวมตัวที่แข็งแกร่งของประเทศในภูมิภาค ตลอดจนความสามารถในการแข่งขันทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง โดยการค้าเสรีและความสะดวกในการเดินทางภายในภูมิภาค ช่วยสนับสนุนให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่น่าจับตาในการขยายตลาดของภาคธุรกิจ ซึ่งสวนทางกับเทรนด์โลกและเป็นต้นแบบของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) ที่โดดเด่น

HSBC เชื่อเศรษฐกิจอาเซียนขยายตัวมีคุณภาพ-ท่ามกลางโอกาสเติบโตอีกมาก ส่วนแบ่งตลาดโลกที่ขยายตัวในทุกมิติ

เศรษฐกิจของอาเซียน-6 (ASEAN-6) เคยมีมูลค่า 473 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2535 แต่เมื่อปี พ.ศ. 2566 ขนาดเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ได้เติบโตขึ้นเกือบ 7 เท่า เป็น 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ 

โดยส่วนแบ่ง GDP โลกของอาเซียนเพิ่มขึ้นจาก 1.9%ในปี พ.ศ. 2535 เป็น 3.5% ในปี พ.ศ. 2566 และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ ข้อมูลของ IMF World Economic Outlook ระบุว่า ส่วนแบ่ง GDP โลกของอาเซียนมีศักยภาพที่จะเพิ่มขึ้นถึง 4.0% ภายในปี พ.ศ. 2572 โดยประมาณการ

ซึ่งเอชเอสบีซีเชื่อว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนเป็นภูมิภาคที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาภูมิภาคที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพ ทั้งนี้ ส่วนแบ่งทางการตลาดของอาเซียนในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นนั้นได้ครอบคลุมถึงหลากหลายกิจกรรมทางเศษฐกิจ รวมทั้งจะมีประเทศในอาเซียนอย่างน้อยหนึ่งประเทศเป็นผู้นำในแต่ละกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นๆ ด้วย

บทความชิ้นนี้วิเคราะห์โดย 

 

อาริส ดาคาเนย์ นักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธนาคารเอชเอสบีซี

ยุน หลิว นักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ธนาคารเอชเอสบีซี  

พรานจุล บัณดารี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำประเทศอินเดียและอินโดนีเซีย ธนาคารเอชเอสบีซี สิงคโปร์


อายูชิ เชาดารี นักเศรษฐศาสตร์ประจำประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา HSBC Securities and Capital Markets (India) Private Limited


จุน ทาคาซาวา นักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชีย ธนาคารเอชเอสบีซี  

มาธูริม่า นาคค์ Associate บังกาลอร์