ราคาหุ้น MORE ฟลอร์ไม่ยั้ง "ฝันร้าย"โบรกเกอร์เสี่ยงขาดทุนหนัก

ราคาหุ้น MORE ฟลอร์ไม่ยั้ง  "ฝันร้าย"โบรกเกอร์เสี่ยงขาดทุนหนัก

การตรวจสอบรายการซื้อ-ขายหุ้น บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ MORE วันที่ 10 -11 พ.ย. 2565 ดำเนินอย่างรวดเร็วภายใน 1 สัปดาห์สามารถดำเนินการอายัดหุ้นและเงินที่เกี่ยวข้องผ่าน 20 โบรกเกอร์

พร้อมดำเนินการทางคดีกับหน่วยงานที่สามารถสืบเส้นทางการเงินได้โดยตรง หากแต่ในส่วนของ ธุรกิจโบรกเกอร์ ถือว่ายังมีในภาวะงอนแง่น

ทางสืบสวนสาวไปถึงต้นต่อคำสั่งซื้อ ของ “อภิมุข บำรุงวงศ์” หรือ เสี่ยปิงปอง 1,500 หุ้น ราคา 2.90 บาท มูลค่า 4,350 ล้านบาท (10 พ.ย.)ผ่านบัญชีมาร์จิ้น ทำให้ทวีคูณความเสียหายด้วยบัญชีดังกล่าวนำวางหลักทรัพย์หรือเงินสดมาค้ำประกันเพื่อได้รับสินเชื่อจากโบรกเกอร์ไปลงทุน แค่เคสนี้กลายเป็นการนำ หุ้น MORE มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำอีกต่างหาก 

      เมื่อรายการซื้อ – ขาย สมบูรณ์ (Match) คิวการชำระเงินและส่งมอบหุ้นตามกำหนดคือ (14 พ.ย. 2565) และผิดนัดชำระหนี้ไปตามข่าว ซึ่งทั้งเงินและหุ้นจะต้องถูก "เคลีย์ริ่ง" โดยตัวกลาง คือ "โบรกเกอร์"

       ปัจุบันจะปรากฎแล้วว่าทาง สอบสวนของ ปปง. พบว่า “เสี่ยปิงปอง” กับพวก มีพฤติการณ์กระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา จำนวน 34 รายการ ซึ่งเป็น “เงินหรือหลักทรัพย์ที่ซื้อต่อเนื่องจากเงินที่ได้จากการขายหุ้น MORE หรือ MORE-R รวมมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 5,300 ล้านบาท พร้อมดอกผล จึงสั่งอายัด 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย.2565 ถึง 18 ก.พ. 2566”

 

    ระยะเวลาในการตรวจสอบเท่ากับจำนวนเงินดังกล่าวเป็นของกลาง กลุ่มนักลงทุนเกี่ยวข้องกับหุ้น MORE จะไม่ได้รับเงินจากการขายหุ้นตามที่เปิดเผยมีจำนวนมากถึง 34 บัญชี ส่วนผู้ซื้อ “เสี่ยปิงปอง” ถูกข้อหาฉ้อฉล

       หากแต่ความเสียหายที่แท้จริงอยู่ที่ 11 โบรกเกอร์ ในฝั่งที่ปล่อย มาร์จิ้น สินเชื่อซื้อหุ้นส่วนหนึ่ง และ ยังต้องเป็นที่รับหน้าที่เป็นผู้ชำระเงินค่าหุ้นที่ซื้อไปส่งมอบให้กับ สำนักหักบัญชี ตลาดหลักทรัพย์ ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงอยู่แล้วเพราะแต่ละโบรกระดับร้อยล้านบาท

       ยังไม่จบเพียงแค่นี้เพราะหุ้น MORE ที่ใช้เป็นหลักประกันของสินเชื่อกับ 11 โบรกเกอร์ เป็นระเบิดลูกใหญ่ที่ทำให้ฐานะการเงินของโบรกเกอร์เสี่ยงล้มทั้งยืนได้!!

     ข้อมูลสมาคมบริษัทหลักทรัพย์เปิดเผย โครงสร้างธุรกิจหลักทรัพย์ทั้งหมด 39 บริษัท ในจำนวนนี้มีบริษัทหลักทรัพย์เป็นสมาชิกกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ 33 ราย พบว่าปี 2565 รายได้ปล่อยมาร์จิ้นเพิ่มขึ้นจากปี 2564

    ช่วงไตรมาส 2 ปี 2565 รายได้ 3 อันดับแรกมาจาก "นายหน้าซื้อขายหุ้น" 47% รายได้ปล่อยมาร์จิ้น 11 % และรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผล 8 % เทียบกับไตรมาส 2 ปี2564 นายหน้าซื้อขายหุ้น 54% รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล และนายหน้าซื้อขายตราสารอนุพันธ์ เท่ากัน 8 % และรายได้ปล่อยมาร์จิ้น 6 %

 

   สะท้อนได้ว่าช่วงที่วอลลุ่มการซื้อขายไม่ได้สูงมาก-รายได้รองลงไปของธุรกิจโบรกเกอร์มาจากการปล่อยมาร์จิ้นให้กับนักลงทุนรายใหญ่หรือ (High NetWorth) ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของธุรกิจโบรกเกอร์จนเกิดเคสหุ้น  “MORE” ทำให้เห็นรอยรั่วจากความหละหลวม

       จากราคาหุ้น MORE หลังเปิดทำการซื้อขายแล้วตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย. ราคาหุ้นร่วงตามคาดกลายเป็นหุ้นที่ทำราคาลงถึง 4 ฟลอร์ติดกัน จากราคาปิดวันที่ 10 พ.ย. ที่ 1.95 บาท ,ราคาปิดวันที่ 11 พ.ย. ราคาปิด 1.37 บาท ,ราคาปิดวันที่ 21 พ.ย. ที่ 0.96 บาท และ ราคาปิดวันที่ 22 พ.ย. ที่ 0.68 บาท

       คาดการณ์ด้วยว่ายังไม่หยุดเพียงแค่นี้อาจจะได้เห็นหน้าประวัติศาสตร์มีหุ้นร่วง 6 ฟลอร์ติด ราคาหุ้นท้ายสัปดาห์อาจมาอยู่แถวหุ้นละ 1 สตางค์เป็นไปได้ เท่ากับมูลค่าหุ้น MORE หายวับไปทันทีจากราคา 2.90 บาท 96 % !!!

      ข้อมูลดังกล่าวจึงทำให้รายที่ฐานทุนเล็ก –สภาพคล่องน้อยกว่าเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเจอเคสหุ้น MORE ทั้ง บล.เอเชีย เวลท์ ที่เงินกองทุนเงินสภาพคล่อง (NCR) ไม่เหลือเลย หรือ บล.ดาโอที่ต้องหาผู้ร่วมทุนรายใหม่เข้ามาเติมเงินจากการเพิ่มทุนยังไม่รู้ว่าจะทันกันกับสถานการณ์หรือไม่

      รวมไปถึงรายอื่นๆที่เหลือต้องวุ่นทำแผนสำรองจัดหาเงินทุนรองรับสถานการณ์ที่อุตสาหกรรมโบรกเกอร์เผชิญขาดทุนอย่างหนักจากหนี้เสียเพียงหุ้นตัวเดียว “MORE”