เศรษฐกิจจีนดูดีขึ้น แต่ Tech War อาจทำโลกว้าวุ่น
เศรษฐกิจจีนจะดูมีเสถียรภาพมากขึ้น เดือน ส.ค. สะท้อนจากตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจที่ออกมาสูงกว่าคาด แต่ยังมีความเสี่ยงจาก Tech War ระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่อาจทวีความรุนแรง
การออกมาตราการกระตุ้นเศรฐกิจจีนเพิ่มเติมนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเน้นไปในด้านการบริโภคภายในประเทศ พร้อมกับเร่งแก้ไขปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของ GDP จีน
เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดังกล่าว ทำให้ภาพรวมของจีนค่อยๆ มีทิศทางที่ดีขึ้นในเดือน ส.ค. สะท้อนจากตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจที่ออกมาสูงกว่าคาด อาทิ PMI ภาคการผลิต, ยอดนำเข้า-ส่งออก ฯลฯ และล่าสุดเงินเฟ้อจีน (CPI) ออกมาอยู่ที่ +0.1%YoY ตามคาด ขยับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ -0.3%YoY ซึ่งช่วยลดแรงกดดันจากภาวะเงินฝืด นอกจากนี้เงินเฟ้อในฝั่งผู้ผลิต (PPI) อยู่ที่ -3.0%YoY หดตัวน้อยกว่าตลาดคาดและเดือนก่อนที่ -3.1%YoY และ -4.4%YoY ตามลำดับ
แม้เศรษฐกิจจีนจะดูมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงจาก Tech War ระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่อาจทวีความรุนแรง โดยเมื่อย้อนดูข้อมูลในอดีต พบว่า สัดส่วนการนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ Semiconductors ของจีนในสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง นับตั้งแต่ช่วงที่สหรัฐประกาศทำสงคราการค้ากับจีนในปี 2561 ขณะที่ล่าสุดรัฐบาลจีนได้เล็งขยายคำสั่งห้ามใช้ iPhone ให้ครอบคลุมถึงหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุนและรัฐวิสาหกิจ ในการทำงาน หรือพกพาเข้าไปในสำนักงานของรัฐ (ก่อนหน้านี้สั่งห้ามเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลาง)
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมเศรษฐกิจจีนเดือน ส.ค. มีทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากรัฐบาลจีนได้ออกมาตราการกระตุ้นเศรฐกิจเพิ่มเติมนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ก.ค. 2566 ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต ภาคการค้า และล่าสุดเป็นภาคการบริโภคที่มีสัญญาณเชิงบวก ช่วยลดแรงกดดันภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง อย่างไรก็ตามยังต้องระวังความเสี่ยงจาก Tech War ที่อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น