วัดขุมพลังธุรกิจค้าส่ง หลัง CRC ส่งแบรนด์ใหม่
ตลาดค้าปลีกในไทยเต็มไปด้วยรายใหญ่ที่ต่างช่วงชิงโอกาสจากกำลังซื้อคนในประเทศและภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเห็นได้ชัดเจนมีมูลค่ามหาศาล จนทำให้ขยายไปยังค้าส่งที่คลอบคลุมในกลุ่มประเทศ CLMV โดยมีไทยเป็นศูนย์กลางด้านโลจิกสติกส์ไปด้วย
กลุ่ม “เซ็นทรัล” มีธุรกิจคลอบลุมค้าปลีก – ซุปเปอร์มาร์เก็ต – ไฮเปอร์มาร์เก็ต ประกาศธงรบ ผ่าน บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ดันแบรนด์ใหม่ “ค้าส่ง” แบบ B2B ภายใต้ แบรนด์ GO Wholesale เพื่อเป็น New Growth Engine เป็นการเขย่าธุรกิจนี้ทันที
ด้วยศักยภาพและขุมกำลังของเซ็นทรัลไม่ได้เกินความสามารถวัดจากจำนวนสาขาและพื้นที่ค้าปลีกในมือก็มากที่สุด โดยเฉพาะ ห้างสรรพสินค้า รวมทั้งยังมีการซื้อธุรกิจในไลน์เดียวกัน Robinson Central Zen Central Embassy และ MEGA Bangna ครอบคลุมตลาดตั้งแต่ระดับล่างถึงบน
โดย Robinson ในต่างจังหวัดจะอยู่ในรูปแบบ Lifestyle center ซึ่งพื้นที่ของห้างจะเล็กลงและเน้นพื้นที่ให้เช่า ส่วน Central เน้นลงทุนในจังหวัดที่มีกำลังซื้อสูง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังเร่งพัฒนาธุรกิจในรูปแบบ Online ควบคู่กับ Offline (Omni-channel)
ขณะที่แบรนด์น้องใหม่ GO Wholesale เติมเต็ม B2B กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 4 กลุ่ม Food Retailer, Food Services, Food Lovers และกลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจจัดเลี้ยง (HoReCa)
ภายใต้เป้าหมายภายใน 5 ปี จะมียอดขายอยู่ที่ 6-7 หมื่นล้านบาท มีสัดส่วนยอดขายจากธุรกิจค้าส่งของ CRC สูงขึ้นกว่าในปัจจุบันที่มีสัดส่วนยอดขายค้าส่ง 17% ของยอดขายรวม โดยใช้ช่วง 5 ปีจะใช้เงินลงทุนเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ขยายสาขาในประเทศให้ครบ 40-50 สาขาภายในปี 2571
เริ่มจาก 4 สาขาในไตรมาส 4/66 ได้แก่ ศรีนครินทร์ เชียงใหม่ พัทยา และชลบุรี พี้นที่สาขาเฉลี่ย 7,000-8,000 ตารางเมตร/สาขา ตั้งเป้าจะเปิดเฉลี่ยเดือนละ 1 สาขา ซึ่งในบางสาขาของ Go Wholesale จะมีการปรับจากสาขาของไทวัสดุ หรือ BnB home มาเป็น Go Wholesale พร้อมตั้งเป้าระยะเวลาคืนทุนต่อสาขาราว 2 ปี
ส่วนของสมาชิกที่เข้ามาใช้บริการ Go Wholesale ตั้งเป้าใน 5 ปี จะมีจำนวนกว่า 1 ล้านสมาชิก ซึ่งจะเป็นการต่อยอดจากฐานลูกค้า Loyalty The1 ในกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งจะผลักดันให้ยอดขายของกลุ่มธุรกิจค้าส่งเพิ่มเป็น 6-7 หมื่นล้านบาท ตามเป้าหมายได้ภายใน 5 ปี และสัดส่วนยอดขายที่มาจากธุรกิจค้าส่งจะเพิ่มเป็น 25-26% ใน 5 ปี จากปัจจุบันที่ 17%
เมื่อดูในตลาดปัจจุบันรายใหญ่ที่เดินเกมเร็วและไปก่อนได้ไว” แม็คโคร” Makro ภายใต้กลุ่ม ซีพี ที่มีผลิตภัณฑ์ต้นน้ำสนับสนุนอยู่แล้ว มีธุรกิจ B2C อย่าง Lotus ภายใต้รูปแบบ "โชว์ห่วยทันสมัย" จนประสบความสำเร็จสามารถขยายโมเดล B2B-B2C โมเดลใหม่ 2 in 1 ค้าปลีก -ค้าส่ง ในพื้นที่เดียวกัน
ทุนใหญ่ต่างประเทศเห็นโอกาสจากการเปิดตัวศูนย์ค้าปลีก Samanea Plaza ของทุนจีนบนพื้นที่บางนาภายใต้ SAMANEA HOLDINGS (THAILAND) LIMITED แสดงให้เห็นศักยภาพของไทยในตลาดค้าปลีก และ ค้าส่ง
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)กรุงศรี พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ผู้บริหารจัดแถลงข่าวเปิดตัวธุรกิจค้าส่งอาหารภายใต้แบรนด์ Go! Wholesale มีมุมมอง "เป็นกลาง" ต่อการเปิดตัวของธุรกิจค้าส่งอาหารแบรนด์ "GO Wholesale" เนื่องจากไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายของตลาด โดย CRC เคยเปิดแผนเตรียมขยายธุรกิจใหม่ด้านอาหารตั้งแต่ต้นปีแล้ว โดยการเปิดสาขา Go wholesale ในปี 2566 ไม่กระทบงบลงทุนของบริษัท (2 - 2.3 หมื่นล้านบาท) และประมาณการผลการดำเนินงานในปีนี้ของอย่างมีนัยสำคัญ
เชิงปัจจัยพื้นฐานช่วง 3 ปีแรกคาดจะเกิด downside มากกว่า upside ต่อประมาณการกำไร แม้ประเมินการขยายตลาดไปกลุ่มธุรกิจค้าส่งของ CRC จะมีข้อดีที่ถือเป็นการสร้างแหล่งรายได้ใหม่และ CRC มี synergies จากเครือที่คาดมีโอกาสได้ รับคำสั่งซื้อมาจากธุรกิจเครือที่ดำเนินด้านโรงแรมและกลุ่มร้านอาหาร (โดยหากอิงต้นทุนขายจากกลุ่มธุรกิจอาหารของ CENTEL ที่ราว 5-6 พันล้านบาท/ปี)
อย่างไรก็ตามกังวลต่อแนวโน้มการแข่งขันในธุรกิจที่จะเข้มข้นขึ้น ภายใต้แผนการขยายสาขาของบริษัทที่เป็นเชิงรุก ดังนั้นให้น้ำหนักในช่วง 3-4 ปีแรกของธุรกิจนี้จะน่าสร้าง downside มากกว่า upside หลังได้ข้อมูลจากบริษัทที่ชัดเจนขึ้น
โดยให้น้ำหนักการเติบโตกำไร (y-y) จะเด่นขึ้นอีกครั้งในปี 2567 เป็น 9.9 พันล้านบาท (+ 21 % y - y) หลังธุรกิจในเวียดนามฟื้นเต็มตัว, เริ่มรับรู้รายได้สาขาหรือ format ใหม่และผลบวกจากต้นทุนค่าไฟขาลงเต็มปี ยังคงคำแนะนำ "ซื้อลงทุน" มีราคาเป้าหมายปี 2567 ที่ 46 บาท
บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) มีมุมมองเป็นบวกต่อประเด็นดังกล่าวในระยะยาว เนื่องจากบริษัทเองมีกลุ่มบริษัทในเครือและเครือข่ายลูกค้าจำนวนมาก ซึ่งหากบริษัทสามารถรุกเข้าไปในตลาดค้าส่งได้สำเร็จคาดว่าจะสร้างโอกาสเติบโตได้อีกมากการเปิดตัวสาขาใหม่ 4สาขา ภายในปีนี้ไม่มีผลกระทบต่อประมาณการเนื่องจากเงินลงทุนของแต่ละสาขาอยู่ใน Guideline เดิมที่บริษัทเคยให้ไว้
แนวโน้มผลประกอบการครึ่งปีหลัง 2566 คาดโตจากครึ่งปีแกแม้ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2566 ยอดขายจะอ่อนตัวลงตามปัจจัยฤดูกาล แต่ได้ส่วนช่วยจากยอดขายในเวียดนามที่มีแนวโน้ปรับตัวดีขึ้นหลังภาครัฐกระตุ้นการใช้จ่ายด้วยการลดภาษีมูลค่าเพิ่มลงจาก10% เหลือ8%
สำหรับช่วงก.ค. -ธ.ค. 2566และต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ลดลง ขณะที่ ไตรมาส 4 ปี 2566 เป็นช่วง High Seasonของธุรกิจคาดกำไรจะโตได้แรงและเป็นจุดสุดของปีคงคำแนะนำ“ซื้อ”ที่ราคาเหมาะสม49.80บาทต่อหุ้น