ประชัน 12 ตลาดหุ้นโซนภูมิภาคเอเชีย ค่า P/E ใครแพงสุด?
SET INDEX หลุด 1,400 จุดลงมา เทียบค่า P/E โซนภูมิภาคเอเชีย ตลาดหุ้นไทย ปี 66 อยู่ที่ 15.8% โบรกชี้ยังถือว่าไม่แพง ขณะที่ อินเดีย อยู่ที่ 20.7% และญี่ปุ่น อยู่ที่ 17.8% ปี
หลังจาก SETIndex หลุดระดับ 1,400 จุด เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (20 ต.ค.66) นักลงทุนกังวลพันธบัตรบอนด์ยิลด์ 10 ปีที่พุ่งขึ้นสูงในรอบ 16 ปี ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักลงทุนต่างเทขายเพื่อลดความเสี่ยงลด
ขณะที่หาเทียบ ค่า P/E ในภูมิภาคเฉลี่ยอยู่ที่ 15 เท่า ซึ่งโบรกต่างมีมุมมองที่คล้ายกันว่า หากเทียบกับในภูมิภาคเอเชียถือว่า อยู่ในระดับกลางยังไม่แพงมากนัก
แต่อย่างไรก็ตาม P/E ระดับนี้ ถือว่า ถูกอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วยังถือว่า ไม่ถูกมากนัก
สรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย เปิดเผยกับกรุงเทพธุรกิจว่า ต้องยอมรับเมื่อ SET INDEX หลุด 1,400 จุดลงมา ต้องบอกว่า บริเวณ 1,390 จุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย P/E ย้อนหลังนับตั้งแต่ปี 2551 (ปี ค.ศ. 2008) ที่มีการทำ QE ขึ้นมา หรือ 15 ปีย้อนหลัง อยู่ประมาณเฉลี่ยที่ 13.9 เท่า ซึ่งบริเวณแถวนี้ถือว่า ถูกกว่าในฝั่งของภูมิภาค
นอกจากนี้ หากเทียบค่าเฉลี่ย Forward P/E ทั่วโลกตั้งแต่ปี 2554 ไทยอยู่ที่ 14.1 เท่า อินโดนีเซียอยู่ที่ 12.6 เท่า เวียดนาม 9 เท่า บราซิล 7.4 เท่า อินเดีย 18.9 เท่า จีน 9.2 เท่า เกาหลีใต้ 9.8 เท่า ญี่ปุ่น 11.8 เท่า S&P500 17.7 เท่า อีเมอร์จิ้งมาร์เก็ต 11.2 เท่า
แต่อย่างไรก็ตาม P/E 13.9 เท่า ถือว่า ถูกอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วยังถือว่า ไม่ถูกมากนัก เพราะว่า ต้องกลับมาดูก่อนว่า P/E ที่ถูกลงมา ส่วนหนึ่ง SET INDEX มีการ Downgrade Earning และในปีนี้ตลาดหุ้นไทยถือว่า โดน Downgrade ค่อนข้างแรง จึงเป็นเหตุผลว่า ที่ P/E ถูกนั้นมาจากเหตุผลดังกล่าว
ทั้งนี้ แต่ถ้านับค่าเฉลี่ยของตลาดหุ้น Emerging Markets ค่าเฉลี่ยจะใกล้เคียงกับ SET INDEX ค่า P/E อยู่ที่บริเวณ 13.9 เท่า ซึ่ง MSCI Emerging Markets ค่า P/E เฉลี่ยที่ 11.6 เท่า
สิ่งที่จะต้องตาม ณ ขณะนี้คือ ภาวะของบอนด์ยิลด์ทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการชะลอตัวลงมา อย่างสหรัฐปรับตัวลงมาแรงมากจาก 5% ปรับลดลงมาอยู่ที่ 3.85% ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบวกต่อตลาดหุ้นไทยได้บ้าง
“บอนด์ยีลด์ 10 สหรัฐที่ปรับตัวพุ่งขึ้นก่อนหน้ากว่า 5% มองว่าอัพไซด์เริ่มมีความจำกัดแล้ว เพราะเราเชื่อว่า ไตรมาส 4/66 ของฝั่งสหรัฐน่าจะเริ่มชะลอตัวเช่นกัน จากภาวะการออมของผู้คนเริ่มชะลอตัวลงมาอย่างมีนัยสำคัญ และแพกเก็จของโจไบเดนเริ่มหมด ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่เริ่มสูงในระดับเกิน 5% ทำให้การรีไฟแนนซ์ทั้งบัตรเครดิต หรืออสังหาฯ เริ่มทำได้ยาก เพราะฉะนั้นไตรมาส 4/66 อาจมีการชะลอตัว”
ทั้งนี้ เงินเฟ้อสหรัฐเริ่มมีการส่งสัญญาณอ่อนตัวลงมาบ้าง เพราะฉะนั้นในวันที่ 1 พ.ย.66 ที่จะมีการประชุมเฟด มองว่า อาจจะเป็นรอบสุดท้ายของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และจบการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้ไปด้วยเลยหรือไม่ จึงทำให้มองไปข้างหน้าได้ว่า ยีลด์อาจจะไม่สามารถปรับขึ้นแรง ๆ ไม่มากกว่านี้ได้แล้ว
การที่หุ้นทั่วโลกปรับตัวลงมา รวมถึงตลาดหุ้นไทย ไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานแต่อย่างใด แต่สาเหตุเกิดจากบอนด์ยิลด์ที่มีการปรับตัวขึ้นมา หากหลังจากนี้บอนด์ยิลด์อ่อนตัวลงจะส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกนั้นกลับมารีบาวน์ขึ้นมาได้ในเดือน พ.ย. นี้
ณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย)ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หากเทียบหุ้นไทยกับภูมิภาคช่วงที่เกิดวิกฤต SET ปรับตัวลดลงมาต่ำกว่า 1,400 จุด ถือว่า ยังอยู่ในระดับกลาง ๆ แต่ก็ถือว่าไม่ได้ถูก เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ P/E อยู่ที่ 14 เท่า ปีหน้า (2567) อยู่ที่ 16 เท่า ส่วนค่าเฉลี่ยในช่วง 10 ปี P/E อยู่ที่ประมาณ 16 เท่า ขณะที่เมื่อเทียบเอเชีย P/E เฉลี่ยอยู่ที่ 14 -15 เท่า Valuation จึงยังอยู่ในระดับกลาง ๆ
“หาก SET INDEX ปรับตัวลงไปอยู่ที่ระดับ 1,300 จุด อาจจะบอกได้ว่า เริ่มเห็นความถูก แต่เมื่อมาอยู่ที่ประมาณ 1400 จุด ถือว่า กลับมาสู่จุดสมดุลของบ้านเรา”
และถ้าเทียบ ค่า P/E จากตลาดหุ้นในโซนภูมิภาคเอเชีย
- อินเดีย ปี 2566 อยู่ที่ 20.7% ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 17.5%
- ญี่ปุ่น ปี 2566 อยู่ที่ 17.8% ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 16.1%
- ไต้หวัน ปี 2566 อยู่ที่ 17.7% ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 14.6%
- ไทย ปี 2566 อยู่ที่ 15.8% ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 13.7%
- มาเลเซีย ปี 2566 อยู่ที่ 14.3% ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 13.0%
- อินโดนีเซีย ปี 2566 อยู่ที่ 13.8% ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 12.3%
- เกาหลีใต้ ปี 2566 อยู่ที่ 13.2% ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 8.8%
- ฟิลิปปินส์ ปี 2566 อยู่ที่ 11.6% ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 10.5%
- เวียดนาม ปี 2566 อยู่ที่ 11.5% ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 9.1%
- จีน ปี 2566 อยู่ที่ 10.8% ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 9.4%
- สิงคโปร์ ปี 2566 อยู่ที่ 10.0% ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 9.8%
- ฮ่องกง ปี 2566 อยู่ที่ 8.7% ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 7.9%
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงมามาก แต่ Valuation ไม่ได้ถูก หลังจากจีดีพีในครึ่งปีแรกออกมาค่อนข้างผิดหวัง ไตรมาส 1/66 อยู่ที่ 2.6% ไตรมาส 2/66 อยู่ที่ 1.8% แต่ถ้าเทียบกับภูมิภาคอื่นกลับมีการเติบโตมากกว่า โดยเฉพาะอาเซียนโตเฉลี่ย 4.5% (ข้อมูลจาก IMF) ตรงนี้ถือว่า เป็น Fundamental Base ยิ่งมากกว่า P/E เนื่องจาก จีพีดีการเติบโตไม่ได้ ส่งผลให้ Fund Flow นั้นไหลออก จึงทำให้ Underperfrom
ทั้งนี้เนื่องจากในครึ่งปีแรก ตลาดหุ้นไทยเทรดอยู่ในระดับพรีเมี่ยมของภูมิภาคอยู่แล้ว เพราะว่า ตลาดหุ้นไทยสภาพทางการเงินที่ดีกว่า ซึ่งตลาดหุ้นไทยถือว่าเป็น Emerging Markets ในระดับต้น ๆ ขณะที่เวียดนามยังเป็นแค่ Frontier Market จึงทำให้สมเหตุสมผลที่เทรดพรีเมี่ยมเมื่อเทียบกับอาเซียน แต่ปีนี่้ที่ลงมาจาก Fundamental Base จีดีพีไม่ได้ เพราะการเลือกตั้งมีการใช้ระยะเวลาที่นานเกินไป
อย่างไรก็ดี คาดว่า ในช่วงที่เหลือของปี จีดีพีน่าจะปรับดีขึ้นได้ อาจจะเห็นภาพการลด Underperfrom ลง ซึ่งน่าจะมีการรีบาวน์กลับขึ้นมาได้บ้าง เนื่องจากปัจจุบันเริ่มเห็นแล้วว่า บอนด์ยิลด์ของสหรัฐปรับตัวพุ่งขึ้นมาระดับที่ 5% ซึ่งคาดว่าน่าจะไม่ขึ้นไปกว่านี้ และเริ่มที่จะมีการใกล้ประชุมเฟดในวันที่ 1พ.ย.66 เชื่อว่า นักลงทุนอาจจะมีการชะลอการขายพันธบัตรลง เพื่อรอดูผลการรายงานของเฟด ซึ่งอาจจะมีการส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจนมากขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้ยิลด์ลงมา
รวมถึงในสัปดาห์และสัปดาห์หน้านโยบายดิจิทัลวอเล็ต 10,000 บาท น่าจะเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้่น จากก่อนหน้านี้ Overhang ถือเป็น 2 ประเด็นหลักที่กดดัน SET INDEX และเป็นช่วง Earning Season ไตรมาส 3/66 เนื่องจากตลาดหุ้นค่อนข้างต่ำ ดาวน์ไซด์ไม่น่าจะมี แต่จะออกมาเป็น Buy on Fact มากกว่า