เตรียมกระสุนให้พร้อม! 8 หุ้นโดดเด่นรับอานิสงส์ บอร์ดอีวีไฟเขียว EV 3.5
บอร์ดอีวีอนุมัติมาตรการ EV 3.5 โดยรัฐจะให้เงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ตามประเภทของรถ และขนาดของแบตเตอรี่ 4 กลุ่มธุรกิจ 8 หุ้น ที่ได้รับอานิสงส์
และแล้วบอร์ดอีวีชุดใหม่ที่ มี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ได้ให้ความสำคัญในการผลักดันให้ไทยเป็นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค จึงมีการอนุมัติมาตรการ EV 3.5 โดยรัฐจะให้เงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ตามประเภทของรถ และขนาดของแบตเตอรี่ ซึ่งแน่นอนว่า ปรากฎการณ์นี้กลายเป็น ปัจจัยบวกโดยตรงต่อกลุ่มธุรกิจ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น ซึ่ง “กรุงเทพธุรกิจ” ได้สำรวจ 4 กลุ่มธุรกิจ 8 หุ้น ที่ได้รับอานิสงส์ในครั้งนี้
4 กลุ่มธุรกิจ 8 หุ้น ที่ได้รับอานิสงส์ในครั้งนี้ ได้แก่
กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม
บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA
ล่าสุดบริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายที่ดินครั้งใหญ่กับบริษัท ฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย จำกัด ว่าการลงนามครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่แห่งปี เป็นการเซ็นสัญญาซื้อขายที่ดิน 250 ไร่ ให้กับฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย ลุยตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ด้วยกำลังผลิต 100,000 คันต่อปี ในเฟสแรก คาดเริ่มผลิตปี 2568 และถือว่าเป็นบริษัท 1 ใน 4 บริษัทยานยนต์ชั้นนำจากจีน ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 ระยอง ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อสร้างโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า
- น.ส. จรีพร จารุกรสกุล ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 จำนวน 3,481,188,569 หุ้น หรือ 23.29%
- ราคาปิด ณ วันที่ 2 ต.ค.66 ปิดที่ 5.00 บาท
- ผลตอบแทนราคาตั้งแต่ต้นปี +20.59%
- เงินปันผลตั้งแต่ต้นปี 3.40%
- กำไร 6 เดือน 1,388.85 ล้านบาท
- มาร์เก็ตแคป 73,538.43 ล้านบาท
บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA
ทั้งนี้ในครึ่งปีหลัง AMATA มีการขายที่ดินในนิคมฯ ราว 700 ไร่ เพิ่มสูงขึ้นจากครึ่งปีแรก โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติชาวจีนเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ในไทยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ไทยถือว่าได้เปรียบจากการสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐ และด้านชิ้นส่วนอุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์ โดยในอนาคตบริษัทเตรียมพร้อมไปสู่นวัตกรรมใหม่ เช่นนิคมฯ ไฮเทค
- นาย วิกรม กรมดิษฐ์ ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 จำนวน 301,652,396 หุ้น หรือ 26.23%
- ราคาปิด ณ วันที่ 2 ต.ค.66 ปิดที่ 24.30 บาท
- ผลตอบแทนราคาตั้งแต่ต้นปี +12.21%
- เงินปันผลตั้งแต่ต้นปี 2.51%
- กำไร 6 เดือน 805.29 ล้านบาท
- มาร์เก็ตแคป 27,485.00 ล้านบาท
กลุ่มผู้ประกอบรถยนต์ไฟฟ้า
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT
PTT ลงนามความร่วมมือกับ ฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn Group) ผู้นำการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก สัญชาติไต้หวัน เพื่อดำเนินการจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ในประเทศไทย โดยตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 150,000 คันต่อปี ภายในปี 2570 อีกทั้งในอนาคตตั้งเป้าที่จะขยายการลงทุนหรือเพิ่มกำลังการผลิตหากมีดีมานด์เพิ่มขึ้น
สำหรับความคืบหน้าโครงการผลิตรถไฟฟ้า ของบริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างอรุณพลัส ในเครือ ปตท. กับ Foxconn มูลค่าการลงทุนรวม 36,000 ล้านบาทว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างโรงงาน คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2567 เบื้องต้นจะผลิต 50,000 คัน/ปี และขยายกำลังการผลิตเป็น 150,000 คัน/ปีภายในปี 2569-2570
- กระทรวงการคลัง ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 จำนวน 14,598,855,750 หุ้น หรือ 51.11%
- ราคาปิด ณ วันที่ 2 ต.ค.66 ปิดที่ 33.50 บาท
- ผลตอบแทนราคาตั้งแต่ต้นปี -0.75%
- เงินปันผลตั้งแต่ต้นปี 6.06%
- กำไร 6 เดือน 47,961.73 ล้านบาท
- มาร์เก็ตแคป 942,578.88 ล้านบาท
บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX
ปัจจุบัน NEX ทำกำไรในทุกไตรมาส มียานยนต์ไฟฟ้าส่งมอบสู่ตลาดเมืองไทยแล้วกว่า 1,900 คัน และกำลังจะส่งมอบอีกกว่า 1,000 คัน พร้อมส่งออกไปขายในตลาดอาเซียน ดังนั้นผลประกอบการในไตรมาส 3 และ 4 นี้น่าจะเป็นแนวโน้มที่ดี ขณะที่การผลิตรถเมล์พลังงานไฟฟ้า (EV) ตามออเดอร์ จำนวน 3,100 คัน ขณะนี้ได้ส่งมอบไปแล้วทั้งสิ้น 1,905 คัน ส่วนอีก 1,195 คันผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างทยอยส่งมอบ คาดว่าจะส่งมอบได้ภายในปีนี้
- บริษัท อีเอ โมบิลิตี โฮลดิง จำกัด ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 จำนวน 670,000,000 หุ้น หรือ 40.01%
- ราคาปิด ณ วันที่ 2 ต.ค.66 ปิดที่ 9.60 บาท
- ผลตอบแทนราคาตั้งแต่ต้นปี -51.09%
- เงินปันผลตั้งแต่ต้นปี -%
- กำไร 6 เดือน 504.59 ล้านบาท
- มาร์เก็ตแคป 18,095.36 ล้านบาท
กลุ่มผู้ผลิตแบตเตอรี่
บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA
EA มีแผนที่จะขยายการลงทุนเพิ่มประมาณ 6,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตโรงงานแบตเตอรี่ของ EA จาก 1 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) เป็น 4 Gwh โดยการเพิ่มไลน์การผลิตในโรงงานเดิมคาดว่าโครงการลงทุนจะแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2567 ซึ่งจะเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน
ก่อนหน้านี้ EA ประกาศความสำเร็จระดับภูมิภาค ของ EA เปิดตัว “อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย)” โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม ไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจรที่ทันสมัยและมีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์เต็มตัว เพื่อสร้าง New S-Curve ทั้งนี้อมิตา เทคโนโลยี เป็นโรงงานแบตเตอรี่แห่งแรกที่มีกำลังการผลิตสูงถึง 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ในเขตโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเตรียมแผนขยายกำลังการผลิตสู่ 50 GWh ต่อปีตามแผนในอนาคต
- บริษัท เอสพีบีแอล โฮลดิง จำกัด ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 จำนวน 936,230,000 หุ้น หรือ 25.10%
- ราคาปิด ณ วันที่ 2 ต.ค.66 ปิดที่ 44.75 บาท
- ผลตอบแทนราคาตั้งแต่ต้นปี -55.67%
- เงินปันผลตั้งแต่ต้นปี 0.70%
- กำไร 6 เดือน 4,480.02 ล้านบาท
- มาร์เก็ตแคป 160,390.00 ล้านบาท
บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC
GPSC ผู้นำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้า กลุ่ม ปตท. ได้เดินหน้าในกลยุทธ์เรื่องของแบตเตอรี และ Value Chain ต่างๆ ร่วมกับปตท. เพื่อรองรับดีมานด์ในส่วนของอีวีที่จะมากต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีการลงทุนใน เข้าลงทุนในบริษัท Anhui Axxiva New Energy Technology Co., Ltd. ประเทศจีนที่จะช่วยซัพพลายให้จีน กำลังการผลิต 1GWh คาดเริ่มผลิตในปลายปี 2566 นี้ ส่วนร่วมมือกับ Gotion Singapore Pte. Ltd. (Gotion) ผู้ประกอบการจีน มีการลงทุนสร้าง Module and pack assembly plant business โดยเฟสแรก 1 GWh และมีโอกาสขยายไป 2GWh ในอนาคต ทั้งนี้คาดว่าโรงงานเฟส 1จะแล้วเสร็จในปลายปี 2566
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 จำนวน 1,332,955,135 หุ้น หรือ 47.27%
- ราคาปิด ณ วันที่ 2 ต.ค.66 ปิดที่ 40.50 บาท
- ผลตอบแทนราคาตั้งแต่ต้นปี -46.58%
- เงินปันผลตั้งแต่ต้นปี 1.28%
- กำไร 6 เดือน 1,426.95 ล้านบาท
- มาร์เก็ตแคป 109,969.45 ล้านบาท
กลุ่มชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า
บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน)หรือ KCE
เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ PCB ซึ่งเป็นชิ้นส่วนพื้นฐานสำคัญในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม อุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกชนิด โดย บริษัทหลักทรัพย์ โนบริษัท มูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) รุะบุว่า แผนขึ้นโรงงานใหม่ในนิคมโรจนะในไตรมาส 3/2567 จะทำให้การเติบโตปี 2568 ซึ่ง KCE ได้ประกาศความคืบหน้าของโครงการโรงงานใหม่ในนิคมโรจนะ อยุธยา โดยโรงงานใหม่จะเริ่มผลิตในไตรมาส 3/2567 (แผนเดิมไตรมาส 3/2566) จะเริ่มการก่อสร้างเดือน ม.ค. 2566 และใช้เวลาก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรรวม 18-20 เดือน จะมีกำลังการผลิตรวม 1 ล้านตารางฟุตต่อเดือน ทำให้กำลังการผลิตรวมของ KCE เพิ่ม 47% จาก 2.1 ล้านตารางฟุตต่อเดือนในปี 2565 เป็น 3.1 ล้านตารางฟุตต่อเดือนในในปี 2567
- นาย พิธาน องค์โฆษิต ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 จำนวน 164,754,244 หุ้น หรือ 13.94%
- ราคาปิด ณ วันที่ 2 ต.ค.66 ปิดที่ 54.25 บาท
- ผลตอบแทนราคาตั้งแต่ต้นปี +12.37%
- เงินปันผลตั้งแต่ต้นปี 3.06%
- กำไร 6 เดือน 721.65 ล้านบาท
- มาร์เก็ตแคป 61,764.13 ล้านบาท
บมจ. ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส หรือ HANA
ให้บริการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิกส์แบบครบวงจร (Electronic Manufacturing Service-EMS) โดย บล.กรุงศรี พัฒนสิน ระบุว่า HANA มียอดจาก Semiconductor ราว 40% ซึ่งภาพบวก EV Car ต่อ Silicon carbibe ที่เป็นส่วนประกอบนำส่งกระแสไฟฟ้า เป็นปัจจัยหนุนต่อบริษัทที่มีความพร้อม อย่างไรก็ตามประเมินว่ากำไรในปี 2566 ของ HANA อยู่ที่ 1.86 ล้านบาท ลดลง 12% จากปีก่อน ซึ่งยังมี Upside risk
- OMAC (HK) LIMITED ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 จำนวน 172,480,000 หุ้น หรือ 21.43%
- ราคาปิด ณ วันที่ 2 ต.ค.66 ปิดที่ 54.75 บาท
- ผลตอบแทนราคาตั้งแต่ต้นปี +2.91%
- เงินปันผลตั้งแต่ต้นปี 1.72%
- กำไร 6 เดือน 901.87 ล้านบาท
- มาเก็ตแคป 46,924.43 ล้านบาท