“หุ้นเดินเรือ” เป็นเดิมพัน ยุทธวิธีตะวันออกกลาง
จากการเปิดฉากถล่มของกลุ่มฮามาสจับกุมตัวประกันไปกักขังและตามมาด้วยการตอบโต้ทันควันของอิสราเอลด้วยการโจมตีและประกาศให้ชาวปาเลสไตน์จำนวน 2 ล้านคนอพยพภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อถล่มบ้านเรือนเกิด จนสถานการณ์ยังยื้ดเยื้อต่อเนื่องมาถึงธุรกิจเดินเรือในที่สุด
ช่วงที่ผ่านมามีประเทศที่เข้ามาไกล่เกลี่ยเรียกร้องให้มีการเจรจาหยุดยิง พร้อมทั้งอีกหลายประเทศออกมาแสดงจุดยืนการรุกรานพื้นที่ชาวปาเลสไตน์ จากอิสราเอล มาตลอดหลายสิบปี จนทำเกิดการแบ่งคู่ประเทศสงครามและคู่สนับสนุนไปในตัวเกิดความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์
จากพื้นที่ฉนวนความขัดแย้งอิสราเอล – กลุ่มฮามาส ทำชาติมุสลิมแสดงจุดยืนถ้วนหน้า ทั้งทางเหนือติดเลบานอน และซีเรียทางใต้ติดอียิปต์ และตะวันออกติดจอร์แดน ถัดไปเป็นซาอุดิอาราเบีย และอิหร่าน ซึ่งแต่ละประเทศมีกองทัพและนักรบติดอาวุธแทบทั้งสิ้น
สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว "กลุ่มติดอาวุธฮิซบอลเลาะห์" จากเลบานอนมีการตอบโต้ตอนเหนือของอิสราเอลใกล้ชายแดนเลบานอน และ "กลุ่มติดอาวุธฮูตี " ในเยเมนได้รับการหนุนหลังจากอิหร่าน ปฎิบัติการโจมตีอิสราเอล เพื่อกดดันให้ยุติการทำสงครามกับกลุ่มฮามาสชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา
โดยพื้นที่เกิดการโจมตีต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน คือทะเลแดงใจกลางขนส่งสินค้าจากทวีปเอเชียไปยังยุโรป ซึ่งมีพื้นที่เดินเรือผ่านช่องแคบบับเอลมันเดบ (Bab-el-Mandeb Strait) อยู่ระหว่างประเทศเยเมน –เอริเทรีย ซึ่งกลุ่มฮูตีใช้โจมตีเรือที่เคลื่อนผ่านเส้นทางดังกล่าวแบบต่อเนื่อง
รายใหญ่เดินเรือโดยผลกระทบแล้ว Maersk Gibraltar เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเดินเรือโลก Maersk สัญชาติเดนมาร์ก ถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธจากกลุ่มกบฏฮูตีในเยเมน (15-16 ธ.ค.) ขณะเดินทางจากเมืองซาลาลาห์ของโอมานไปยังเมืองเจดดาห์ของซาอุดีอาระเบียจนต้องระงับการขนส่งทันที
ถัดมา ฮาแพค-ลอยด์ (Hapag-Lloyd) บริษัทเดินเรือชั้นนำของเยอรมนี ประกาศระงับการเดินเรือผ่านช่องแคบดังกล่าว ตามมาด้วย บริษัท เมดิเตอร์เรเนียน ชิปปิ้ง (MSC) ของอิตาลี-สวิตเซอร์แลนด์ ที่ถูกยิงขีปนาวุธเข้าใส่เรือพาลาเทียม 3 และบริษัท ซีเอ็มเอ ซีจีเอ็ม (CMA CGM) ของฝรั่งเศส ประกาศระงับการเดินเรือผ่านช่องแคบบับเอลมันเดบในทะเลแดงเช่นกัน
บรรดาเรือสินค้าที่ประกาศระงับล้วนแต่เป็นรายใหญ่ติด 1 ใน10 อันดับแรกที่มีเรือจำนวนมากกว่าหลักร้อยลำมีพื้นที่ระวางเรือทุกลำรวมกันต่อรายมากถึงล้าน TEU
นอกจากช่องแคบดังกล่าวแล้วเหนือขึ้นไปทางอียิปต์ การขนส่งที่สำคัญคือ คลองสุเอซ (Suez Canal) เชื่อมต่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดง ผ่านทางช่องแคบสุเอซที่คั่นระหว่างทวีปแอฟริกา และ ทวีปเอเชีย สามารถรับเรือที่มีน้ำหนักขนส่งได้มากถึง 150,000 ตัน โดยมีเรือผ่านคลองนี้ประมาณ 25,000 ลำในแต่ละปี ซึ่งขนถ่ายสินค้าคิดเป็นจำนวน 14% ของการขนส่งทางเรือทั้งหมด การขนส่งตั้งแต่ต้นคลองจนถึงจุดสิ้นสุดคลอง ใช้เวลาประมาณ 11-16 ชม
จนทำให้องค์การคลองสุเอซ (SCA) ของอียิปต์ จับตาเป็นพิเศษเนื่องจากมีผ่านปรับขึ้นค่าผ่านทางสำหรับเรือที่แล่นผ่านคลองสุเอซเพิ่ม 5-15% เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 2567 ทั้งเรือบรรทุกน้ำมันดิบ เรือคอนเทนเนอร์ เรือสำราญ จากที่ผ่านมาบรรดาเรือบรรทุกต้องเลี่ยงไปใช้เส้นทางแหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) ซึ่งเชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชีย แทนการใช้เส้นทางคลองสุเอซ และนับตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย.จนถึงขณะนี้ มีเรือเพียง 2,128 ลำเท่านั้นที่สัญจรผ่านเส้นทางคลองสุเอซ ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น
ปัจจัยดังกล่าวกลายเป็นลบจากภาคธุรกิจที่ล้วนแต่ต้องอาศัยการขนส่งทางเรือที่มีปริมาณมากและต้นทุนไม่สูงเมื่อเทียบกับขนส่งด้านอื่น อันดับแรกจึงมีผลต่อค่าระวางเรือ ปรับตัวสูงขึ้นอิง เส้นทาง Shanghai to Rotterdam อยู่ที่ 1,442 (+23.1% mtd)
ภาพใหญ่มีผลบรรดาหุ้นเดินเรือของไทย จึงรับปัจจัยดังกล่าวไปด้วยทั้ง RCL –PSL-TTA รวมถึงกลุ่มขนส่งโลจิสติกส์ ที่รับจัดการขนส่งทางเรือ อาทิ LEO- SONIC- III เป็นต้น